How to ปรับพฤติกรรมลูกเชิงบวกด้วยการสะท้อนคิด
เมื่อพูดถึงเรื่องการพัฒนาตัวเองเพื่ออนาคตแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่า Hard Skill และ Soft Skill ทั้งหลายคือ ทักษะการคิดและรู้เท่าทันอารมณ์ความคิดของตัวเอง
ทักษะสะท้อนความคิด หรือ Self-Reflection เป็นสิ่งที่พ่อแม่ชวนลูกฝึกฝนเพื่อให้พวกเขานำไปพัฒนาตนเองทั้งในด้านอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมได้
การสะท้อนคิดคืออะไร?
การสะท้อนคิดคือการคิดอย่างถี่ถ้วน รอบคอบในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เพิ่งเรียนรู้จากตำรา จากห้องเรียน หรือเรื่องที่ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน
อาจกล่าวได้ว่าการสะท้อนคิดเป็นกระบวนการวิเคราะห์และสะท้อนการกระทำของตน (Reflective Practice) เมื่อได้เรียนรู้หรือมีประสบการณ์ต่อสิ่งต่างๆ ว่าเราเรียนรู้ เข้าใจหรือรับมือกับสิ่งเหล่านั้นได้ดีเพียงใด มีข้อบกพร่องอะไรที่เราได้เรียนรู้ พัฒนา ปรับพฤติกรรมและหาวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประโยชน์ของการสะท้อนคิด
การสะท้อนคิดมีความสำคัญต่อพัฒนาตนเองทุกด้าน เพราะทุกวันนี้มีข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ทุกวัน การที่เด็กๆ มีโอกาสได้สะท้อนคิดของตนเอง จะช่วยฝึกการสังเกต การคิดวิเคราะห์ จัดระบบความคิด เพื่อนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างรอบด้าน นอกจากนี้การสะท้อนคิดยังมีประโยชน์ คือ
- พัฒนาความสามารถในการไตร่ตรองกระบวนการรับรู้ของตน
- ฝึกให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ มองรอบด้าน ไม่ด่วนตัดสินใจซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา
- สามารถระบุอุปสรรคที่พบ เพื่อหาทางแก้ไขได้ตรงจุด
- ทำให้สามารถระบุเป้าหมายได้ชัดเจน
- เป็นการทบทวนตนเองเพื่อให้จุดเด่น จุดด้อยเพื่อนำไปสู่การพัฒนา
พ่อแม่ช่วยลูกสะท้อนคิดได้อย่างไร
การสะท้อนคิดสำหรับผู้ใหญ่ อาจเหมือนกับช่วงเวลาสิ้นปีที่เราทบทวนตัวเองว่าในปีที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้ เติบโต หรือทำผิดพลาดในเรื่องใดบ้าง มีเรื่องใดบรรลุเป้าหมาย มีเรื่องใดต้องพัฒนาต่อ การตั้งเป้าหมายปีใหม่หรือ New Year Resolution ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายที่เกิดจากการสะท้อนคิดในปีที่ผ่านมา
สำหรับพ่อแม่ สามารถนำวิธีที่เราทบทวนตัวเองในวันสิ้นปี มาช่วยฝึกให้ลูกสะท้อนคิดผ่านเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต ประจำวันได้ โดยเริ่มจากตั้งคำถามในเรื่องที่ต้องการชวนให้ลูกสะท้อนคิด ดังนี้
- สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีจุดเด่นเรื่องใด
- เริ่มแรกมีสมมติฐานอะไรกับสถานการณ์นี้ และสมมติฐานนั้นตรงหรือไม่
- มีความเห็นต่อสถานการณ์อย่างไร
- มีวิธีการเผชิญกับสถานการณ์อย่างไร
หลังจากตั้งคำถามชวนคิดแล้ว พ่อแม่สิ่งที่พ่อแม่ทำเพื่อชวนลูกสำรวจพฤติกรรมสะท้อนความคิดได้คือ
