PLC Happy Hour การออกแบบบรรยากาศ และรูปแบบในการจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้ในยุคสมัยนี้ ด้วยความพร้อมของเด็กและครอบครัวที่หลากหลาย ทำให้ต้นทุนในด้านต่างๆ แตกต่างกัน ครูจะมีวิธีปรับกระบวนการอย่างไรให้นักเรียนมีประสบการณ์ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตนอกรั้วโรงเรียนได้ นอกเหนือจากความคุ้นชินที่ครูสอนจากตำราเพียงเล่มเดียว ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ครูถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่เด็กให้ความไว้วางใจและเป็นผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือได้ จากการเลือกแนวทาง สร้างกระบวนการ พัฒนาและแนวทางเสริมทักษะต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลกับสิ่งที่เด็กต้องการ ซึ่งกิจกรรม PLC ในครั้งนี้ เป็นการเปิดมุมมองความคิด กระบวนการ วิธีการเพื่อให้นักเรียนก้าวไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
สำหรับแนวทางการออกแบบ หรือการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนของครูให้เป็นห้องเรียนแห่งความสุขนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ บริบทของนักเรียนในห้องเรียน การออกแบบกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับช่วงวัยและสถานการณ์ การใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่สร้างการเรียนรู้หลากหลายช่องทาง อีกทั้ง ห้องเรียนจะต้องมีความสะอาด โล่ง โปร่ง สบาย และมีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม การใช้พื้นที่ในห้องเรียนอย่างคุ้มค่าผ่านกิจกรรม Makerspace โดยการให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล จากการจำลองสถานการณ์สร้างการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานของตัวเอง ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกไปกับการเรียนและส่งเสริมความกล้าแสดงออก การประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุอุปกรณ์ใน Learning Box เพื่อเป็นการฝึกทักษะชีวิต รวมไปถึงการใช้ทฤษฎีต่างๆ เข้ามาเสริมแรง จูงใจการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนแห่งความสุขได้ นับได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่การปลดล็อคความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและนำพาสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง
นอกจากการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แล้ว ผลกระทบที่ผ่านมา ก่อให้เกิดอุปสรรคทั้งสถานการณ์และข้อจำกัดต่างๆ และครูจะต้องปรับกระบวนการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และจากปัญหาต่างๆ ครูมีวิธีจัดการในการบริหารจัดการห้องเรียน โดยการสร้างข้อตกลงร่วมกันในห้องเรียนระหว่างครูกับนักเรียน โดยในข้อตกลงจะใช้คำว่า “ไม่ ห้าม อย่า” และจะเปลี่ยนเป็นประโยค Positive เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ รวมถึงการเสริมแรงทางบวกด้วยคำพูด การกระทำ หรือแม้แต่การให้รางวัล การอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว การเปิดกว้างทางความคิด ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยอมรับความแตกต่าง สำหรับการออกแบบกิจกรรม จะเป็นกิจกรรมสื่อการสอน แอปพลิเคชันต่างๆ ที่สนุกและหลากหลาย ทันต่อเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นๆ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการในศตวรรษที่ 21 และเป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง การนำกิจกรรมต่อยอดที่บ้านให้เกิดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมระหว่างเด็กกับผู้ปกครองผ่าน Learning Box และการนำกระบวนการ STEAM Design Process หรือนวัตกรรมต่างๆ เข้ามามีส่วนในกิจกรรมนั้นๆ
ทั้งนี้ การสร้างบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ที่ดี สิ่งที่เชื่อมโยงให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่ครูจะสร้างความเชื่อมั่นให้นักเรียนเกิดความไว้วางใจและเชื่อใจในตัวครู โดยการเปิดใจรับฟัง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้แสดงบทบาทความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ที่สำคัญคือ การเข้าถึงกิจกรรมอย่างเท่าเทียมกัน การเอาใจใส่โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละช่วงวัย ไม่เปรียบเทียบเด็ก การรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ใช้เหตุและผลในการพูดคุย และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่
จากการออกแบบบรรยากาศ และรูปแบบในการจัดการเรียนรู้ ส่งผลให้นักเรียนสามารถต่อยอดการเรียนรู้เพื่อนำไปพัฒนาทักษะชีวิตได้ มีเหตุมีผล และมี Mindset ในแต่ละวิชาที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความกระตือรือร้นในการเรียน นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และมีความสุขในการเรียนรู้
เห็นได้ว่า การออกแบบบรรยากาศและรูปแบบในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน รวมไปถึงการจัดการชั้นเรียนของครูโดยการใช้แรงเสริมทางบวก การสอดแทรกกระบวนการทักษะด้านต่างๆ การบูรณาการต่อยอดทางความคิด เปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จริง และสอดแทรกกระบวนการ STEAM Design Process และ Makerspace ถึงแม้ว่า บางสถานศึกษายังไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On-site ได้ แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ Learning Box เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ถือได้ว่า เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีให้เชื่อมโยงระหว่างครูและนักเรียน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาแก่นักเรียนด้วยวิถีการเรียนรู้ใหม่ Active Learning อย่างแท้จริงในการเป็นห้องเรียนแห่งความสุข
บทความใกล้เคียง
Learning Box ตัวช่วยพ่อแม่ สร้างการเรียนรู้ให้ลูกในยุค Covid-19
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 2 การนำไปใช้กับผู้เรียน (ครูผู้สอน)
สร้างการเรียนรู้ที่บ้าน แบบง่ายๆ ด้วย Learning Box ทำยังไงได้บ้าง
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...