แค่ไม่อยากให้ "โรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม" เป็นเพียงความทรงจำที่ดี ตอนที่ 9 "เครือข่ายคุณธรรม"

“การสร้างเครือข่ายคุณธรรม คือการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน อย่างเช่น ผู้ปกครอง เพื่อการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ”
ตอนที่ 9 "เครือข่ายคุณธรรม"
การพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ
ในงานเปิดบ้านคุณธรรม ผมได้มีโอกาสพบคุณหมอท่านหนึ่งซึ่งท่านสนใจกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบมาก จึงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางวิชาการกัน
ผมถามคุณหมอว่า “ทำไมจึงสนใจกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ”
คุณหมอ ยิ้ม
ผมจึงเริ่มเกริ่นนำว่า “โรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1 มีคุณธรรมอัตลักษณ์ 2 มีกิจกรรมส่งเสริมความดี 3 มีส่วนร่วมทั้งระบบ 4 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5 เกิดองค์ความรู้หรือนวัตกรรม และ 6 เป็นแหล่งเรียนรู้”
คุณหมอถามผมว่า “คุณธรรมอัตลักษณ์คืออะไร เพราะตอนแรกเราส่งเสริมเรื่องคุณธรรมเป้าหมาย”
ผมขอบคุณคุณหมอและเรียนท่านว่าเป็นคำถามที่ดีมาก ก่อนที่ผมจะอธิบายว่า “คุณธรรมอัตลักษณ์ คือ คุณธรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล มี 2 องค์ประกอบ คือ คุณธรรมเป้าหมาย กับ พฤติกรรมบ่งชี้ เพราะฉะนั้นคุณธรรมเป้าหมายกับพฤติกรรมบ่งชี้ต้องสัมพันธ์กัน เช่น ของนักเรียนมีคุณธรรมเป้าหมาย คือ ความรับผิดชอบ และกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ คือ เข้าเรียนตรงเวลา คุณธรรมอัตลักษณ์ของนักเรียนคนนี้ ก็คือ เขาเป็นคนที่มีความรับผิดชอบในการเข้าเรียน”
คุณหมอถามผมว่า “ถ้าจะนำองค์ความรู้ไปใช้ในการสร้างอำเภอคุณธรรมจะนำองค์ความรู้อะไรไปใช้ได้บ้าง”
ผมเรียนท่านว่า “องค์ความรู้สำคัญจะมี 3 ตัวหลักๆ คือ การค้นหาคุณธรรมเป้าหมาย การกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ และการสร้างกิจกรรมส่งเสริมความดี ถ้าเทียบกับหลักสากล คือ การตั้งเป้าหมาย วิธีการไปสู่เป้าหมาย และลงมือทำ”
ท่านยิ้มและพยักหน้าตอบรับว่าเข้าใจในสิ่งที่ผมพูด
“กระบวนการขับเคลื่อนต้องแบ่งเป็น 2 มิติคู่ขนาน คือ มิติที่ 1 พัฒนาตัวองค์กร เพื่อปรับสภาพแวดล้อมภายในองค์กร และ มิติที่ 2 พัฒนาตัวบุคคล เพื่อปรับพฤติกรรมของคนในองค์กร ซึ่งทั้งสองมิติมีเป้าหมายเดียวกัน คือ สร้างแรงระเบิดจากข้างใน”
ผมหยุดนิดหนึ่งให้คุณหมอที่กำลังจดบันทึกอยู่ และอธิบายต่อว่า
“การสร้างแรงระเบิดข้างนอก ต้องใช้กระบวนการ 4 สร้าง สร้างที่ 1 สร้างการเรียนรู้ สร้างที่ 2 สร้างการมีส่วนร่วม สร้างที่ 3 สร้างคุณธรรม สร้างที่ 4 สร้างจิตอาสา”
คุณหมอเงยหน้าขึ้นมาจากการจดบันทึกสิ่งที่ผมอธิบาย แล้วบอกผมว่า
“ถ้าจะนำไปทำอำเภอคุณธรรมคงต้องเพิ่มมิติที่ 3 เข้าไป”
“มิติอะไรครับ” ผมถาม
“มิติการพัฒนาเครือข่าย” คุณหมอตอบ
“ผมเห็นด้วยกับคุณหมอเลยครับข้อนี้ เพราะอำเภอเป็นที่รวมหลายหน่วยงาน เราจึงต้องสร้างแรงระเบิดจากข้างนอก”
ผมกล่าวกับคุณหมอ
คุณหมอชวนผมคิดต่อ “ถ้าอย่างนั้นคงต้องสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนทั้งระบบและทุกระดับทั้งภายในภายนอก”
