สุขภาพกาย - สุขภาพจิตที่ดีสร้างได้ ! ผ่านกิจวัตรประจำวัน
แม่: ตื่นได้แล้ว จะสายแล้วนะ
ลูก: ขออีก 10 นาที
ปรากฏว่า ลูกนอนลากยาวไป 20 นาที ลูกก็ไปรร.สาย โดนครูบ่นว่ามารร.ไม่ทัน บางเวลาทีเรียนก็ง่วง เรียนไม่สนุก หากมีการบ้าน ก็อาจจะทำไม่ค่อยได้ ใช้เวลานาน เวลาเล่น หรือพักผ่อนก็หมด พาลอารมณ์เสียอีก
วงจรเหล่านี้ หลายๆบ้าน และคุณครูหลายๆท่านน่าจะพบเห็น อาจจะมีบางวงจรเบากว่านี้ หรือหนักกว่า แต่สิ่งที่อยากสื่อคือ ทั้งเรื่องสุขภาพกาย และสุขภาพจิตมีอยู่ในชีวิตประจำวันของเด็กๆเลยค่ะ ดังนั้น หากเราอยากจะสอนให้เด็กๆ ของเรามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ขอแนะนำว่าลองมาเริ่มจากการกำหนดกิจวัตรประจำวันของเด็กๆกันนะคะ
วิธีการกำหนดกิจวัตรประจำวัน มีอยู่ 1 คำที่น่าสนใจ คือคำว่า “กำหนดแต่เรื่องที่สำคัญ” ดังนั้น ก่อนที่พ่อแม่จะไปคุยกับลูกๆ ให้พ่อแม่เลือกเรื่องที่อยากจะให้เด็กๆ ทำก่อน โดยในเด็กวันอนุบาล ในช่วงเริ่มต้น อาจจะกำหนดน้อยๆ ก่อน 1-3 เรื่องก็พอ เช่น
อยากให้ลูกอาบน้ำให้สะอาด อยากให้ลูกมีเวลาได้เล่นเยอะ เพื่อให้เขามีความสุข (แต่ติดปัญหาตรงที่ว่า เขาไม่ยอมรีบทำการบ้านเสียที) อยากให้กินผัก เป็นต้น
ถัดมา ให้พ่อแม่ไปคุยกับลูก ชวนทำกิจวัตรประจำวัน โดยเราอาจจะทำเป็นแผนภาพวงกลม และเลือกใช้คำง่าย หรือเลือกใช้ภาพประกอบเยอะๆ เช่น ตื่น รีบอาบน้ำ ไปรร. กลับมาบ้านรีบทำการบ้าน แล้วก็เล่น กินข้าว เข้านอน และสุดท้าย ในพฤติกรรมที่เราอยากให้เขาทำ หรืออยากให้เขามี เราต้องเชิญชวนหรือเสริมแรงเขาเยอะๆ เพื่อให้เขารู้สึกว่า ทำแล้วมันดีนะ เช่น
การใช้คำพูด
สมมติ “เราอยากให้เรารีบทำการบ้าน เพื่อให้เขาได้มีเวลาเล่นเยอะ” เราอาจจะพูดว่า
แม่: หนูชอบเล่นอะไรบ้าง
ลูก: ลูกบอล ขายของ ระบายสี
แม่: แม่รู้ว่ากลับมาบ้านหลังเลิกเรียนหนูอยากเล่นใช่ไหม
ลูก: ใช่
แม่: โอเคงั้น กลับมารีบทำการบ้านนะ พอทำเสร็จเร็วจะได้มีเวลาเล่นเยอะๆ
การใช้กิจกรรม สนุกๆ
สมมติ “เราอยากให้ลูกกินผัก”
พ่อ: มาเล่นเกม “กินให้หมดกัน” ใครกินหมดคือ สุดยอด และจะมีร่างกายที่แข็งแรงนะ ถ้าพร้อมแล้วเริ่มได้
สมมติ “อยากให้ลูกอาบน้ำให้สะอาด”
แม่: เรามาเล่นเกมให้ตัวหอมกัน ถ้าเราอาบน้ำสะอาดตัวจะหอมมากเลย ...
สมมติ “อยากให้ลูกมีความสุข ด้วยการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว”
เราก็อาจจะจัดกิจกรรม “เล่นด้วยกัน” “เต้นด้วยกัน” “เล่าให้ฟังได้ทุกเรื่อง” ในกิจวัตรประจำวันนะคะ เพื่อให้เด็กๆ และครอบครัวได้สร้างความสุขด้วยกันและมีกิจกรรมสนุกๆ เล่นกันค่ะ
ซึ่ง หากเราใช้คำพูดเชิญชวน เสริมแรง ชวนทำกิจกรรมสนุกๆ เราเชื่อว่าเด็กๆ จะสามารถมีพฤติกรรมสุขภาพและมีความสุข ได้อย่างแน่นอนค่ะ
Related Courses
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
วิธีรับมือกับโรคเด็กในฤดูหนาว
เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกๆ หรือเด็กๆได้ แต่เราสามารถรับมือกับโรคได้ ถ้าเรารู้จักกับชนิดของโรค สาเ ...