เปิดเทอมใหม่ (ยุคโควิด) ทำไงให้หัวใจ (พ่อแม่) ไม่ว้าวุ่น

Starfish Academy
Starfish Academy 2351 views • 3 ปีที่แล้ว
เปิดเทอมใหม่ (ยุคโควิด) ทำไงให้หัวใจ (พ่อแม่) ไม่ว้าวุ่น

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา บางโรงเรียนได้เปิดเทอม และจัดการเรียนการสอนตามปกติ (On-site) หรือบางที่ก็ยังเรียนออนไลน์ ส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่มีความกังวลใจในหลายๆ เรื่อง ครั้งนี้จะมาพูดคุยถึงประเด็นและปัญหาที่พ่อแม่และเด็กๆ ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของเด็กเมื่อต้องไปโรงเรียนจะปฏิบัติตัวอย่างไร ในด้านการเรียนรู้ของเด็กๆ ต้องมีการปรับตัวและต้องดูแลอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่จะทำงานร่วมกับครูที่โรงเรียนอย่างไร ในหัวข้อ “เปิดเทอมใหม่ (ยุคโควิด) ทำอย่างไรให้หัวใจ (พ่อแม่) ไม่ว้าวุ่น” กับ นพ.ชลภัฏ 

จาตุรงคกุล (หมอแอ๊นท์) Child & Adolescent Psychiatrist

คำแนะนำและแนวทางในเรื่องสุขอนามัยและการดูแลตัวเองของเด็กได้อย่างไร

สำหรับแนวทางสุขอนามัยและการดูแลตัวเองของเด็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เด็กเล็กและเด็กโต (แบ่งช่วงอายุ 12 ปี) ในส่วนของเด็กโตคิดว่าไม่มีปัญหา เนื่องจากเด็กสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตัวเอง และเรื่องความรับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัยต่างๆ แต่สำหรับกรณีเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ความเข้าใจเชิงลึกที่มีต่อโรคภัยไข้เจ็บยังต้องอาศัยครูหรือพ่อแม่ในการชี้แนะ ส่วนทางโรงเรียน ด้านกระทรวงศึกษาฯ และกระทรวงสาธารณสุขฯ ได้มีการดูแล ควบคุมให้ความรู้ความเข้าใจ และวางระบบเกี่ยวกับเรื่องสาธารณสุขสำหรับโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนปกติ 

สำหรับทางบ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง อยากจะขอแนะนำว่า การที่เด็กไปโรงเรียนก็ช่วยทำให้เด็กผ่อนคลายขึ้น แต่ว่าโอกาสที่เด็กจะติดเชื้อก็อาจจะมีบ้าง สิ่งที่ผู้ปกครองสามารถดูแลและตั้งรับได้ คือ การดูแลบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ที่อยู่ในบ้านอาศัยอยู่ร่วมกับเด็ก ความรับผิดชอบก็คือการไปรับวัคซีน ไม่ว่าจะเข็มที่ 1, 2 หรือ 3 ให้ครบ เพื่อเป็นการลด ป้องกันความรุนแรงของการเจ็บไข้ได้ป่วย ดังนั้น ไม่ใช่ว่าจะโฟกัสที่เด็กอย่างเดียว แต่ต้องกลับมาโฟกัสที่ครอบครัวและผู้ใหญ่ด้วยกันเองด้วย

กรณีที่เด็กเล็ก (อ.2-3) ไม่ยอมใส่แมส มีวิธีการสอนเด็กอย่างไร

เป็นประเด็นท้าทายที่ค่อนข้างสูง เพราะว่าถ้าเราคาดหวังให้เด็กใส่แมสก์ หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยธรรมชาติของเด็กอาจจะทำได้ยาก เนื่องจากว่าในเด็กเล็ก ในที่นี้คือเด็กอายุไม่ถึง 6 ขวบ ในเรื่องของความอดทนอาจจะยังมีไม่มาก ตรงนี้เป็นกลไกในเรื่องพัฒนาการของสมองของมนุษย์เราที่ว่า ก่อนอายุ 5-6 ขวบ ความยับยั้งชั่งใจ ความอดทน การรอคอยจะมีไม่มาก ถ้าเราไปคาดหวังว่าเด็กจะใส่แมสก์ได้ตลอดเวลาที่อยู่ที่โรงเรียน 7-8 ชั่วโมง ตรงนี้อาจจะเป็นความคาดหวังที่มากเกินไป 

