สานสัมพันธ์กับลูกด้วยการฟังแบบ Active Listening

Starfish Academy
Starfish Academy 4590 views • 4 ปีที่แล้ว
สานสัมพันธ์กับลูกด้วยการฟังแบบ Active Listening

เราเชื่อว่าพ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่านล้วนอยากจะเป็นที่ปรึกษาของลูก เป็นคนที่ลูกให้ความไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งพิงให้กับพวกเขาเมื่อเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต แต่ลูกอาจไม่ได้ต้องการคำแนะนำหรือวิธีแก้ไขปัญหาเสมอไป เพราะบางครั้งเขาแค่ต้องการคนที่เข้าใจและรับฟังในสิ่งที่เขากำลังรู้สึก หรือเด็กบางคนโดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ อาจสับสนเมื่อเกิดความรู้สึกทางลบขึ้น เพราะยังไม่ค่อยมีคลังคำมาอธิบายความรู้สึกมากนัก การมีคนมาช่วยฟังและจัดระเบียบความคิดจะช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจตัวเองมากขึ้นว่ากำลังรู้สึกอะไร มีสาเหตุมาจากไหน และนำไปสู่การจัดการกับอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ต่อไป ดังนั้น การฟังให้เข้าใจมุมมองของลูกจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ลูกรู้สึกวางใจ กล้าที่จะเปิดใจคุยกับพ่อแม่ ซึ่งการฟังในรูปแบบนี้เรียกว่า “Active Listening”

ขอบคุณภาพจาก freepik

“Active Listening” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การฟังอย่างตั้งใจ การฟังเชิงรุก หรือการฟังแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อทำความเข้าใจความคิด ความรู้สึกของผู้พูด โดยไม่ตัดสินและไม่ประเมินสิ่งที่กำลังฟัง ซึ่งพ่อแม่สามารถใช้การฟังแบบ Active Listening เพื่อสานสัมพันธ์กับลูกได้ด้วยเทคนิคต่อไปนี้

1.เคลียร์ใจตัวเองก่อน โดยวางอคติ ตัวตนและความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นของเราไว้ เพื่อให้พร้อมที่จะรับฟังลูกอย่างเปิดใจ ไม่คิดถึงอดีตที่ผ่านมา หรือเตรียมคำตอบไว้ในใจอยู่แล้ว แต่อยู่กับปัจจุบันเพื่อรับฟังสิ่งที่ลูกกำลังจะพูดจนจบ

2.แสดงออกว่ากำลังตั้งใจฟัง ด้วยการใช้สีหน้าท่าทาง หรือภาษากาย (Body Language) อย่างการสบตาผู้พูด ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นของบทสนทนา (เพราะถ้าสบตามากเกินไป อาจจะกลายเป็นการจ้องจนทำให้เด็ก ๆ กลัวได้) โน้มตัวเข้าหาเด็ก ๆ เล็กน้อย ผงกหัวหรือพยักหน้าระหว่างฟัง อาจจะใช้คำว่า “อ๋อ” “อืม” หรือคำอื่น ๆ ที่แสดงการตอบรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการสื่อสารว่าคุณกำลังให้ความสนใจสิ่งที่เขาพูดและพร้อมที่จะรับฟังเขาอย่างเต็มที่ ซึ่งในบทความ The Skill of Listening โดย The Center for Parenting Education เปรียบเทียบการแสดงออกเหล่านี้ว่าเหมือนกับการซื้อตั๋วหนัง เพราะเราตั้งใจเข้าไปดูและรับฟังเรื่องราวอย่างเต็มที่ โดยไม่ได้ทำอย่างอื่นไปด้วย ไม่ได้ฟังผ่าน ๆ และไม่ได้มีบทบาทเป็นผู้พูดนั่นเอง

ขอบคุณภาพจาก freepik

3. สะท้อนความรู้สึก (Feeling Response) โดยใช้คำว่า “ดูเหมือนจะ” “คล้ายว่า” หรือคำพูดอื่น ๆ ที่บ่งบอกถึงแนวโน้ม หรือเปิดช่องว่างให้เขาสามารถอธิบายต่อได้ มากกว่าการตัดสินว่าลูกต้องรู้สึกแบบนี้อยู่แน่นอน เช่น เมื่อลูกบอกว่า “ใกล้สอบแล้ว เทอมนี้เนื้อหาเยอะมาก อ่านไม่ทันแน่เลย หนูกลัวทำข้อสอบไม่ได้จัง” หากสังเกตจะพบว่า ประโยคนี้ไม่ได้เป็นการขอความช่วยเหลือ หรืออยากจะรู้วิธีแก้ไข แต่เป็นการบอกความรู้สึกให้พ่อแม่รับรู้ ถ้าพ่อแม่ตอบว่า “ไม่ต้องคิดมาก จัดเวลาอ่านดี ๆ สิ” เด็ก ๆ อาจจะรู้สึกเหมือนถูกตอกย้ำ หรือไม่รู้จะพูดอะไรต่อ ซึ่งพ่อแม่สามารถเปลี่ยนมาเป็นการสะท้อนความรู้สึกได้โดยอาจจะใช้ประโยค “ดูเหมือนหนูจะรู้สึกกังวลกับการอ่านหนังสือสอบรอบนี้มากเลย” เด็ก ๆ ก็อาจจะตอบต่อไปว่า “ใช่ค่ะ หนูรู้สึก....” แล้วเริ่มบอกเล่าเรื่องราวเพิ่มเติม ซึ่งไม่แน่ว่าท้ายที่สุดแล้ว เมื่อเขาได้เล่าออกมาจนหมด ก็อาจจะเจอวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง หรือคลายความกังวลใจลงไปได้

