Skill for the Future ทักษะอะไรบ้างที่ช่วยให้ลูกอยู่รอดในโลกใหม่

ลูกไม่เจอสังคมเป็นเวลานาน การพัฒนาหล่นหาย การเรียนรู้ถดถอย แต่ทุกอย่างกลับสวนทาง มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทักษะ 108 ผุดขึ้นมาเต็มไปหมด เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทางบ้านก็อดเป็นห่วง ลูก ๆ ไม่ได้

วันนี้ StarfishLabz ได้พูดคุยกับ ดร.แพร CEO Stafish Education และคุณแม่บี นักจัดการความรู้อาวุโส สถาบันอุทยานการเรียนรู้

เพื่อแนะแนวทาง ถึงทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต ในวันที่โลกไม่เคยหยุดนิ่ง ภายใต้หัวข้อ Skill for the Future ทักษะอะไรบ้างที่ช่วยให้ลูกอยู่รอดในโลกใหม่ มาร่วมค้นหาคำตอบไปพร้อมกัน 

เมื่อลูกกลับเข้าโรงเรียนอีกครั้ง ทักษะต่าง ๆ จะเริ่มรีเซตใหม่ 

พอลูกกลับไป On-Site สิ่งที่เราเห็นชัดคือ เขาได้กลับไปหาเพื่อน จริง ๆ เรื่องเรียนน่าจะเป็นเรื่องรอง แต่ว่าการที่กลับไปหาเพื่อน กลับไปเล่นกีฬา ได้มีปฏิสัมพันธ์ 

กับคนที่อายุรุ่นเดียวกัน เขาก็จะรู้สึกมีความสุขการที่เด็กอยู่บ้านนาน ๆ เขาไม่ได้กลับไปเรียน จะเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น เรื่องของพัฒนาการ เรื่องของการเรียนรู้ที่อาจหายไปบ้าง 

ดร. แพร ในมุมของผู้บริหารโรงเรียน ศึกหนักเมื่อคุณครูและนักเรียน

ต้องกลับไป On-Site คือเราก็เข้าใจโรงเรียนด้วย เพราะต้องเตรียมทุกอย่าง ต้องทำตามความคาดหวัง ของทุกคนได้ ต้องดูเรื่องความปลอดภัย ต้องดูเรื่องการเรียน ครูเองก็ต้องจัดทั้ง  On-Site ได้ เรา  On-Site 100% ก็ไม่ได้หมายความว่า จะมีเด็กมาได้ครบ ครูก็ต้องจัด Online บ้าง Offline บ้าง คือต้องไฮบริด คุณครูเตรียมเยอะมาก โรงเรียนเตรียมเยอะมาก ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่โรงเรียนเอง คุณครูเอง พ่อแม่เอง ได้เรียนรู้ ได้ปรับตัว แต่ท้ายที่สุดแล้ว รู้สึกว่า การที่ได้กลับมาอย่างนี้ มันก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด มีมาตรการในการจัดการ เรื่องของความปลอดภัยอีกขั้นหนึ่ง แต่ว่าตอนนี้จริง ๆ โรคมันก็อาจจะ ไม่ได้รุนแรงอย่างช่วงแรก ๆ คิดว่าน่าจะดีขึ้น

ลูกเบบี้ของแม่ปู ลืมตาดูโลกได้ 2-3 วัน โควิดก็ระบาด

คุณแม่ปูเล่าให้ฟัง ตอนนี้ลูก 2 ขวบแล้ว 2 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์โควิด ลูกเราต้องกักตัวอยู่กับบ้านอย่างเดียว ได้ออกนอกบ้านเฉพาะช่วงที่ไปโรงพยาบาล ไปฉีดวัคซีน สิ่งที่สูญหายไป กับวัยของเขา 2 ปีแรก ไม่ได้เล่นกับเพื่อน ไม่ได้เล่นกับญาติ

พี่น้อง แต่ยังดี ที่บ้านเป็นครอบครัวขยาย เขาได้อยู่กับ ปู่ย่า ตายาย พี่ป้า น้าอา ส่วนกับเด็กวัยเดียวกันไม่ได้พบเลย 