เพราะฉะนั้น แนวทางที่เป็นศูนย์หลังที่น่าจะปลอดภัยที่สุด คือ ผู้ใหญ่ที่บ้านควรจะไปรับวัคซีน และอย่างที่สาธารณสุขได้ออกแนวทางว่าเด็กที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ก็ควรรับวัคซีน เพื่อป้องกันกรณีที่รับเชื้อมาแล้วเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยรุนแรงต่ำ ทั้งนี้ อยากให้พยายามศึกษาแนวทางจากกระทรวงสาธารณสุขฯ หรือหน่วยงานของรัฐที่ได้ประชาสัมพันธ์ให้รับทราบก่อนหน้านี้ เพราะว่าทุกอย่างได้รับการวิเคราะห์ พิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน และเห็นว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ 

อยากจะเชิญชวนพยายามให้ปฏิบัติและเข้าใจรับทราบถึงข้อมูลที่ทางหน่วยงานของรัฐได้แนะนำมาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเติมสำหรับสถานที่สาธารณะ เด็กที่อายุไม่ถึง 5-6 ขวบ แนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ควรจะจูงเด็กไว้ เพื่อความปลอดภัย ถ้าเราสังเกตเห็นว่าเด็กเกิดอาการไอ จาม บางทีเราอาจจะจูงเขาเข้ามุมหรือกำแพงได้ หรือกรณีถ้าเด็กบางรายที่ซนมากๆ อาจจะต้องพูดคุยกันก่อนออกจากบ้านถึงกติกา มารยาทที่เด็กจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามมีอะไรบ้างหนึ่งในนั้นก็คือ ต้องพยายามอยู่ติดพ่อแม่ สวมหน้ากาก และยอมให้พ่อแม่จูง ถ้าเด็กทำได้ก็สามารถออกนอกบ้านได้

เมื่อพ่อแม่กังวลใจในเรื่องการเรียนออนไลน์ จะแนะนำในเรื่องการเรียนของลูกอย่างไร

เรื่องการเรียนต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ฝ่ายแรกคือ ฝ่ายโรงเรียน ครู ฝ่ายที่สองคือ ผู้ปกครอง และฝ่ายที่สามคือ ตัวเด็ก ในช่วงที่พาเด็กกลับเข้าสู่ระบบปกติอาจจะต้องมีปัญหาบ้าง เนื่องจากว่าเด็กจะคุ้นชินกับระบบที่เขาสร้างขึ้นมาตอนอยู่ที่บ้าน ความเป็นระเบียบวินัยอาจจะยังไม่เข้ารูปเข้ารอย ทางโรงเรียน ครูอาจจะต้องใช้ความอดทนสักนิด ในการที่เด็กจะปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ 

ในส่วนของผู้ปกครองก็อาจจะต้องค่อยๆ ปรับจูนกับเด็กว่าตอนนี้เราจะต้องได้กลับไปเรียนแล้ว การที่จะให้เด็กสามารถเข้านอนได้ตรงเวลา อาจจะต้องใช้เทคนิค เช่น พาไปออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย ด้านระบบการพัฒนาสมองที่ต้องปรับจูนใหม่ นอกจากกิจวัตรประจำวันที่ต้องเปลี่ยน อาจจะมีเรื่องของระบบการเรียนรู้ ซึ่งเดิมเด็กเคยเรียนออนไลน์อยู่ ซึ่งการเรียนออนไลน์มีสาระสำคัญที่ว่า 

1) สื่อการเรียนเป็นตัวกระตุ้นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าตัวหนังสือ ส่งผลให้สมองถูกเร่งให้อยู่ในระดับที่รับกับกราฟฟิก หรือแสง สี เสียงได้ดีกว่าตัวอักษรมาชั่วขณะหนึ่ง พอปรับโหมดไปเรียนแบบตัวอักษร สมองก็ต้องการเวลาในการลดระดับ ดังนั้น ช่วงแรกจะมีปัญหาเวลาอ่านหนังสือ สมองยังไม่โฟกัส อาจจะต้องใช้การพูดจา อธิบาย หรือการใช้ภาพประกอบ 

2) เด็กเรียนไม่ทัน อาจจะเกิดจากความเหนื่อยล้า ความไม่คุ้นชินกับการที่ต้องเรียนผ่านจอ 

3) ความเครียดในเด็ก อาจจะแสดงออกมาในลักษณะอารมณ์แปรปรวน การกิน นอนที่เปลี่ยนไป ดังนั้น เวลาที่เด็กตื่นขึ้นมาอย่าคาดหวังว่าเด็กจะพร้อมรับรู้ทุกอย่าง ดังนั้น ขอแนะนำทางโรงเรียนหรือครูในการอัพโหลดคลิปหรือลิงก์แต่ละบทที่ครอบคลุมทั้งสัปดาห์ หรือการอัพโหลดล่วงหน้า เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้ ดูแลตนเอง ช่วยเหลือตัวเอง สามารถเข้าไปทบทวนความรู้ต่างๆ ได้ดีมากขึ้นหรือบทเรียนก่อนล่วงหน้า

