ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษในวัยเรียน

วสันต์ วรรณรัตน์
วสันต์ วรรณรัตน์ 2299 views • 4 ปีที่แล้ว
ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษในวัยเรียน

เมื่อบุตรหลานขึ้นชั้นเรียนระดับประถมไปแล้ว เราจะพบว่ามีรายงานจากครูประจำชั้นถึงพฤติกรรมของบุตรหลาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการเรียน ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน การคำนวณ หรือแม้แต่พฤติกรรมในชั้นเรียนก็ตาม ปัญหาที่พบ เช่น เด็กไม่สามารถเรียนได้ทันเพื่อนในระดับชั้นเดียวกัน อ่าน คำ วลี หรือประโยคสั้น ๆ ไม่ได้หรือได้แต่ไม่ถูกต้อง เขียนคำพื้นฐานในบทเรียนไม่ได้ บวกเลขที่มีการทดไม่ได้ ลบเลขที่มีการยืมไม่ได้ เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่บุตรหลานของเราก็มีพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างจากเด็กวัยเดียวกัน พูดจาฉะฉาน กลับมาบ้านสามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนได้ หรือในบางกรณีคุณครูแจ้งว่า เด็กก้าวร้าว ไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถทนรออะไรได้ ต้องลุกเดินไปมา วิ่ง เหม่อลอย แกล้งเพื่อนบ่อยครั้ง งานไม่เรียบร้อย งานไม่เสร็จตามเวลา ลืมง่าย หงุดหงิดง่าย เป็นต้น ไม่ว่าจะด้วยพฤติกรรมการเรียน หรือพฤติกรรมในชั้นเรียนก็ตาม ต่างก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ปกครองเกิดความกังวลทั้งสิ้น และส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะรีบปฏิเสธถึงพฤติกรรมเหล่านั้น ไม่เชื่อ และไม่พร้อมจะรับฟังในทันที

ผมจึงอยากจะแนะนำให้ผู้ปกครองทุกท่าน ลองหยุดคิด และใจเย็น ๆ ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ได้รับจากคุณครูอาจจะฟังแล้วทำให้เรารู้สึกแย่ แต่ต้องรับฟัง เนื่องจากคุณครูอยู่กับเด็กเป็นเวลาหลายชั่วโมง และเด็กมีเพื่อนในวัยเดียวกันในชั้นเรียน ทำให้คุณครูมองเห็นความแตกต่างของบุตรหลานได้ง่ายขึ้น โดยผู้ปกครองอาจจะใช้วิธีที่ผมแนะนำ ดังนี้ 

1. เปิดใจรับฟัง เมื่อได้รับข้อมูลจากคุณครู ไม่ว่าจะติดต่อผ่านทางช่องทางใดก็ตาม ขอให้ผู้ปกครองหยุดรับฟัง และเก็บข้อมูลที่คุณครูให้นั้นกลับมาพิจารณา ในขั้นนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อทุกอย่างที่คุณครูแจ้ง เราสามารถค้านได้ แต่ขอให้เก็บความค้านนั้นไว้ในใจก่อน และรับข้อมูลจากคุณครูให้มากที่สุด ผู้ปกครองสามารถสอบถามพฤติกรรมต่าง ๆ เพิ่มเติมจากคุณครูได้

2. สังเกตพฤติกรรมเพิ่มเติม เมื่อได้รับข้อมูลต่าง ๆ จากคุณครูแล้วให้สังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานว่ามีพฤติกรรมที่แสดงออกตรงกับที่คุณครูแจ้งหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องพฤติกรรมการเรียน ผู้ปกครองสามารถนำชิ้นงาน หรือแบบฝึกหัดของบุตรหลานมาพิจารณาประกอบได้ หรือสามารถทดสอบเบื่องต้นง่าย ๆ ได้ เช่น ใช้หนังสือแบบเรียนของเด็กมาให้เด็กอ่านให้ฟัง หรือเขียนคำตามคำบอกลงในกระดาษ เป็นต้น

3. ทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ เมื่อสังเกตพฤติกรรมเพิ่มเติมแล้วพบว่าบุตรหลานไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว เหมือนที่คุณครูแจ้ง ควรติดต่อประสานงานกับคุณครูและให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้คุณครูตรวจสอบและสังเกตพฤติกรรมต่อไป เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่าพฤติกรรมที่บุตรหลานแสดงออกมานั้นเกิดจากปัจจัยกระตุ้นอื่น จะได้หาแนวทางช่วยเหลือเด็กต่อไป แต่ถ้าผู้ปกครองสังเกตเพิ่มเติมแล้วพบว่ามีพฤติกรรมเช่นเดียวกับที่คุณครูแจ้ง ควรให้ข้อมูลย้อนกลับกับคุณครู และพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ตรวจสอบพฤติกรรมเสี่ยงนั้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ชัดเจน เชื่อถือได้ รวมทั้งเป็นการยืนยันข้อมูลจากอีกฝ่ายหนึ่ง

4. ตัดสินใจและเปิดใจยอมรับ เมื่อได้ข้อมูลทุกส่วนทั้งข้อมูลทางโรงเรียน ข้อมูลทางบ้าน และข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ทั้งสามส่วนยืนยันพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดขึ้นตรงกัน ผู้ปกครองควรตัดสินใจยอมรับในพฤติกรรมที่เกิดขึ้นว่าส่งผลต่อการเรียนของบุตรหลานโดยตรง

5. หาแนวทางช่วยเหลือทางการศึกษาร่วมกับครูและนักสหวิชาชีพ มาถึงขั้นตอนนี้ผู้ปกครองควรเปิดใจยอมรับ และมองหาแนวทางในการช่วยเหลือ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพฤติกรรมว่าควรได้รับการช่วยเหลือในระดับใดบ้าง และควรมีบุคคลใดเข้ามาเกี่ยวข้องกับแนวทางการช่วยเหลือนี้ สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือบุตรหลานให้เห็นผลพัฒนาที่ดีขึ้น ทุกฝ่ายต้องเห็นไปทางเดียวกัน ยอมรับในวิธีทางที่จะช่วยเหลือร่วมกัน ในส่วนของแนวทางการช่วยเหลือนี้ผมจะขอกล่าวในบทความถัดไปครับ

กล่าวโดยสรุป เมื่อผู้ปกครองได้รับข้อมูลพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุตรหลานจากโรงเรียนขอให้รับฟังข้อมูลเหล่านั้น นำมาสังเกตบุตรหลานเพิ่มเติม หาข้อมูลเพิ่มเติม และหาแนวทางช่วยเหลือร่วมกัน เพราะถ้าพบว่าเด็กมีความต้องการพิเศษจริงและปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การช่วยเหลือในระยะยาวยากยิ่งขึ้น ส่งผลทำให้เด็กคุ้นชินกับสภาพที่ตัวเองกำลังเผชิญ มองว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่ยอมปรับพฤติกรรมในที่สุด อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันและมองเห็นไปทางทิศทางเดียวกัน

สำหรับบทความนี้ เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผม และพร้อมที่จะถ่ายทอดให้เป็นแนวทางแก่ท่านผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านที่ได้เข้ามาอ่าน บทความนี้อาจช่วยให้ท่านเข้าใจบุตรหลาน เข้าใจโรงเรียน และเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้นนะครับ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

คุณธรรมและจริยธรรม
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7762 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1394 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3082 ผู้เรียน

Related Videos

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
226 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
175 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
605 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
กลุ่มเด็กพิเศษ : การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและกลุ่มเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ
03:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มเด็กพิเศษ : การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและกลุ่มเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
358 views • 3 ปีที่แล้ว
กลุ่มเด็กพิเศษ : การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและกลุ่มเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