ช่วยหรือเฉย? เมื่อเห็นเพื่อนถูกบูลลี่ หยุดความรุนแรงอย่างไร ไม่ให้ภัยถึงตัว

Starfish Labz
Starfish Labz 1626 views • 7 เดือนที่แล้ว
ช่วยหรือเฉย? เมื่อเห็นเพื่อนถูกบูลลี่ หยุดความรุนแรงอย่างไร ไม่ให้ภัยถึงตัว

เมื่อเกิดเหตุการณ์กลั่นแกล้งกัน คนทั่วไปมักจะนึกถึง ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ เท่านั้น เพราะเป็นสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีการกลั่นแกล้ง โดยเฉพาะในโรงเรียนอาจไม่ได้มีเพียงแค่ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเท่านั้น แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องทางอ้อมกับเหตุการณ์นั้นด้วย นั่นคือ ผู้อยู่ในเหตุการณ์ 

ทุกคนตระหนักดีว่า ผู้ถูกกระทำหรือถูกกลั่นแกล้ง ย่อมได้รับผลกระทบโดยตรงไม่ว่าจะบาดเจ็บทางกาย หรือ จิตใจ ที่ต้องได้รับการเยียวยาดูแล แต่หลายคนอาจลืมตระหนักว่า ผู้เห็นเหตุการณ์ โดยเฉพาะที่ยังอยู่ในวัยเรียน ก็อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์เหล่านี้เช่นกัน ยิ่งหากว่าผู้ตกเป็นเหยื่อ เป็นเพื่อนหรือคนรู้จักกับผู้เห็นเหตุการณ์ ก็อาจทำให้เด็กๆ ที่เห็นเหตุการณ์เหล่าน้ัน เกิดความกังวล หวาดกลัว รู้สึกผิด ไปจนถึงก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

บทความนี้ Starfish Labz ชวนมาสำรวจอีกด้านหนึ่งของการบูลลี่ ที่ผู้เสียหายอาจไม่ได้มีแค่เหยื่อ แต่ร่วมถึงผู้เห็นเหตุการณ์ด้วย 

ความรุนแรงในโรงเรียนไทยกับจิตใจเด็กวัยเรียน 

รายงานผลวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ที่ทำการสำรวจกลุ่มเด็กเยาวชนจำนวน 150,000 คนทั่วประเทศ พบว่าเด็กนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ปวช. และ ปวส. 1 ใน 10 หรือประมาณ 70,000 คน ตกอยู่ในวังวนของการใช้ความรุนแรง การใช้กำลังกันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน และ cyberbullying ซึ่งหลายครั้งนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง ผลกระทบของความรุนแรงในโรงเรียน อาจกินวงกว้างกว่าที่หลายคนคาดคิด เพราะนอกจากเหยื่อความรุนแรงแล้ว ผู้เห็นเหตุการณ์ก็อาจตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางอ้อมได้ เราคงเคยเห็นภาพเด็กนักเรียนถูกรุมทำร้ายในห้องเรียน โดยมีเพื่อนร่วมชั้นรับรู้เหตุการณ์แต่กลับไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วย เพราะกลัวโดนลูกหลงไปด้วย ภูมิคุ้มกันทางใจของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ในจำนวนเด็กๆ ที่เห็นความรุนแรงเกิดขึ้นต่อหน้า บางคนอาจมีคำถามในใจที่ไม่รู้จะถามใครเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น บางคนอาจหลงผิดว่าความรุนแรงคือทางออก ขณะที่บางคนอาจรู้สึกผิดและโทษตัวเองที่ไม่สามารถช่วยเพื่อนได้ การศึกษาในต่างประเทศพบว่า เด็กๆ ที่เห็นเหตุการณ์อาจได้รับผลกระทบทางจิตใจไม่ต่างจากผู้ตกเป็นเหยื่อเอง โดยอาจมีทั้งความวิตกกังวลถึงความปลอดภัยของตัวเอง รู้สึกผิด ไปจนถึงซึมเศร้า 

Bystander Effect ช่วยช้าเพราะว่ารอตัวหาร

เวลาที่เราเห็นคลิปความรุนแรงในโรงเรียน มักพบว่า มีนักเรียนคนอื่นรับรู้เหตุการณ์มากมาย แต่กลับไม่มีสักคนที่ยื่นมือเข้าช่วยเหยื่อที่กำลังโดนรังแก เป็น

เพราะเด็กๆ ที่มุงดูนั้นไร้หัวใจ หรือเป็นเพราะพวกเขาไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรกันแน่?

