กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 2 การนำไปใช้กับผู้เรียน (ครูผู้สอน)
จากช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้โรงเรียนได้มีการใช้นวัตกรรมในการจัดการศึกษา ทั้งในรูปแบบ On-line On-hand และ On-demand และจากการใช้นวัตกรรมที่หลากหลาย จึงได้มีการสรุปนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนรู้ ดังนี้
1. เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก คือ Synchronous เป็นรูปแบบการเข้าร่วมพร้อมกันทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผ่านช่องทาง Zoom Google Meet ฯลฯ และ Asynchronous เป็นรูปแบบที่ไม่ได้เข้าร่วมออนไลน์พร้อมกัน นักเรียนสามารถเลือกช่วงเวลา และจัดการเรียนรู้ Learning Package ด้วยตนเองที่บ้านได้ โดยขั้นตอนในการสอนมีทั้งรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ มีการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยกระตุ้น ส่งเสริมความสนใจหรือเพิ่มความสนุกในการจัดการเรียนการสอน และช่องทางการสื่อสารพื้นฐานระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง โดยการใช้แอปพลิเคชั่นที่คุ้นชิน เช่น ไลน์กลุ่ม Facebook อีเมล์ เป็นต้น รวมไปถึงการจัดทำ Digital Portfolio สำหรับเด็กผ่านระบบ Starfish Class ที่สามารถใช้ได้ทั้งระบบ Android และ IOS
2. สำหรับนักเรียนหรือโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ที่มีข้อจำกัดด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ต จึงมีนวัตกรรมชุดการเรียนรู้ (Learning Box) ในการจัดการเรียนรู้ทางไกลที่ครูสามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทของโรงเรียนได้ สิ่งสำคัญของ Learning Box คือ Booklet เป็นคู่มือในการทำกิจกรรมที่เด็กและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ ศึกษาและทำกิจกรรมร่วมกันได้ รวมไปถึงการประเมินการเรียนรู้จากกิจกรรมใน Booklet ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรม 3R การอ่านออกเขียนได้ กิจกรรม Makerspace เน้นการเรียนรู้แบบ Active และการบูรณาการ และกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
3. การใช้ Micro Learning เป็นนวัตกรรมในการแยกย่อยเนื้อหา นำเสนอในรูปแบบที่กระชับ น่าสนใจให้กับผู้เรียนแบบทีละเล็กละน้อยอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย และช่วยเสริมความมุ่งมั่นในการเรียนให้เพิ่มขึ้น การใช้ Micro Learning เป็นการสร้างสื่อที่หลากหลายและเหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนอาจจะเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ บทความ ข่าว คลิปวิดีโอ พอตแคสต์ หรือเกมส์ ทั้งนี้ Micro Learning ไม่ใช่นวัตกรรมหลักในการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด เพียงแต่เป็นสื่อที่จะใช้ตามบริบท ตามจังหวะหรือช่วงเวลาที่เด็กไม่เข้าใจในบทเรียน เพื่อเป็นตัวช่วยในการสอนเสริม
สมรรถนะสำคัญของครูในยุค New Normal
1. การจัดการเรียนรู้ สิ่งสำคัญ คือ ครูในยุค New Normal จะต้องมีความรู้ด้าน TPCK ซึ่งเป็นความรู้ในด้านเนื้อหา มีความแม่นยำในบทเรียนที่จะสอน ด้านรูปแบบ เทคนิค วิธีการที่จะช่วยจัดการสอนเนื้อหาให้เด็กเกิดความเข้าใจ และการนำเทคโนโลยีหรือเครื่องมือต่างๆ มาช่วยผลักดันการสอนให้ตรงกับเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งเป็นสมรรถนะที่ครูควรให้ความสำคัญ
2. ทักษะสำหรับครูในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย ทักษะ 5 ด้าน คือ การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitating) การสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้ (Collaborating) เป็นการความร่วมมือกับเด็กที่อยู่ในห้องเรียน และการสร้างความร่วมมือร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายภายนอกมาถ่ายถอดจัดการเรียนรู้ร่วมกับเด็กได้ การพัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล (Personalise Learning) การสร้างและเผยแพร่ความรู้ (Authoring and Publishing) ซึ่งครูสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.starfishlabz.com และการใช้นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ (Innovation skill)
การวิเคราะห์ขนาดของผล (Effect Size) ที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมและการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวางแผนในการจัดการเรียนรู้ เริ่มจากการคิดค้นนวัตกรรมที่จะใช้การพัฒนาด้านใด โดยการทำความเข้าใจในนวัตกรรมการศึกษาและเลือกใช้นวัตกรรมของโรงเรียน เช่น STEAM Design Process กิจกรรม Makerspace เป็นต้น การจัดรูปแบบกิจกรรม โดยผ่านกระบวนการ PLC ในรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผล การวัดผลก่อน-หลังเรียน การประเมินผลตนเอง (Student self-assessment) การใช้เครื่องมือ Starfish Class และการวิเคราะห์ขนาดของผล (Effect Size) ทั้งในภาพรวม และผลการเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล หลังจากนั้น ดำเนินการสรุปผลการจัดการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนด้วย Google Form หรือตามบริบทของครูได้
การนำไปใช้กับระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ (ว. PA)
1. การใช้ตัวชี้วัดการประเมิน เพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ “ครู” ประกอบด้วย ด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ที่สะท้อนตามวัยและลักษณะของผู้เรียน และด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการ
2. การใช้ไฟล์ดิจิทัลประกอบการประเมิน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบไฟล์แผนการจัดการเรียนรู้ คลิปวิดีโอบันทึกการสอน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.starfishlabz.com ด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ในรูปแบบไฟล์ผลงาน/ผลการปฏิบัติของผู้เรียน และด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการ เพิ่มเติมในด้านงานวิจัย เช่น การวิเคราะห์สื่อ ประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่เลือกใช้ มีการสำรวจทำตาราง TOC ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามความพึงพอใจที่ส่งผลต่อผู้เรียน เป็นต้น
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...