บางครั้งพ่อแม่อยากให้ลูกอ่านหนังสือเยอะๆ ทำให้เด็กเหนื่อยล้ากับการเรียน มีวิธีแนะนำในเรื่องของการทบทวนความรู้อย่างไร 

อันดับแรกต้องมาดูระยะเวลาสมาธิของเด็กในแต่ละช่วงวัยอยู่มีประมาณเท่าไหร่ ซึ่งเด็กในแต่ละช่วงวัยความยาว ความสั้นของสมาธิไม่เท่ากัน ถ้าจะจำง่ายๆ เอาอายุเป็นคอลัมน์แรก แบ่งเป็น 5 10 15 คอลัมน์ถัดมาคือ Average concentration Span แบ่งเป็น 10 20 30 เช่น เด็กอายุ 5 ขวบ มีสมาธิประมาณ 10 นาที เป็นต้น ตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่ครู พ่อแม่จะต้องรับทราบและทำความเข้าใจ เพื่อที่ว่าเราจะได้มีความคาดหวังที่ถูกต้องในเด็กแต่ละช่วงวัย 

รวมไปถึงการผลิตสื่อ กราฟฟิก หรือข้อมูลที่ประกอบ สนับสนุนการเรียนรู้จะต้องมีความกระชับ และมีความเหมาะสม ในที่นี้หมายถึงเด็กที่มีอายุไม่ถึง 10 ขวบ ควรจะรับข้อมูลที่มีการย่อยมาแล้ว เป็น Digested Information เพราะว่าสมาธิของเด็กไม่ได้ยาวมาก และศักยภาพของสมองในการที่จะให้เด็กสรุป คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร

การทำสื่อหรือวิธีการสอนให้ตรงกับพัฒนาการทางสมองของเด็ก มีวิธีแนะนำเรื่องของพัฒนาการสมอง สำหรับพ่อแม่ที่ไม่ทราบอย่างไร

ในช่วง 6 ปีแรกของชีวิต สมองจะเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ได้ค่อนข้างรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นความรู้เชิงรูปธรรม เช่น ตัวอักษรหรือตัวเลข เด็กจะรับได้ประมาณหนึ่งถ้าถูกบอกผ่านออกมาเป็นคำพูด แต่ถ้าต้องการให้เด็กเรียนรู้ได้ดีกว่านั้น ให้ได้ศักยภาพสูงกว่านั้น แนะนำควรจะใช้ภาพกราฟฟิกเข้ามาช่วย จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิภาพมากกว่า ทั้งนี้ ข้อมูลที่ตัดต่อหรือส่งต่อให้เด็ก เด็กยิ่งเล็กข้อมูลต้องกระชับ สั้น และได้ใจความ เพราะว่าเด็กในช่วงวัยก่อน 12 ขวบ ส่วนใหญ่เรียนรู้ผ่านการจำ 

เพราะฉะนั้น ข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนหรือยาวมาก เขาจะยังไม่สามารถนำไปย่อย จดจำหรือทำให้เกิดความหมายและความเข้าใจในระยะยาวได้ สรุปว่า ก่อน 6 ขวบใช้ภาพเยอะๆ ก่อน 12 (ตั้งแต่ 0 – 12) พยายามกระชับข้อมูล สรุปข้อมูลให้มีเนื้อหาใจความที่ตรงประเด็น ไม่ยืดยาว ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่สำคัญทั้งครูผู้สอน และผู้ที่ผลิตสื่อต้อง keeping mind มีประเด็นตรงนี้อยู่ในใจเวลาที่จะสอนและผลิตสื่อออกมา

จากที่คุณหมอพูดว่า “ก่อน 6 ขวบใช้ภาพเยอะๆ” กับสิ่งของที่เป็นของจริงให้เด็กได้สัมผัสจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นหรือไม่

ส่งผลต่อการเรียนรู้ เพราะเป็นการเพิ่มมิติที่ 3 เป็นเรื่องของการได้สัมผัส ถ้าหากเรามองด้วยตาเปล่า อาจจะเห็นแค่สองมิติ อาจจะไม่ได้มิติที่สาม ในเรื่องของความลึก ความสูง ถ้าเด็กได้สัมผัสก็จะได้รู้ทั้งความกว้าง ยาว ลึก สูงอีกด้วย

กรณีที่เด็กมีการบ้านเยอะ แล้วเรียนไปแล้ว 10 นาที แต่ทำการบ้านไม่เสร็จ การที่ให้เด็กได้พักเบรกจะช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้นหรือไม่

ประเด็นนี้ตอบยากนิดนึง เพราะว่าในโลกความเป็นจริงเท่าที่ทราบมา เด็กสมัยนี้การบ้านเยอะมาก ถ้าเราพักเบรกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าพักเบรกบ่อยก็จะนอนดึก ดังนั้น ต้องขอความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายว่า ลดปริมาณการบ้าน/งานให้น้อยลง หรืออาจะต้องเป็นลักษณะของการบ้านที่ไม่ได้ยากหรือสลับซับซ้อนมาก

ในมุมมองของหมอ อยากให้พ่อแม่หรือเด็กกังวลเรื่องไหนหรือให้สนใจเป็นพิเศษ

สิ่งที่เด็กและผู้ปกครองเป็นกังวลกันอยู่ในทุกวันนี้ ที่เจอบ่อยที่สุด คือ เรื่องการประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งจะเน้นไปที่เรื่องของคะแนนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็กมัธยม คะแนนเป็นแรงกดดันที่สำคัญ คะแนนถูกแปรเปลี่ยนในเรื่องของความสำเร็จ การสร้างค่านิยมหรือตีความเข้าใจของความสำเร็จในมิติอื่นๆ จะอาศัยแค่เด็กหรือพ่อแม่อย่างเดียวไม่พอ อาจจะต้องอาศัยนักจิตวิทยา ครูแนะแนว หรือครูก็ต้องปลูกฝังเด็กให้เกิดความสมดุลทางความคิด ความสำเร็จที่แท้จริงคืออะไร 

สุดท้ายทุกคนต้องการความสุขในชีวิต แล้วจะทำอย่างไรให้ชีวิตมีความสุขตลอด ต้องพยายามให้เด็กเห็นด้านบวกในตัวเอง สำหรับเด็กที่เรียนรู้ได้ช้า ได้คะแนนไม่ค่อยดี ก็ต้องให้กำลังใจ บางครั้งก็ต้องอธิบายให้เข้าใจว่า ความสำเร็จไม่ได้วัดที่คะแนนเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้น คำตอบสุดท้ายจริงๆ แล้ว คำว่า ประสบความสำเร็จอาจจะมารวมอยู่ที่ว่า เราใช้ชีวิตหรือวางแผนชีวิตอย่างไรให้สามารถสัมผัสและรับรู้ถึงความสุขที่แท้จริงของชีวิตได้

ทำไมประเด็นความเครียดในเด็กถึงสำคัญ

ความเครียดส่งผลให้สมองทำงานช้า ยิ่งเครียดมาก ศักยภาพการเรียนรู้ก็จะยิ่งน้อยลง เพราะฉะนั้น ถ้าอยากให้ลูกประสบความสำเร็จ เรียนหนังสือได้ดี พยายามอย่าเอาความเครียดไปที่ลูกมากจนเกินไป

ในการเรียนออนไลน์คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลเรื่องสุขภาพทางสายตาของลูกอย่างไร

อยากจะแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้พยายามใช้จอบ้านหรือทีวีบ้าน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าทำให้ตาไม่เกรงหรือเพ่งมากจนเกินไป กอปรกับระยะที่นั่งห่างจอประมาณ 1.50 เมตร แสงหรือรังสีที่ออกมาอาจจะส่งผลกระทบต่อดวงตาหรือสมองของเด็กไม่มาก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสถานการณ์ที่ยังไม่มีความแน่นอน พ่อแม่ ผู้ปกครองจำเป็นที่จะต้องลดความคาดหวังหรือความกังวลให้น้อยลง ไม่ว่าจะเป็นมุมมองในเรื่องของมาตรการป้องกันต่างๆ ความปลอดภัย ตลอดจนการทำความเข้าใจ ให้ความช่วยเหลือเด็ก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียน การบ้าน การทบทวนบทเรียน และการช่วยให้เด็กไม่เครียดจนเกินไป

นพ.ชลภัฏ จาตุรงคกุล (หมอแอ๊นท์) 

Child & Adolescent Psychiatrist

ทั้งนี้สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ 

www.facebook.com/starfishlabz/videos/5049080718454453

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7764 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Starfish Academy

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Starfish Academy
1450 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

แนะนำหลักสูตร well being

คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...

แนะนำหลักสูตร well being

แนะนำหลักสูตร well being

Starfish Labz
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3087 ผู้เรียน

Related Videos

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
177 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
374 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
80 views • 2 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
104 views • 2 ปีที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน