Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

บางครั้งคำพูดที่เราสื่อออกไป เพราะหวังดีกับเด็ก ๆ แต่กลับทำให้พวกเขารู้สึกบั่นทอน และอึดอัดใจ เพราะฉะนั้นเราควรคิดให้รอบคอบ และหยุดตั้งคำถาม การพูดแบบนี้ ส่งผลให้เด็กรู้สึกแบบไหน 

พร้อมใช้ความเห็นอกเห็นใจ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ และคุณครู อารมณ์ยังไม่ดี อย่าพึ่งพูดอะไรออกไป นั่งพักสักครู่ เมื่อทุกอย่างเย็นลง เราค่อยกลับไป

วันนี้ Starfish Labz มีโอกาสพูดคุยกับคุณแม่ อารมณ์ดี คุณตุ๊ก ชนกวนันท์ รักชีพ และ คุณหมอแนต จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น พร้อมกับ Expert ด้านการศึกษา ดร.แพร นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร ร่วมแชร์ความคิดเห็นผ่านรายการ Starfish Trends Talk Ep.2 ‘คำพูดกดทับ ที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก’ มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

ใคร ๆ ก็ไม่อยากได้ยิน คำพูดกดทับ

ตุ๊กคิดว่า คำพูดกดทับ เป็นคำที่เราพูดออกไป แล้วคนฟังไม่มีความสุข 

ถ้าใช้พูดกับเด็ก อาจทำให้เขาเปลี่ยนไปอีกเวย์เลย บางทีเขาตั้งใจทำอะไรบางอย่าง 

แต่เราไปพูด หรือแนะนำอะไรเขา สุดท้ายเขาต้องเปลี่ยนวิธีคิด และเปลี่ยนวิธีการทำสิ่งนั้น 

การเปรียบเทียบ ลดความภูมิใจในตัวเองของเด็กได้

ในโรงเรียน คำพูดกดทับ มาในรูปแบบของการเปรียบเทียบ เช่น ทำไมเธอทำไม่ได้ ฉันก็สอนเหมือนกัน ซึ่งคำพูดเหล่านี้เปลี่ยนเด็กที่มี Self-Esteem สูง เป็นเด็กที่มี Self-Esteem ต่ำลง 

การสื่อสารที่สอดแทรกความคาดหวัง

หมอมองว่า คำพูดจะมีน้ำหนักขึ้นและกดทับเด็ก เมื่อเราใส่ความคาดหวังลงไป 

และเป็นสิ่งที่ทำตามได้ยาก เช่น ถามเขาว่า ทำไมถึงสอบไม่ได้ที่ 1 เด็กเขาไม่รู้หรอกว่า เขาทำไม่ได้ แต่เขาจะจินตนาการ จริง ๆ ฉันต้องทำได้สิ ตรงนี้แหละ ทำให้ความภาคภูมิใจเด็กค่อย ๆ ลดลง 

ยุคนี้รักลูกให้สอน ไม่จำเป็นต้องลงมือ

การตีมันไม่มีคำสอนอยู่ แต่ถ้าเราสอน เราอธิบาย ให้ลูกเข้าใจ สิ่งที่เขาทำมันดี หรือไม่ดีอย่างไร และถ้าเขาทำดีเมื่อไหร่ ชมเขาบ้าง กอดเขาบ้าง มอบความรักให้ ขอตีสักหน่อยได้ไหม คำถามที่หลายบ้านน่าจะสงสัย ตีได้ครับ แต่ขอเป็นเรื่องที่สุดวิสัยจริง ๆ 

มูลนิธิสตาร์ฟิช ไม่ทำโทษลูกศิษย์ด้วยการตี ส่งเสริมวินัยเชิงบวก 

โรงเรียนเราไม่มีการตีค่ะ เราเน้นเรื่อง positive discipline มีนโยบายคุ้มครองเด็กนักเรียนด้วย คุณครูทำโทษทางร่างกายไม่ได้เลย

แต่ผู้ปกครองก็แจ้งทางโรงเรียน ให้จัดการได้เลย ถ้าลูก ๆ ดื้อ ทางโรงเรียนเลย ชี้แจง ให้คุณพ่อคุณแม่ฟังว่า คนที่เขาใช้กำลัง เขาไม่มีเครื่องมืออื่น ไม่สามารถควบคุมเด็กได้ 

คุณครูต้องวิเคราะห์เด็กได้ เข้าไปนั่งในใจพวกเขา 

คำว่าดื้อของคุณครู แปลได้หลากหลาย เช่น เด็กไม่ตั้งใจฟัง เวลาครูสอน เรื่องนี้คุณครู ต้องหาวิธีดึงความสนใจจากเด็ก ในความเป็นจริง เด็กเล็ก ๆ อายุ 3 ขวบ จะให้เขานั่งอยู่เฉย ๆ มันเป็นไปไม่ได้ 

บทบาทของครูต้องวิเคราะห์เด็กเป็น เขาเบื่อไหม กิจกรรมสนุกหรือเปล่า หรือถ้าไม่ทำการบ้านไม่เสร็จ แต่งตัวไม่เรียบร้อย ถามเขาก่อน เกิดอะไรขึ้นบ้าง อย่ารีบไปทำโทษ พยายามมองให้ลึกกว่าสิ่งที่เราเห็นค่ะ

คุณครูต้องหาสิ่งที่เด็ก เขาทำได้ดี และไปเสริมแรงบวกตรงนั้น ทำให้เด็กเข้าใจตัวเองมากขึ้น พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จะค่อย ๆ ลดน้อยลง

วัยรุ่นแนวมีโน้มเป็นโรคซึมเศร้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ และเสี่ยงสูงกว่าวัยอื่นอีกด้วย

ช่วงวัยรุ่นความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าวัยอื่น 3-4 เท่า เพราะเขามีความเครียดมาก เห็นได้จากสถานการณ์โควิด น้อง ๆ มหาวิทยาลัย  ไม่ได้ไปเจอเพื่อน เรียนออนไลน์มาหลายปี เรียนจบ ก็ไม่ได้ไปปาร์ตี้กับเพื่อน 

บางครั้งเจอปรี๊ดแตก จากคุณพ่อคุณแม่ เพราะกลับมาบ้าน ก็เหนื่อยจากงาน เครียดเพราะถูกลดเงินเดือนบ้าง ไม่มีงานทำบ้าง 

ประกอบกับยุคปัจจุบัน ใคร ๆ ก็ใช้โซเชียลมีเดีย โพสต์โชว์ความสำเร็จ เด็กเขาเห็นแต่โพสต์ด้านดี ๆ เรื่องสนุก ๆ รูปภาพไปเที่ยวกับครอบครัวของเพื่อน ทำให้เด็กรู้สึกกดดัน และเปรียบเทียบตัวเอง 

ไม่เหมือนเมื่อก่อนครับ กว่าจะรู้ว่าเพื่อนทำอะไรบ้าง ก็ตอนไปงานเลี้ยงรุ่น หรือตอนเพื่อนอายุเยอะแล้วนะครับ เหตุผลพวกนี้ ส่งผลให้เด็ก ๆ มีแนวโน้มจะเป็นโรคจิตเวช ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง 

ลูกศิษย์ กับ อาการน่าเป็นห่วงเสี่ยงเป็นโรคจิตเวช

ต้องยอมรับว่า ทางคุณครู ก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ ต้องปฎิบัติยังไงต่อ ถ้าเด็กมีอาการแบบนี้ แต่ปัจจุบันโรงเรียนไทย มีการเชิญ นักจิตวิทยามาคุยกับเด็ก ๆ 

ให้ความรู้คุณครูบ้าง และสอนวิธีการเช็กเบื้องต้น ลูกศิษย์พูดน้อยลงไหม กินข้าวน้อยลง ซึม จากเคยกินเยอะ แต่กินน้อยลง อาการพวกนี้ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนได้ 

สุดท้ายอยากฝากให้เรื่อง mental health เป็นเรื่องของทุกคน ทุกคนควรมีพื้นฐาน และทำความเข้าใจ 

คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวัง ‘อาการติดดี’

คำว่าอาการติดดี ตุ๊กหมายถึง ลูกเราต้องดีแสนดี คอยช่วยเหลือคนอื่นเสมอ เช่น เด็กกำลังคุยเล่น กินขนมอยู่ พ่อแม่เรียกให้ไปช่วยคุณครูยกของ แต่ลึก ๆ ลูกเขาไม่อยากไป เขาอยากนั่งเฉย ๆ 

บางครั้งเรากลัวลูกเราจะน้อยหน้าคนอื่น กลัวไม่เก่งเท่า อัดให้เรียนพิเศษ กิจกรรมแน่นไปหมด เรื่องพวกนี้แหละต้องระวังนะคะ 

หรือเรื่องของพี่น้อง คำพูดยอดฮิต เป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง ซึ่งในความเป็นจริง เด็ก 3 ขวบ เขาอาจไม่พร้อมจะเสียสละให้เด็ก 1 ขวบ ทำไมต้องให้พี่เสียสละทุกครั้ง เขาก็อยากกินอิ่ม ๆ บ้าง

คุณพ่อคุณแม่ต้องบาลานซ์ ไม่ติดดี ไม่หลงเกินไป ถ้าอยากชมก็ชมเขาเลย อย่าไปคิดว่าอวดลูก แต่ทุกอย่างต้องมาจากหัวใจ และเรารู้สึกว่ามันดีจริง ๆ 

เปลี่ยนจากจับผิด เป็นจับถูกบ้างและรีบชมทันที

ถ้าเห็นเด็ก ๆ ทำถูก ชมเขาได้เลยค่ะ ไม่ต้องกังวลว่า จะชมมากเกินไป ถ้าเป็นเรื่องจริง คำชมเราสามารถให้เขาได้เรื่อย ๆ เป็นการบอกให้เขารู้ด้วย 

เช่น ใน 1 วัน เราชมไป 10 ครั้ง แปลว่าเขาทำดี 10 เรื่องเลยนะ แต่ครูต้องระวัง เรื่องการลำเอียง ถ้าเราชมคนใดคนหนึ่ง มากเกินไป อันนี้อาจเป็นปัญหาได้ 

ชมแบบมีโครงสร้าง คุณหมอแนตแนะนำให้ทำตาม 

เป็นเรื่องที่ดี ถ้าเราชมแบบมีโครงสร้าง ให้ feedback เชิงบวก และคิดในใจไว้แล้ว จะชมเรื่องใด อยากให้เขาพัฒนาไปทางไหน เสริมกำลังให้เด็ก ๆ มั่นใจ 

ความภูมิใจในวันที่ลูกชมคนอื่น และไม่กดทับตัวเองของแม่ตุ๊ก

ลูกตุ๊กตอนนี้เข้าสู่วัยรุ่น ปีนี้ 14 เราสังเกตได้ ความคิดเขาเปลี่ยนตลอด แต่ตุ๊กเชื่อว่า ความแข็งแรงที่เราเลี้ยงเขามาตั้งแต่แบเบาะจนถึงวันนี้ 

ทำให้เขาภูมิใจกับตัวเอง พอใจกับศักยภาพ และชื่นชมคนอื่นได้ด้วย ลูกเราสามารถชื่นชมคนอื่น แต่ก็ไม่กดทับตัวเอง สิ่งไหนที่ลูกยังทำไม่สำเร็จ เขามักบอกตุ๊กว่า ค่อย ๆ พัฒนาได้  

และตุ๊กก็คอยเป็นที่พักพิงให้เขา บางทีลูกมาบ่นเรื่องอะไรบางอย่าง เราก็จะไม่เบรกลูก รับฟังเขา เพราะเราเข้าใจเรื่องนี้ดี ตุ๊กตอนเด็ก ๆ เวลาไปบ่นให้ที่บ้านฟัง คนอื่นถูกตลอด เราเลยไม่ค่อยเล่าอะไร

สอนลูกให้ควบคุมความโกรธ หยุดได้ทันควัน

เราห้ามปากคนอื่นไม่ได้ แต่ห้ามใจตัวเองไม่ให้โกรธ ตามปากคนอื่นได้ สิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ ควรบอกลูก ๆ เวลามีคนอื่นมาพูดอะไร ที่บั่นทอนลูก หรือกดทับ 

เราทุกคนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง แต่ละคนมีความสามารถ ที่แตกต่างกัน และบอกลูกให้เชื่อมั่น จงภูมิใจในตัวเอง ความที่หนูไม่เหมือนใคร เป็นพรวิเศษที่พระเจ้าสร้างมาให้

ทุกอย่างลูกควบคุมได้ อะไรที่รบกวนจิตใจ อย่าเก็บมาคิด

เราควรสอนให้เด็กแยกออกว่า สถานการณ์แบบนี้ toxic นะ และเขาสามารถเลือกได้ว่า จะรับหรือไม่ หรือกำหนดขอบเขต ไม่ให้สิ่งนั้น มารบกวนจิตใจได้ 

แต่บางสถานการณ์ ลูกหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้น เขาต้องเข้าใจว่า มันดีกับเราใช่ไหม ถ้าลงไปสู้กับความ toxic 