เราอาจอธิบายพฤติกรรมมุงดูความรุนแรงโดยไม่ช่วยเหลือ ได้ด้วยปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Bystander Effect ที่ว่าด้วยเมื่อเกิดความรุนแรงและมีกลุ่มคนมากกว่า 1 คนมุงดู มีความเป็นไปได้ว่าการช่วยเหลือจะล่าช้า เมื่อเทียบกับมีผู้เห็นเหตุการณ์เพียงคนเดียว

เพราะเมื่อมีผู้เห็นเหตุการณ์หลายคน กลุ่มคนมักรู้สึกว่าพวกเขามีความรับผิดชอบร่วมกัน ถ้าไม่มีใครออกโรง คนอื่นๆ ก็มักไม่ทำอะไร หรือหากเป็นภาษาพูดก็คือ รอคนร่วมหารความรับผิดชอบนั่นเอง ขณะที่หากมีคนเห็นเหตุการณ์เพียงคนเดียว บุคคลนั้นจะรู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบของตนเพียงลำพังที่ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อหยุดความรุนแรงนั้น 

หากจะใช้คำกล่าวที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมเพื่ออธิบายปรากฏการณ์นี้ก็คงไม่ผิดนัก เพราะมนุษย์มักสังเกตท่าที พฤติกรรมของคนอื่นๆ ก่อนที่จะลงมือทำอะไร เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของตนเองในกรณีที่ไม่มีใครออกตัวช่วยเหลือ กลุ่มคนที่มุงดูก็หาเหตุผลที่ชอบธรรมให้กับตนเองได้ว่าก็คนอื่นไม่ทำอะไร ทำไมเราต้องออกตัวด้วย แม้จะฟังดูโหดร้าย แต่จะว่าไปแล้วนี่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ

ช่วยหรือเฉย เมื่อเห็นเพื่อนถูกบูลลี่

เพราะความรุนแรงเกิดขึ้นได้รอบตัว แม้กระทั่งในโรงเรียน หากวันหนึ่งเด็กๆ พบเห็นเพื่อนถูกบูลลี่ แน่นอนว่าพ่อแม่คงไม่ต้องการให้ลูกเข้าไปข้องเกี่ยว แต่ในทางกลับกันลองคิดว่าหากเด็กที่ตกเป็นเหยื่อคือลูกของเรา เราก็คงต้องการใครสักคนที่จะยืนหยัดอยู่เคียงข้างและช่วยให้ผู้ถูกรังแกนั้นปลอดภัย 

สิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือการสอนลูกให้รับมืออย่างเหมาะสมเมื่ออยู่ในเหตุการณ์ความรุนแรง สิ่งที่เด็กๆ ควรรู้เพื่อการรับมือที่ถูกต้อง มีดังนี้

