“ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต” นำเสนอผลการระดมสมอง 5 โจทย์สำคัญเพื่อการเปลี่ยนระบบการศึกษาไทย

Starfish Academy
Starfish Academy 7884 views • 2 ปีที่แล้ว
“ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต” นำเสนอผลการระดมสมอง 5 โจทย์สำคัญเพื่อการเปลี่ยนระบบการศึกษาไทย

TEP FORUM 2022 “ก่อร่างสร้างใหม่ การศึกษาไทยสู่อนาคต” นำเสนอผลการระดมสมอง 5 โจทย์สำคัญเพื่อการเปลี่ยนระบบการศึกษาไทย

จากการระดมปัญหา และถกปัญหาถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการจัดการศึกษาไทยจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน เป็นการนำเสนอทั้งบทสรุปและข้อสรุปจาก 5 โจทย์สำคัญในการระดมสมองเพื่อการเปลี่ยนระบบการศึกษาไทย ซึ่งรับมอบโจทย์โดย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และจากการพูดคุยร่วมกัน ทำให้เห็นแนวทางและบทสรุป ดังนี้

โจทย์ที่ 1 โรงเรียนพลังบวก – ความหวังปฏิรูปการศึกษาจากพื้นที่ โดย คุณวิชัย จันทร์ส่อง ผอ.รร.วัดตาขัน จากการระดมความคิดโดยผู้เข้าร่วมจากโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สังกัดอื่นๆ โดยเฉพาะโรงเรียนใน 8 พื้นที่โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม โรงเรียนนอกพื้นที่นวัตกรรม และศูนย์การเรียนชุมชน ได้ร่วมกันสกัดเป็นแนวคิด ความท้าทายและสิ่งที่อยากจะเห็น ดังนี้ 

1)  กระทรวงศึกษาธิการควรเน้นให้สถานศึกษา เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีนโยบาย ส่งเสริม สนับสนุนที่ชัดเจนและจริงจัง 

2)  เปิดโอกาสให้สถานศึกษา และจังหวัดมีอิสรภาพในการบริหารการศึกษาด้วยตนเอง 

3)  ให้อิสระสถานศึกษาในการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญโดยการบูรณาการองค์ความรู้ในท้องถิ่น 

4) สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาการจัดการศึกษาที่ตอบสนองการปฏิรูป โดยการปรับกฎ ระเบียบ และระบบวัดผลประเมินผล ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู ผู้บริหาร และสถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุดกับนักเรียน 

5) กลไกระดับจังหวัด ทั้งศึกษานิเทศก์ เขตพื้นที่ และศึกษาธิการร่วมกันสนับสนุนสถานศึกษาให้มีอิสระในการจัดการตนเอง

โจทย์ที่ 2 สร้าง / คัด / พัฒนาครูแบบไหน ให้ตอบโจทย์เด็กไทยทุกคน โดย คุณทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล นักวิจัยนโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จากการแลกเปลี่ยนร่วมกัน ได้มีตัวแทนเข้าร่วมจากมหาวิทยาลัย กสศ. และครูที่สะท้อนความต้องการของโรงเรียน ความท้าทายของการพัฒนาครู ดังนี้ ด้านปัญหาพบว่าการสร้างครูไม่เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอาจทำให้การสอนของครูไม่ตอบโจทย์ การคัดเลือกครูผู้สอนยังอยู่ในระบบที่มีข้อสอบเหมือนกันทั้งประเทศ ทำให้ไม่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน พื้นที่และชุมชน และ การพัฒนามีอุปสรรคด้วยภาระงานที่มากทำให้ครูไม่มีเวลาพัฒนาตนเอง หรือแม้กระทั่งครูไม่สามารถเลือกสิ่งที่อยากจะพัฒนาได้ ทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์ความหลากหลายได้ สำหรับข้อเสนอ ดังนี้ 

1) การสร้าง ให้มีการทำงานร่วมกันมากขึ้นระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในการติดตาม ประเมินผล และการสะท้อนผลกลับเพื่อให้เกิดการปรับหลักสูตร 

2) การคัดเลือก โดยการให้โรงเรียนได้มีโอกาสเป็นคณะกรรมการในการคัดเลือก เพื่อให้โรงเรียนได้สะท้อนความต้องการมากขึ้น 

3) การพัฒนา โรงเรียนควรมีการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา มี School Concept เพื่อให้สามารถออกแบบการพัฒนาได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น 

โจทย์ที่ 3 Beyond Schooling การเรียนรู้แบบใหม่ที่ไปไกลกว่าโรงเรียน โดย คุณวรุตม์ นิมิตยนต์ ผู้ก่อตั้งเพจ Deschooling Game ความสนุกปลุกการเรียนรู้ จากการพูดคุยร่วมกันระหว่างผู้ที่ทำงานอยู่ในการเรียนรู้นอกระบบ จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้นอกระบบจำนวนมากเป็นพื้นที่ที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนทักษะบางอย่างที่การเรียนรู้ในระบบทำไม่ได้ เนื่องจากโครงสร้างของระบบการศึกษาค่อนข้างใหญ่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการขับเคลื่อน แต่ด้วยการศึกษานอกระบบหรือการเรียนรู้นอกระบบมีความยืดหยุ่น มีความเป็นเอกชนและรวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นความท้าทายในการให้ทั้งสองฝ่ายสามารถสนับสนุนการทำงานร่วมกันได้ จึงนำมาสู่ข้อเสนอ ดังนี้ สิ่งแรกคือ การผลักดันให้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถทำงานหรือขับเคลื่อนร่วมกันได้ ประการที่2 การสนับสนุนการเรียนรู้นอกระบบ โดยการให้โรงเรียน สถานศึกษาเข้ามาสนับสนุนและใช้ความยืดหยุ่นของหลักสูตรที่การเรียนรู้นอกระบบสามารถทำได้ จะช่วยทำให้การทำงานร่วมกันในอนาคตง่ายและดีขึ้น และสุดท้าย การได้รับความสนับสนุนหรือออกแบบการสนับสนุนร่วมกันในหลายๆ ด้านจากภาครัฐ

โจทย์ที่ 4 Learning recovery เปิดเรียนใหม่ การศึกษาไทยต้องไม่เหมือนเดิม โดย ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสรีบุตร CEO Starfish Education สำหรับการพูดคุยหลักๆ เป็นเรื่องการจัดการศึกษาหลังโควิดส่งผลกระทบอย่างไร และควรปรับตัวอย่างไร โดยผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้แทนจาก UNICEF และกสศ. พบว่า ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนลดน้อยลง ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการถดถอยการเรียนรู้ของเด็ก (Learning Loss) ส่งผลให้เด็กหลุดออกจากระบบหรือเป็นเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ซึ่งจะทำให้เห็นถึงช่องว่างที่กว้างขึ้นในการเรียนรู้ของเด็ก และการเข้าถึงสื่อ อุปกรณ์ต่างๆ โดยจะนำไปสู่ข้อเสนอดังนี้ 

1) การช่วยเหลือเด็กให้สามารถที่จะฟื้นฟูการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยการสร้างความตระหนักในการปรับวิธีการเรียนแบบใหม่อย่างไรในสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ 

2) การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน 

3) การสร้างเครือข่ายการศึกษาการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน หรือภาคส่วนอื่นๆ ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอน 

4) การเชื่อมโยงการทำงานของครู 

5) การปรับหลักสูตรเพื่อลดสิ่งที่ไม่จำเป็นในการเรียนรู้ 

6) การพัฒนาครูในด้านทักษะใหม่ๆ ในการสอนเด็กๆ ในรูปแบบของ Hybrid หรือ Online หรือการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

โจทย์ที่ 5 พ.ร.บ.พอหรือไม่ : กติกานโยบายแบบไหน จะพาการศึกษาไทยไปสู่อนาคต โดย คุณณิชา พิทยาพงศกร นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มีข้อค้นพบ 3 ข้อในด้านความท้าทายการจัดการศึกษาในปัจจุบันดังนี้ 

1) การมีกติกาจำนวนมากในการกำกับ ดูแลกระทรวงศึกษาธิการ และส่วนหนึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ อีกทั้งเกิดจากความไม่ไว้วางใจในการทำงานของครูและโรงเรียน 

2) การแก้ไขกฎหมายต่างๆ ใช้ระยะเวลานาน ซึ่งทำให้ไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในปัจจุบัน 

3)  กติกาอาจมีความยืดหยุ่นไม่เพียงพอสำหรับการจัดการศึกษาที่มีความหลากหลาย สำหรับข้อเสนอดังนี้ 

  • 3.1) การกระจายอำนาจ เพิ่มอิสระให้ทุกระดับมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น จะทำให้เกิดแนวปฏิบัติที่เปลี่ยนแปลงไป 
  • 3.2) การออกแบบกติกาทางการศึกษาในอนาคต มุ่งเน้นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและรับรองสิทธิสวัสดิภาพของผู้เรียนมากขึ้น 
  • 3.3) ควรมีการอนุญาตให้ทำการทดลองเชิงนโยบาย 
  • 3.4) ควรให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการเรียนการสอนรูปแบบ Hybrid และมีการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างครู 
  • 3.5) การออกแบบกติกาที่ดีที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ตลอดจนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู โรงเรียน และข้ามเส้นแบ่งไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนเอกชน นานาชาติ การเรียนรู้นอกหรือในห้องเรียน การทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชนเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้ระบบการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว

เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
Starfish Academy

ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
Starfish Academy

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

Starfish Academy
1348 ผู้เรียน
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
Starfish Academy

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

Starfish Academy
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
Starfish Academy

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

Starfish Academy
4386 ผู้เรียน

Related Videos

Makerspace Day #2
04:27
Starfish Academy

Makerspace Day #2

Starfish Academy
281 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #2
Happy Kit นวัตกรรมนิทาน HAPPY KIT
27:31
Starfish Academy

Happy Kit นวัตกรรมนิทาน HAPPY KIT

Starfish Academy
55 views • 2 ปีที่แล้ว
Happy Kit นวัตกรรมนิทาน HAPPY KIT
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
86 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
MetamorCBE ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะผ่านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางความคิด
24:56
Starfish Academy

MetamorCBE ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะผ่านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางความคิด

Starfish Academy
162 views • 2 ปีที่แล้ว
MetamorCBE ชุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะผ่านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางความคิด