การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
ตอนนี้บ้านเราเป็น Safe zone ให้ลูกหรือเปล่า? เริ่มสังเกตลูก ๆ ไม่เล่าอะไรให้ฟังเลย Starfish Labz พาคุณพ่อคุณแม่ มาพูดคุยกับคุณแม่นิหน่า นักแสดงและพิธีกร บอกเล่าถึงเรื่องราว การเป็นพื้นที่ปลอดภัยของบ้าน มาหาคำตอบไปพร้อมกัน
และทำความเข้าใจผ่านประสบการณ์จริงของคุณแม่นิหน่าเพื่อเตรียมเป็น Safe zone ให้คนในครอบครัวกันค่ะ
ทุกครั้งที่ลูกเหนื่อย กลับมาบ้านได้เสมอ
ไม่ว่าลูกจะวิ่งเล่นที่ไหน และรู้สึกเหนื่อย อยากพัก เราอยากให้เขากลับมาบ้าน อยากให้บ้านเป็นความรู้สึกที่ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา ครอบครัวยังอยู่ตรงนี้
อยู่ที่บ้าน รอปกป้อง โอบอุ้มเขา เหมือนสมัยเขายังเด็ก
เปิดใจ รับฟัง ไม่ตัดสิน
เมื่อเหล่าคุณแม่อยากเป็น Safe zone ให้ลูก เราต้องพยายามเข้าใจเขาให้มาก ตัวนิหน่าเอง เราบอกกับลูกเลย มีข้อสงสัยอะไรให้มาคุยกับแม่ ส่วนบางเรื่องที่ลงลึกเกินไป นิหน่าจะเล่าเท่าที่ได้ เล่าให้เหมาะกับวัยของเขา
เทคนิคสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ลูก ๆ ทุกครอบครัวทำได้
เริ่มจากการฟัง โดยใช้เทคนิค Deep listening ฟังเรื่องที่ลูกเล่าอย่างแท้จริง
ถึงแม้เรื่องนั้น เป็นเรื่องที่ตกใจมาก เราก็ใจเย็นนิดหนึ่ง อย่าไปขัดเขา ปล่อยให้ลูก
พูดออกมาค่ะ ตามด้วยการตั้งคำถามปลายเปิด ให้เขาเล่า สิ่งที่เผชิญกับอะไรมา
และอย่าลืมตั้งกติการ่วมกัน เราจะเป็น Safe zone ของกันและกันในรูปแบบไหน
ครอบครัว Safe zone อบอุ่นเหมือนไมโครเวฟ
ทุกคนในครอบครัวควรเป็น Safe zone ซึ่งกันและกัน คุณพ่อเองก็ต้องเป็น
Safe zone ที่ดีให้คุณแม่ด้วยนะคะ บางครั้งลูกเขาก็จะมี Safe zone เรื่องบางเรื่อง
พูดกับพ่อดีกว่า และคุณพ่อก็จะมาคุยให้คุณแม่ฟัง บางเรื่องลูกก็คุยกับคุณแม่ และเข้าใจกว่า แต่ที่สำคัญที่สุด คุณพ่อคุณแม่ต้องจับมือกัน ในการตัดสินใจจะทำอะไร
กับลูก ควรร่วมมือกัน จะได้รู้ว่าสิ่งที่เราคิด ผลออกมาเป็นยังไง และเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ลูกเรานะคะ
บ้านแบบนี้ ไม่เซฟใจลูก
ถ้าบ้านไม่ใช่ Safe zone ลักษณะจะเป็นเวลาลูกเล่าอะไร พ่อแม่จะบ่นทันที
แต่ถามว่าพ่อแม่ผิดไหม ไม่ใช่ความผิดของเขานะคะ มันเป็นไอเดียการเลี้ยงลูกที่แตกต่างกัน หรือบางครอบครัว ลูกบอกอะไรไม่ได้เลย ต้องทำตามกฎที่วางไว้ คำพูดที่จะพูดออกไปมันเสี่ยงมากเลยว่าจะถูกอะไรบ้าง เราก็เห็นใจเด็ก ๆ เด็กเขาจะหวาดระแวง ไม่รู้จะทำตัวอย่างไร สุดท้ายพอลูกเขาเจอสถานการณ์แบบนี้ เขาก็ตัดสินใจ ถ้าเกิดอะไรขึ้น ฉันไม่กลับบ้านดีกว่า ไปหาเพื่อน เพราะเพื่อนเข้าใจฉันกว่าเยอะ
สำรวจใจลูก พร้อมช่วยทุกเมื่อ
น้องแพทริก ลูกชายของนิหน่า เขาเป็นเด็กเปิดเผยค่ะ ชอบคุย ถ้าวันไหนเขารู้สึกไม่โอเค เขาจะบอกเราเลย แม่เรื่องมันเป็นแบบนี้นะ และถ้าเขาพูดเมื่อไหร่ เราจะรีบ
คุยทันที ทุกคืนสิ่งที่เราจะทำเป็นประจำกับลูกก่อนนอน ถามเขา วันนี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อะไรดีที่สุดที่เกิดขึ้นในวันนี้ มีอะไรที่ไม่โอเคไหม ถ้าไม่โอเค เขาก็จะเล่าเรื่องของเขาให้เราฟัง
