“การลดปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย”
นักเรียนเสี่ยงหลุดออกระบบการศึกษาจากการ “ปิดโรงเรียน” เลี่ยงไม่ได้เมื่อการศึกษาไทยต้องรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 เมื่อต้องเลื่อนเปิดเทอม ผลกระทบที่ตามมาคือ อาจทำให้เกิดภาวะถดถอยของความรู้ของนักเรียน การเรียนออนไลน์จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งนำมาปรับใช้ แล้วเมื่อต้องปรับตัวมาเรียนออนไลน์ ครูจึงเป็นอีกหนึ่ผู้ผลักดันให้กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนไม่หยุดนิ่ง และจะต้องเตรียมการเรียนรู้ เปลี่ยนห้องเรียนออนไลน์ให้ตรงกับบริบทของนักเรียนและครอบครัวนั้น ๆ เป็นการทำงานที่ครูต้องเร่งเรียนรู้ไปพร้อมๆกับความจำเป็นในสถานการณ์วิกฤต และยังเป็นความท้าทายในความสามารถ และความคิดของครูผู้สอนที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด และรูปแบบการเรียนการสอน เลิกติดกรอบเดิมๆ ปรับทัศนคติ มองหาวิธีการนำความรู้มาผนวกกับการใช้เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ นำมาพิจารณาปรับใช้เพื่อให้เหมาะสมกับเด็ก และสถานการณ์ปัจจุบัน
“ถ้ามองว่ามันเป็นโอกาส ก็จะเป็นโอกาสดีที่ได้วิธีการเรียนรู้ใหม่ ๆ แต่เราต้องกลับมาที่แก่นว่าจริง ๆ แล้วการศึกษามีไว้เพื่ออะไร เรื่องที่นักเรียนควรจะเรียนรู้คืออะไร ครูแต่ละคนมีวิธีรับมือที่ต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ควรคำนึงถึงนักเรียนเป็นหลัก การวางแผนการสอน ต้องสอดคล้องกับบริบทของนักเรียนและสถานการณ์ปัจจุบัน ในช่วงสภาวะแบบนี้นักเรียนควรเรียนรู้เรื่องอะไร และถึงแม้ว่าตอนนี้ออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ มนุษย์สามารถหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า เด็ก ๆ ยังคงต้องการพื้นที่เรียนรู้ร่วมกับคนอื่นๆ เด็กๆ ยังต้องการคนที่มาช่วยวิเคราะห์ ช่วยหาเครื่องมือสำหรับเรียนรู้ที่เหมาะสม นั่นก็คือครู เหตุผลของการปิดเรียนถึงแม้เลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับในความถดถอยด้านทักษะการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย
การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ เด็กต้องมีเวลาในการกำกับตัวเอง ถือเป็นโจทย์สำคัญของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ต้องให้เด็กยังคงมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน ได้ลงมือปฎิบัติ สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาที่เรียนเข้ากับชีวิตจริงได้ วิธีหนึ่งคือ การจัดสัดส่วนวิชาให้สมดุลไม่หนักไปทางเนื้อหาอย่างเดียว ให้เด็กมีกิจกรรมอย่างอื่นทำ นอกเหนือจากการนั่งอยู่หน้าจอเพียงอย่างเดียว เน้นให้เด็กลงมือปฎิบัติ นอกจากนั้น การได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโดยมีเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน คือมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สนับสนุนงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีรูปแบบการเรียนแบบ Active Learning อย่างเช่น มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้เข้ามาช่วยเหลือ พัฒนาโรงเรียนในโครงการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ครูสามารถนำความรู้ที่มีมาถ่ายทอดให้กับนักเรียนได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process ผ่านกิจกรรม Maker Space” และพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรม เช่น นวัตกรรมถุงผ้าแห่งการเรียนรู้สู่การมีทักษะ 3R8C “Learning Bag” ของโรงเรียนสหกรณ์กสิกรรมชายทะเล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร นำมาช่วยลดภาวะถดถอยของความรู้ของนักเรียน เพิ่มโอกาสของการศึกษา ไม่ให้หายไป พร้อมเตรียมมาตรการเร่งฟื้นฟู “ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้” เพื่อกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาต่อไป
สาวิตรี เหลืองสุรีย์
ศึกษานิเทศก์ สพป.สมุทรสาคร
บทความใกล้เคียง
สร้างการเรียนรู้ที่บ้าน แบบง่ายๆ ด้วย Learning Box ทำยังไงได้บ้าง
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 2 การนำไปใช้กับผู้เรียน (ครูผู้สอน)
PLC Happy Hour การออกแบบบรรยากาศ และรูปแบบในการจัดการเรียนรู้
Related Courses
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...
การพัฒนาทักษะการอ่าน
หนังสือเปรียบเสมือนคลัง ที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ต่างๆ มากมาย การพัฒนาทักษะและส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านจึงมีความสำคัญเป็น ...
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...