สุดท้ายไม่ว่า จะทำอะไร ยังไงคนอื่น ก็มีความเห็นกับสิ่งที่เราทำอยู่ดี ลูกต้องรู้ ว่าอำนาจทั้งหมด มันอยู่ที่ตัวเขา ทุกคนมีสิทธิ์เลือก จะฟังหรือไม่ฟัง และโต้ตอบกลับไปแบบไหน 

แต่การที่หลีกเลี่ยง สภาพแวดล้อม toxic ย่อมดีกว่าเสมอ ทั้งหมดที่กล่าวมา ถ้าเด็กมีภูมิคุ้มกันที่มั่นคง เขาจะจัดการปัญหาได้ 

เหตุการณ์คุณครูทำโทษนักเรียน สอนบทเรียนอะไรบ้างให้ผู้ปกครอง

ไม่ใช่เรื่องดีแน่นอนครับ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ครอบครัวหยิบประโยชน์ จากสิ่งนี้มาสอนลูกได้  เป็นโอกาสที่ดี ชวนลูกคิด ถ้าหนูอยู่สถานการณ์แบบนั้น 

หนูจะทำอย่างไร ในโรงเรียนจะแจ้งใครได้บ้าง หนูจะมาบอกคุณพ่อคุณแม่ไหม อย่าปล่อยให้ลูกดูเรื่องพวกนี้เฉย ๆ ฝากคำถามให้พวกเขาด้วย 

แม่ตุ๊กฝากบอกทางบ้าน เลี้ยงลูก ต้องวางอีโก้ลง

พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา บางครั้งบ่นลูก เพราะคิดว่าเขาต้องพึ่งเราอยู่ และเราอยู่เหนือกว่าเขา แต่ต้องเตือนตัวเองเสมอ ไม่ให้ทำอะไรที่เยอะเกินไป 

ไม่เอาอีโก้เป็นที่ตั้ง เลี้ยงเขาด้วยความเข้าใจ ตุ๊กเชื่อว่าเราจะคุยกับลูกได้ตลอดชีวิตค่ะ 

ดร.แพร ย้ำเตือน เราต้องเคารพในความเป็นมนุษย์ของทุกคน 

อย่าปล่อยให้ความรู้สึก ที่เราอยู่เหนือเด็ก ๆ หรือใครก็ตาม เพราะเราอยู่ระดับ สูงกว่าพวกเขา ต้องให้ความเคารพกัน เคารพในความเป็นมนุษย์ ถ้าทำแบบนี้ได้ 

คำพูดที่บั่นทอนผู้อื่น จะไม่หลุดออกจากปากเราเลย ก่อนจะมาเป็นคำพูดมันมาจากความคิดของเรา และทัศนคติ ที่เรามีกับอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเห็นอกเห็นใจกัน อย่าเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ไม่ตัดสินใจแทนผู้อื่น 

ทัศนคตติดี = คำพูดดี 

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ มีทัศคนดติที่ดี แต่อารมณ์ไม่ดีตาม ฝากให้สังเกตความรู้สึกตัวเองนะครับ ถ้าเราเหนื่อย เราเครียด อย่าพึ่งพูดอะไรไป 

ก่อนจะพูดอะไร หรือแนะนำลูก ลองสำรวจดูก่อน เราเข้าใจเขามากแค่ไหน เรารับรู้ปัญหาของเขา แท้จริงไหม บางครั้ง ลูกอาจจะมีวิธีแก้ปัญหา 

เข้าใจทุกอย่างด้วยตัวเองแล้ว เราให้แค่คำชม กำลังใจเท่านั้น และเชื่อมั่นในตัวลูก เขาจะผ่านไปได้


📍รับชม Starfish Trend Talk | EP.1 | : ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก ได้ที่ : bit.ly/3pH9qTo


📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍

✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com

✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com

✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/

✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่

• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz

• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019

• YOUTUBE : Starfish Labz Channel

• INSTAGRAM : www.instagram.com/starfishlabz/

วิดีโอใกล้เคียง

Starfish Trend Talk | EP.1 | :  ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก
38:27
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.1 | : ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก

Starfish Academy
674 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.1 | : ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
375 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต
05:59
Starfish Academy

สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต

Starfish Academy
205 views • 3 ปีที่แล้ว
สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

คอร์สใกล้เคียง

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1211 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1409 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3087 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7765 ผู้เรียน