ผมขอให้คุณหมอคิดตาม โดยยกตัวอย่าง “ชมรมผู้ปกครองจิตอาสาของโรงเรียนเป็นผลผลิตของการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบ เริ่มต้นจากการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันก่อน จึงจะเกิดการมีส่วนร่วม เหมือนที่เราเห็น ชมรมผู้ปกครองจิตอาสาจะใช้เวลาว่างๆ เวียนกันมาช่วย ตั้งแต่เริ่มต้นรับนักเรียนเข้าโรงเรียน และเดินตรวจตราภายในโรงเรียน ตอนที่นักเรียนและครูเข้าห้องเรียนแล้ว ผู้ปกครองจิตอาสายังพัฒนาเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ หรือเป็นครูภูมิปัญญาได้อีก นอกจากนี้ ตัวแทนผู้ปกครองจิตอาสายังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่ชี้แจงให้ชุมชนเข้าใจ เรื่องการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมอีกทางหนึ่งด้วย”
คุณหมอถามผมว่า “เราควรจะสร้างการเรียนรู้เรื่องอะไร”
ผมเรียนท่านไปว่า “จำที่ผมพูดตอนต้นได้ไหม องค์ความรู้สำคัญจะมี 3 ตัวหลักๆ คือ การค้นหาคุณธรรมเป้าหมาย การกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ และการสร้างกิจกรรมส่งเสริมความดี เราต้องสร้างการเรียนรู้ 3 ตัวนี้ก่อน มิติการพัฒนาเครือข่ายของคุณหมอจะบรรลุผล”
คุณหมอพยักหน้า มองหน้าผมเหมือนมีความหวัง
ผมจึงกล่าวต่อไปว่า “องค์ความรู้ที่ผมกับคุณหมอแลกเปลี่ยนกันมันมีกระบวนการปลีกย่อยอีกเยอะวันนี้ไม่น่าจะจบ เอาอย่างนี้ ถ้าคุณหมอทำอำเภอคุณธรรมเมื่อไหร่ ผมยินดีมาช่วยครับ”
คุณหมอได้กล่าวขอบคุณผมที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และก่อนจะแยกย้ายคุณหมอบอกผมว่า สัญญาแล้วนะ
“ความทรงจำที่ดี รึจะสู้ ตัวอักษรที่เลือนราง”
-นิรนาม-
บทความใกล้เคียง
แค่ไม่อยากให้ "โรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม" เป็นเพียงความทรงจำที่ดี ตอนที่ 3 "คุณธรรมเป้าหมาย"

แค่ไม่อยากให้ "โรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม" เป็นเพียงความทรงจำที่ดี ตอนที่ 1 "จุดเริ่มต้น"

แค่ไม่อยากให้ "โรงเรียนคุณธรรม จริยธรรม" เป็นเพียงความทรงจำที่ดี ตอนที่ 2 "ระเบิดจากข้างใน"

Related Courses
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...



การจัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (EE)
เพื่อให้นักการศึกษาได้ตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย และประโยชน์ของการศึกษารวมถึงความสำคัญของการบูรณาการของ ...



Environmental Education (EE)
The goal of the course is to explain to educators what environmental education is, what its goal ...



การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน (Ariyasacca Based Learning : ABL)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน เน้นการเรียนรู้บนฐานชีวิตจริงที่ให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยต ...



การจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐาน (Ariyasacca Based Learning : ABL)
Related Videos


การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
![Starfish Country Home School Foundation [ENG]](https://img.youtube.com/vi/eeT-qLyd87U/mqdefault.jpg)

Starfish Country Home School Foundation [ENG]


Covid-19 กับผลกระทบต่อการศึกษาไทย