1. จดบันทึก
ให้ลูกได้ใช้เวลาคิดวิเคราะห์และเขียนบันทึก โดยไม่ต้องจำกัดว่าต้องเป็นการเขียนเท่านั้น วัยรุ่นที่มีหัวศิลปะ อาจมีสมุดวาดเขียนที่พวกเขาสามารถวาด และจดความคิดและความรู้สึก หรือบางคนอาจชอบสมุดบันทึกที่มีสติกเกอร์และปากกาหลากสี ขอเพียงเป็นการจดที่ลูกได้ทบทวน สะท้อนความคิดของตัวเองไม่ว่าวิธีใดก็ถือว่ามีประโยชน์
2. สำรวจมุมมอง
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ลูกจะเริ่มพัฒนาความสามารถในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองของผู้อื่น การมองและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นอย่างรอบด้าน เป็นทักษะที่ยากและต้องได้รับการฝึกฝน หากวัยรุ่นมีโอกาสพบผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย ก็จะได้เรียนรู้มุมมองที่กว้างขึ้น พ่อแม่ช่วยให้ลูกสำรวจมุมมองที่แตกต่างได้ด้วยวิธีต่างๆ คือ
- หาโอกาสให้ลูกเผชิญโลกกว้าง เช่น การเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ร่วมโปรแกรม Work & Travel หรือพาลูกเข้าร่วมกิจกรรมที่มีผู้คนหลากหลาย
- หาหนังสือที่นักเขียนมีมุมมองแปลกใหม่ หรือกระทั่งมุมมองที่ต่างจากความเชื่อในครอบครัวของเรา ให้ลูกอ่าน และสอบถามว่าลูกคิดอย่างไร
- ชวนลูกเปิดรับสื่อ เช่น เพลง ภาพยนตร์ หรืองานศิลปะ จากหลากหลายวัฒนธรรม เพื่อศึกษามุมมองเหล่าจากวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย
3. ประเมินคุณค่า
หาโอกาสชวนลูกพูดคุยประเด็นต่างๆ ที่ลูกจะได้แสดงความคิดเห็นถึงคุณค่าของสิ่งต่างๆ เช่น หากกำลังดูข่าว วัยรุ่นตั้งครรภ์ อาจถามว่าลูกคิดอย่างไรกับประเด็นเหล่านี้ รับฟังอย่างจริงใจ ไม่ตัดสินความคิดเห็นของลูก แต่อาจให้คำแนะนำอย่างเหมาะสมผ่านการแสดงความคิดเห็นของคุณ เมื่อเห็นว่าความคิดของลูกอาจเป็นอันตรายต่อตัวลูกเอง โดยยึดหลักว่าความคิดเห็นไม่มีถูกผิด แต่สามารถแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุผลได้
การชวนลูกคุยประเด็นต่างๆ ไม่เพียงทำให้พ่อแม่รู้จักและเข้าใจความคิดของลูกมากขึ้น แต่เด็กๆ ยังได้ฝึกสะท้อนคิดขณะที่ตนเองแสดงความคิดเห็นด้วย พ่อแม่อาจใช้คำถามที่แนะนำข้างต้นเพื่อช่วยจุดประเด็นความคิดของลูก ถึงแม้ลูกจะไม่ค่อยตอบโต้ หรือแสดงความคิดเห็น แต่การที่พ่อแม่บอกเล่าความรู้สึก ความเห็น หรือคุณค่าที่คุณยึดถือในชีวิตให้ลูกฟัง ก็จะทำให้ลูกเริ่มคิดตามว่าพวกเขามีความคิดต่อประเด็นเหล่านั้นอย่างไร
หากคุณพ่อคุณแม่สนใจศึกษาวิธีการสะท้อนคิดกับลูกอย่างลงลึก แนะนำหนังสือ ‘สร้างทักษะแห่งอนาคต ด้วย Makerspace และ STEAM Design Process’ ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ทุกบ้านสามารถนำไปปรับใช้ได้
สุดท้ายแล้ว วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน หากพ่อแม่สามารถปลูกฝังวิธีคิดที่เป็นประโยชน์ ก็จะช่วยนำลูกไปสู่เส้นทางชีวิตที่เหมาะสมได้ในที่สุด
แหล่งอ้างอิง (Sources):
Related Courses
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...