  • คุยกับเพื่อนที่ถูกบูลลี่ การกลั่นแกล้งในโรงเรียน มักไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียวจบ แต่เกิดต่อเนื่องหลายครั้ง เมื่อมีโอกาสลองพูดคุยกับเพื่อนที่ถูกกลั่นแกล้ง ชวนมาทำกิจกรรม ด้วยกัน รับฟังปัญหาของพวกเขาโดยไม่ตัดสิน แสดงให้เห็นว่าเราห่วงใย บางครั้งการไม่ผลักไสเหยื่อให้อยู่ลำพัง ก็ถือเป็นการช่วยวิธีหนึ่ง
  • บอกผู้ใหญ่ แม้จะเป็นเรื่องของเด็กนักเรียนที่แกล้งกัน แต่หากมีฝ่ายหนึ่งต้องเจ็บตัว เจ็บใจ อับอายจากการถูกกลั่นแกล้ง ก็ควรแจ้งให้ผู้ใหญ่ ครู พ่อแม่ผู้ปกครองรับทราบ เลือกผู้ใหญ่ที่ไว้ใจและรับฟัง เพื่อขอคำแนะนำและหาทางออกที่เหมาะสม
  • ยืนหยัดร่วมกัน ชวนเพื่อนๆ ที่เห็นตรงกันว่าความรุนแรงไม่ใช่ทางออก และการบูลลี่เป็นสิ่งผิด มายืนหยัดร่วมกัน ยิ่งมีจำนวนมากเท่าไรเสียงของเราก็ยิ่งมีน้ำหนัก และเป็นเกราะป้องกันตนจากการถูกกลั่นแกล้งได้ 
  • ให้ความรู้ บ่อยครั้งการบูลลี่เกิดขึ้นเพราะความแตกต่างหลากหลาย เช่น LGBTQ หรือผู้ที่มีเชื้อชาติต่างจากเรา มีความเชื่อต่างจากเรา ชวนเพื่อนๆ ในห้องทำกิจกรรมให้ความรู้ ถึงโลกยุคใหม่ที่เปิดรับความแตกต่างหลากหลาย ก็เป็นวิธีสร้างความเข้าใจทางอ้อม ที่อาจช่วยลดพฤติกรรมบูลลี่ในโรงเรียนได้ 

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะช่วยเหลือเพื่อนที่ถูกบูลลี่ ความปลอดภัยของตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญ หากไม่มั่นใจว่าเราจะได้รับผลกระทบหรือไม่ ควรรอปรึกษาผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ว่าควรทำอย่างไร อย่างน้อยการไม่นิ่งนอนใจของเราก็ถือเป็นความกล้าหาญแล้วไม่ควรเผชิญหน้ากับคนที่กลั่นแกล้งเพียงลำพัง แต่ควรแจ้งให้ครูหรือผู้ปกครองทราบถึงแผนการแก้ปัญหาของเรา 

แหล่งอ้างอิง (Sources) :

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

การดูแลสุขภาพใจเด็กประถมศึกษา

ในคอร์สนี้เป็นการดูแลสุขภาพใจของเด็ก เพราะการมีสุขภาพใจที่ดีนั้นส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ทำให้อารมณ์ดี สามารถจัดการภาวะอาร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การดูแลสุขภาพใจเด็กประถมศึกษา
Starfish Academy

การดูแลสุขภาพใจเด็กประถมศึกษา

Starfish Academy
อาชีพเสริมยอดฮิต
การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง
basic
0:30 ชั่วโมง

วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล

ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ทั้งโซเชียลมีเดีย การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดการเวลาจึงเป็นทั ...

Starfish Labz
Starfish Labz
วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล
Starfish Labz

วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล

Starfish Labz
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1225 ผู้เรียน
Technology Skills
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1849 ผู้เรียน

Related Videos

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
310 views • 1 ปีที่แล้ว
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
Starfish Trend Talk | EP.1 | :  ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก
38:27
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.1 | : ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก

Starfish Academy
678 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.1 | : ครู VS พ่อแม่ แท็กทีมสื่อสารอย่างไร ? ดีต่อใจเด็ก
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
1295 views • 2 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
EP:1 Chef’s Table Eat & EDUCATE How to พ่อแม่ยุคใหม่ ทำงานเก่ง เลี้ยงลูกเป็นเลิศ
30:00
Starfish Labz

EP:1 Chef’s Table Eat & EDUCATE How to พ่อแม่ยุคใหม่ ทำงานเก่ง เลี้ยงลูกเป็นเลิศ

Starfish Labz
3244 views • 1 ปีที่แล้ว
EP:1 Chef’s Table Eat & EDUCATE How to พ่อแม่ยุคใหม่ ทำงานเก่ง เลี้ยงลูกเป็นเลิศ