3 เทคนิคบ่มเพาะ 'การเห็นอกเห็นใจ (Empathy)' ทักษะแห่งอนาคตที่สำคัญสำหรับเด็ก
โดยทั่วไปแล้ว เด็กๆจะเริ่มรับรู้เรื่องของการเอาใจใส่ได้ต่อเมื่อเขาอายุประมาณ 8-10 เดือน ซึ่งหลังจากนั้น ทักษะด้านการเอาใจใส่ หรือ การเอาใจใส่ผู้อื่น ของพวกเขาจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันอย่างมากหลังจากนี้
สิ่งที่เรารู้คือเมื่อเด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ทักษะการเห็นอกเห็นใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในช่วงกำลังพัฒนา พวกเขาจะมีทักษะในการเอาใจใส่อย่างมากในชีวิตจริง หรือตอนที่พวกเขากลายเป็นผู้ใหญ่ เขาจะกลายเป็นคนที่ดูแลผู้อื่นด้วยความอ่อนโยน เคารพ และเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
ทักษะการเห็นอกเห็นใจหรือทักษะความเข้าใจผู้อื่นมิใช่ทักษะที่คงที่ แต่สามารถปลูกฝังได้ และช่วยกันผลักดันผ่านพี่น้องหรือผู้ใหญ่ที่เปี่ยมด้วยความเอาใจใส่ และยังถือเป็นทักษะแห่งอนาคตที่สำคัญในยุคที่เทคโนโลยีอาจจะเข้ามามีอิทธิพล แต่ก็มิอาจมีวันที่จะทดแทนทักษะทางด้านชีวิตและจิตใจนี้ของมนุษย์
เมื่อถึงจุดนี้ เชื่อว่าหลายคนคงอยากทราบแล้วว่าควรจะทำอย่างไรดีเพื่อจะปลูกฝังทักษะแห่งอนาคตดังกล่าวให้ลูก วันนี้ Starfish Labz มี 3 เทคนิคง่าย ๆ มาฝากกัน จะมีเทคนิคใดบ้างสำหรับการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตอย่างความเห็นอกเห็นใจให้กับลูก มาเริ่มกันเลยค่ะ
1. เป็นตัวอย่างในความเอาใจใส่
ไม่ว่าเมื่อใด มอบความอบอุ่นและความเห็นอกเห็นใจให้ลูกเสมอ ลูกๆ ของคุณกำลังเฝ้ามองสิ่งต่างเพื่อเรียนรู้ และ หาวิธีที่ถูกต้องในการปฎิสัมพันธ์ อย่างที่ทราบกันว่าสิ่งรอบตัวนั้นคือสิ่งที่ทรงอิทธิพลกับตัวลูกๆ ดังนั้นจงเป็นตัวอย่างที่ดีในการให้คุณค่า เอาใจใส่ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงการเห็นอกเห็นใจเมื่อมีคนเสียใจ, เสียขวัญ,สับสน หรือต้องการการช่วยเหลือ เมื่อเด็ก ๆ แสดงความรู้สึกที่ไม่ดี เราจะต้อง “รับรู้”ความรู้สึกของพวกเขา แสดงความห่วงใย และดูแลจนพวกเขาส่งสัญญาณว่าเขาโอเค และพร้อมจะไปทำสิ่งอื่นต่อ
ในขณะเดียวกัน เด็กเล็กๆ นั้นไม่ได้ต้องการเพียงการปลอบประโลม แต่ควรมีการบ่งชี้พวกเขาว่าเขารู้สึกอะไรอยู่ด้วย เมื่อเขาร้องไห้ ก็ถามไถ่ว่าเสียใจหรือ? ให้(พ่อ/แม่) ช่วยอะไรได้บ้าง?
2. รวมความรู้สึก ,ความคิด และ พฤติกรรม เป็นหนึ่งเดียว
“หนูดีรู้สึกเสียใจเพราะมิกกี้เอาของเล่นของหนูดีไป...ลูกว่าทำอย่างไรดีนะ ให้หนูดีรู้สึกดีขึ้น?” เมื่อพวกเขาพูดถึงความรู้สึก ลองโยงกับพฤติกรรมต่างๆ กับความรู้สึก เพื่อให้ลูกๆ ได้เข้าใจเหตุ และสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกับคำถามข้างต้น จะทำให้ลูกๆ เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆได้มากขึ้น หรือมากกว่านั้น สามารถเล่าผ่านนิทาน การแสดงในบ้าน รวมถึงหนังสือ พูดถึงความรู้สึกต่างๆ ของตัวละคร รวมถึงพฤติกรรม และสิ่งที่ตัวละครทำหลังจากนี้
เมื่อคุณเชื่อมโยง รวบรวมสิ่งต่างๆ พวกเขาจะเข้าใจตัวเองเมื่อได้พบเจอกับความรู้สึกต่างๆ ในชีวิตมากขึ้น เช่น เมื่อเห็นตัวละครเศร้าใจ เพราะคิดถึงครอบครัว พวกเขาจะเชื่อมโยงความรู้สึกนั้นเมื่อเขารู้สึกเศร้ากับบางสิ่งที่คล้ายกัน และเข้าใจสิ่งที่ตัวเองรู้สึกได้ดีขึ้น
สำหรับเด็กๆ ที่โตกว่า (5 ปีขึ้นไป) ลองให้พวกเขาได้ลองเข้าไปอยู่ในมุมมองของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็ก แล้วถามว่า “คิดว่าเขากำลังรู้สึกอะไรอยู่? ทำไมเขารู้สึกแบบนั้น? เราจะช่วยเขาอย่างไรได้บ้าง?” ก็นับว่าเป็นเทคนิคของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตอย่างความเห็นอกเห็นใจได้อย่างดีทีเดียว
3. ให้ห้องอบอวลด้วยการเอาใจใส่
ทั้งครอบครัวและคุณครู เราแนะนำให้ช่วยกันสร้างบ้านหรือห้องเรียนที่เต็มไปด้วยความเอาใจใส่ ซึ่งจะสนับสนุนให้พวกเขาเป็นคนที่เอาใจใส่และเข้าใจผู้อื่น ทั้งครอบครัวและเพื่อน ๆ ของเขา
ถ้าลูกของคุณไม่เข้าใจในเรื่องของการเอาใจใส่ ลองสร้างโอกาสที่พวกเขาจะได้เอาใจใส่ผู้อื่นและชี้ให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เขาทำลงไปนั้น สามารถช่วยผู้อื่นอย่างไร เช่น
“เราใจดีมากเลยนะ ที่ได้ช่วยป้าคนนั้นหาแว่นตา พ่อบอกว่าป้าเขาต้องดีใจมากแน่ๆ ที่เราช่วยเขา เก่งมากลูก”
ทักษะแห่งอนาคตอย่างความเอาใจใส่ที่ดีนั้น สามารถทำให้เด็กๆ อยู่ในสังคมภายนอกได้ ซึ่ง พ่อแม่ ครู ผู้ปกครอง หรือแม้แต่พี่น้อง สามารถที่จะมีส่วนช่วยในการเป็นตัวแปรสำคัญเพื่อพัฒนาสิ่งนี้ได้
ขอบคุณแหล่งที่มา:
Related Courses
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...