วิธีฮีลใจ ในวันที่คุณแม่รู้สึกไม่ไหว ถอยไปพักสัก 1 ก้าว
ถ้าคุณแม่กำลังเหนื่อยมาก หรืออารมณ์ไม่ดี เวลากลับไปบ้าน แล้วเจออะไรที่เป็นปัญหา ความหงุดหงิดมันจะเยอะขึ้น ผลเสียหายมันสูงมากเลยค่ะ คุณแม่อย่าเพิ่งไปปฎิบัติหน้าที่นะคะ ลองปรึกษากับคุณพ่อก่อน วันนี้แม่ไม่โอเค ขอเวลาสักครึ่งชั่วโมง
แม่จะปรับตัว การรู้สึกว่าเหนื่อย เครียด แล้วฉันต้องเข้าไปทำหน้าที่ ฉันต้องไปดูแลพวกเธอ วิธีคิดแบบนี้มันจะทำให้เราเอง ก็แย่ลง คนที่เจอกับเราคือลูกและครอบครัว เขาก็จะแย่ตามไปด้วย เพราะฉะนั้นถ้าวันไหนคุณแม่รู้สึกว่าวันนี้เหนื่อยจัง พักเบรกก่อนค่ะ
และไม่ต้องรู้สึกผิด
คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมใช้ชีวิต และเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับตัวเอง
เราเป็นแม่ แต่เราก็อย่าทิ้งความฝัน ถ้าเป็นเมื่อก่อนนิหน่ารู้สึกผิดมาก เวลาจะออกไปทำอะไรสักอย่าง เพราะเหมือนเราปล่อยครอบครัวไว้ ตัวอย่างล่าสุดเลยค่ะ ทริปสิงคโปร์ นิหน่าตัดสินใจไปเพราะมันเป็นโอกาส ที่ไม่ได้เข้ามาบ่อย ๆ และเคลียร์กับคนในครอบครัว คุยกันลงตัวแล้ว เราก็ไปลุย และทำสิ่งที่เราอยากทำ พอกลับมาบ้าน ก็ใช้เวลากับครอบครัว มันไม่ใช่ว่าเราไม่ต้องเป็นตัวเอง ถ้าเราตัดทุกอย่าง สุดท้ายความเป็นเรามันจะเล็กลงเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่ามันไม่มีแรงแล้ว สิ่งที่ได้รับผลกระทบก็คือ คนใกล้ตัว ครอบครัวนั่นเอง และเราก็จะกลายเป็นอีกคนที่หมดพลัง
คุณแม่นิหน่าเอาใจช่วยทุกครอบครัว
ให้กำลังใจคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน เพราะว่าการเป็นพ่อเป็นแม่ มันเป็นงานที่ยากที่สุด ตั้งแต่นิหน่าทำงานมา ต้องดูแลสิ่งมีชีวิตตัวน้อย ๆ ที่เขาอยู่ตรงหน้าเรา และก็เปลี่ยนไปตามวัย ซึ่งมันมีโจทย์ใหม่ตลอดเวลาแต่มันก็เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ เต็มไปด้วยความรักที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ สู้ ๆ นะคะ และอย่าลืมความเป็นตัวเราที่เราจะต้องรักษาไว้ ความรักระหว่างพ่อแม่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ความรักในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญ ต้องบาลานซ์
ครูโยฝากกำลังใจถึงทางบ้าน
ทุกอย่างเราไม่จำเป็นต้องทำตามทฤษฎี ในชีวิตจริงให้เป็นไปอย่างที่เราคิดว่าหัวใจเราพาไป ในการใช้ชีวิตกับลูกหรือคนที่เรารัก หัวใจอาจจะนำสมอง แต่บางเรื่องสมองจะนำหัวใจ ความหวังดีอย่างเดียว อาจยังไม่พอ ติดอาวุธไปด้วย หวังดี รักแบบไม่คาดหวัง และการสื่อสารที่ดี แสดงออกถึงความรักต่าง ๆ มันจะทำให้ทุกเรื่องผ่านไปได้อย่างดีงามค่ะ
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่
• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz
• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019
• YOUTUBE : Starfish Labz Channel
• INSTAGRAM : www.instagram.com/starfishlabz/
วิดีโอใกล้เคียง
เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
คอร์สใกล้เคียง
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้