4.ทวนเนื้อหาหรือสิ่งที่เด็ก ๆ พูด (Content Response) เป็นการสรุปหรือทวนซ้ำเนื้อหาของสิ่งที่ฟังด้วยภาษาของเราเอง เพื่อตรวจสอบว่าเราเข้าใจ ‘สถานการณ์’ ที่เขาพูดถึงได้ถูกต้องมากน้อยแค่ไหน (แต่ไม่ใช่การพูดซ้ำในสิ่งที่เขาพูด) เช่น “อยู่ดี ๆ พี่ก็มาหยิบขนมของหนูไปกินเฉยเลย หนูไม่ชอบเลย” เป็นธรรมดาที่เราฟังแล้วก็อยากจะตอบว่า “เอาน่า แบ่งให้พี่บ้างเดี๋ยวซื้อให้ใหม่” ซึ่งจริง ๆ แล้วลูกอาจจะไม่ได้อยากได้ขนม แต่รู้สึกไม่ดีที่ถูกแย่งขนมมากกว่า ซึ่งสถานการณ์นี้พ่อแม่ก็อาจจะใช้การทวนสิ่งที่เด็ก ๆ พูดว่า “เอ...หนูรู้สึกไม่โอเคที่พี่หยิบขนมไปโดยไม่ขอก่อนใช่ไหมลูก” แล้วค่อยอธิบายถึงเรื่องการแบ่งปัน หรือความถูกผิดตามมาทีหลัง ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าพ่อแม่ใส่ใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา และเปิดใจฟังสิ่งที่เราจะพูดต่อไป

5.ไม่พูดแทรก หรือคิดเรื่องอื่นระหว่างฟัง ธรรมชาติของผู้ใหญ่ที่ “อาบน้ำร้อนมาก่อน” ฟังยังไม่ทันจบก็อาจจะชวนให้นึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา แล้วเผลอสรุปในใจไปว่าสิ่งที่ลูกเจอคือสิ่งเดียวกับที่เราเคยเจอมาก่อนหรือไม่ก็พูดตัดบทขึ้นมา แต่ลืมนึกไปว่าบริบท ช่วงเวลา และสภาพแวดล้อมที่ลูกเผชิญสถานการณ์นั้น อาจแตกต่างจากเราอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นพยายามฟังให้จบ เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเด็ก ๆ คิดหรือรู้สึกอะไรอยู่ ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่มาคุยทีหลังได้

6.ถามเพื่อความเข้าใจ นอกจากการไม่พูดแทรกแล้ว ถ้าเด็ก ๆ อธิบายออกมาได้ครึ่งหนึ่ง หรือเรายังไม่เข้าใจเรื่องราวทั้งหมด ให้ลองถามหรือขอให้เด็ก ๆ อธิบายเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดตามมา

7.สรุปเรื่องราวทั้งหมด ถ้าไม่ได้เป็นบทสนทนาสั้น ๆ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถปิดท้ายด้วยการสรุปเรื่องราวทั้งหมด เพื่อให้เขารู้สึกว่าเราฟังอย่างตั้งใจตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งการสรุปในที่นี้ไม่ใช่การหาทางออกหรือชี้แนะแนวทาง แต่เป็นการสรุปความคิดและความรู้สึกภาพรวมของเขาที่เรารับรู้จากการฟังทั้งหมด เพื่อให้เขามองเห็นปญหาชัดเจนขึ้นและเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามบางสถานการณ์ อย่างการขอคำปรึกษาเพื่อตัดสินใจเรื่องสำคัญ การขอความเห็นต่าง ๆ หรือขอข้อมูลในเชิงความรู้ พ่อแม่ผู้ปกครองก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่เช่นกัน ดังนั้นการเป็นผู้ฟังที่ดีของลูก จึงไม่มีรูปแบบตายตัว แต่เป็นการใส่ใจเลือกปรับวิธีการฟังให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://centerforparentingeducation.org/library-of-articles/healthy-communication/the-skill-of-listening/#what

https://www.verywellmind.com/what-is-active-listening-3024343

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครื่องมือผู้ปกครอง
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

การจะเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ลูกๆ ต้องการแค่แบบอย่างที่ดี เพราะพ่อแม่คือต้นแบบในการดำเนินชี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ
Starfish Academy

สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ

Starfish Academy
1009 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3082 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6591 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความสำคัญของพัฒนาการ สมรรถนะตามวัย กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เน้นการทำกิจกรร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย
Starfish Academy

พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

Starfish Academy
13211 ผู้เรียน

Related Videos

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
34:16
Starfish Academy

วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

Starfish Academy
37 views • 1 ปีที่แล้ว
วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
363 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
603 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