จูงมือตัวน้อย เรียนรู้ทักษะนอกบ้าน ทำความรู้จักสังคม

ตอนนี้สถานการณ์คลี่คลาย​ โรงเรียนเริ่มเปิด Nursery เริ่มมี คอร์สต่าง ๆ ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนจัดได้ เราเลยพาลูกไปแหล่งเรียนรู้สาธารณะ ห้องสมุด TK Park สิ่งที่เกิดขึ้นกับลูก เขาไม่เคยเจอคนวัยเดียวมาก่อน พอไปแล้ว เราเห็นจุดอ่อนหลายอย่าง ของลูกเลยว่า ทักษะทางสังคมมันหายไป รวมถึงกติกา ที่เขาจะมีต่อผู้อื่น การเล่นด้วยกัน การรู้จักรอ มันหายไปหมดเลย เขาไม่รู้จักความเป็นเจ้าของ เขาไม่รู้ว่าสิ่งนี้ของใคร พี่ถือหนังสือ ถือของเล่นอยู่ อันนี้ของพี่นะ แต่ไม่ใช่ของเรา เขาก็จะไม่เข้าใจ  ไปห้องสมุดสาธารณะ เวลาที่ไปเจอเบาะ ที่เขาอยากนั่ง แต่มีเด็กคนอื่นนั่งอยู่ เขาก็จะรู้สึกอยากนั่งตรงนี้ เขาก็ไปทำหน้าดุใส่น้อง ไปไล่น้อง หรือว่าเวลาได้ของเล่น มาจากห้องสมุด แล้วมานั่ง เขาจะระแวง เดี๋ยวคนนู้นจะแย่งหรือเปล่า คนนี้จะแย่งหรือเปล่า ตอนนี้เหลือเวลาอีกแค่ 1 ปี ที่เด็กจะต้องเข้าสู่ โรงเรียนจริง ๆ กลายเป็นว่าเราต้องใช้เวลา 1 ปีที่เหลือ เพื่อที่จะเติมเต็มทักษะ ที่เขาขาดหายไปในช่วงโควิด ให้เขาพร้อมที่จะเข้าสู่ โรงเรียนอนุบาลจริง ๆ 

เรื่องการเรียนรู้ของลูก คุณครูและพ่อแม่ต้องร่วมมือกัน

พอมีโควิด ครูเตรียมทุกอย่างให้นักเรียน แต่คุณพ่อแม่ลงมือสอน คุณพ่อคุณแม่ กลายเป็นครูขึ้นมาซะอย่างนั้นเลย บทบาทของผู้ปกครอง กับโรงเรียนมีความเปลี่ยนไป เปลี่ยนไปในแง่ดีนะ และเราก็รู้สึกว่า มันควรจะเป็นสิ่งที่เรา ควรจะคงไว้ต่อไป ประสบการณ์เด็กหนึ่งคน เขาไม่ได้แยกหรอก อันนี้เป็นภาระของคุณครู อันนี้เป็นภาระของคุณพ่อคุณแม่ เขารู้สึกว่าประสบการณ์ในหนึ่งวัน ของเขาเนี่ย จะมีผู้ใหญ่คอยดูแลเขา และผู้ใหญ่ที่คอยดูแลเขา มีหลักการในดูแลเขาเหมือนกัน เขาก็จะใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น แล้วก็เข้าใจกฎกติกา ความคาดหวัง และสิ่งต่าง ๆ ที่เขาควรจะทำตลอดวัน

ผู้ปกครองกับโรงเรียน ต้องสื่อสารกับเด็ก ๆ ไปในทางเดียวกัน 

ถ้าผู้ใหญ่ไม่คุยกัน ประสบการณ์ของเด็ก เขาจะมีความไม่เหมือนกัน เช่น คุณแม่ให้ทำแบบนี้ได้ คุณพ่อให้ทำแบบนี้ได้ คุณครูไม่ให้ทำแบบนี้นะ เขาก็จะเรียนรู้ช่องโหว่ต่าง ๆ แล้วเด็กเขาจะสามารถ เอาช่องโหว่ตรงนี้ มาเป็นข้อต่อรอง  ในการที่จะทำตัวไม่อยู่ในกติกา หรือว่าไม่ยอมที่จะทำอะไรตามที่ควรจะเป็นและบางครั้งผู้ใหญ่ก็จะเห็นว่า อันนี้คือความดื้อของเด็ก แต่จริง ๆ แล้วเขาฉลาด คือเด็ก เขาหาช่องของเขาแหละ 

คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ต้องหยุ่นตัวให้ทันโลก 

เพราะว่าโลกมันหมุนเร็ว อันนี้ส่วนตัว รู้สึกว่าการศึกษาในระบบ ไม่ได้เตรียมลูกเรา ให้พร้อมกับโลกข้างนอก ซึ่งไม่ได้เป็นเฉพาะในไทย เป็นทั่วโลก ระบบการศึกษา

มันแข็งตัว เพราะฉะนั้นเราเอง ที่เป็นพ่อแม่ เราอยากจะช่วยลูก ให้เขาแบบเกิดการ

เรียนรู้ 1. เอาตัวรอด 2. มีความสุข 3. ทำอะไรเพื่อคนอื่น ให้สังคมด้วย คือเราอาจจะมองแค่นี้ แต่กว่าลูกจะทำได้ทั้งหมด มันก็ไม่ง่าย ทักษะใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอด เราเองก็ต้องอัปเดต แล้วก็พยายาม ที่จะเติมให้ลูกเรา ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเรื่องเหนื่อย แต่ว่าในความเหนื่อย เราก็รู้ว่า เรากำลัง ทำสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกเรา ในสิ่งที่เราทำได้ ไม่ว่าลูก

จะอายุเท่าไหร่ มันก็เป็นเวลาที่ดีที่สุด ที่เราจะได้ให้เขา ได้มี Quality Time กับเขา 

ได้ช่วยเขาส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ไม่มีโอกาสไหน ที่ดีกว่าตอนนี้

การศึกษาไม่มีขอบเขตจำกัด 

เดิมทีผู้ปกครองมองว่า การศึกษาเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเท่านั้น แต่จริง ๆ การเรียนรู้มันไม่ได้แค่ไปเรียนหนังสือ แต่ว่าทุกย่างก้าวของชีวิต ทุกที่ทุกทาง มันเกิดการเรียนรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เด็กอยู่ที่โรงเรียนแค่ 7-8 ชั่วโมง มันไม่ถึงครึ่งวันด้วยซ้ำ แค่ประมาณหนึ่งส่วนสาม โรงเรียนมีความเชี่ยวชาญ และความชำนาญในการสอน เน้นเรื่องทักษะที่เกี่ยวกับความคิด เพราะว่าสอนด้านวิชาการ แล้วก็ช่วยเสริมเรื่องทักษะ ทางสังคมเวลาเด็กเขาไปเจอกัน แต่โลกนี้มีทักษะอีกหลากหลาย  ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง ที่พ่อแม่เองก็ต้องดูแล หรือทักษะกระบวนการคิด จริง ๆ มันเกิดขึ้น อยู่ตลอดเวลาระหว่าง เดินทางกลับจากโรงเรียน ได้เจอผู้คน พบเห็นสถานการณ์ต่าง ๆ 

เราสามารถหยิบยกตรงนั้น มาเป็นกระบวนการที่หล่อหลอมความคิด และช่วยพัฒนาการเติบโตของเขาได้

Makerspace สร้างบรรยากาศ ส่งเสริมการเรียนรู้

Makerspace เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่ง ที่สร้างบรรยากาศให้กับผู้เรียน มีทรัพยากรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ สามารถใช้พื้นที่นี่เรียนรู้สิ่งที่เขาสนใจ 

ในเชิงวิชาการ ก็คือ มันมาจากการที่เราเชื่อว่า ความรู้หรือทักษะ ไม่สามารถจะเป็นสิ่งที่ถูกสอนได้ ต้องเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเอง เพราะฉะนั้นเราก็จะสร้างสภาพแวดล้อมไว้ให้เด็กเข้าไปสร้างองค์ความรู้ สร้างทักษะเอง 

โรงเรียนบ้านปลาดาว ต้นแบบของ Makerspace ในเมืองไทย 

ห้อง Makerspace มีหลากหลายรูปแบบ ไฮเทคก็มี เด็กสามารถทำ Coding ทำ Multimedia ต่าง ๆ นอกเหนือจากความไฮเทค มันเป็นความใกล้ตัว Real Life Learning ถ้าเด็กเขาสนใจ การทำอาหาร สนใจงานช่าง การเย็บผ้า เราก็เปิดพื้นที่ให้ เลยเป็นที่มา ของการที่เราสร้าง Markerspace ให้กับเด็ก ๆ ที่โรงเรียนบ้านปลาดาว

ความแตกต่างของ Makerspace ที่โรงเรียนบ้านปลาดาว กับที่อื่น  ๆ เรานำ STEAM DESIGN PROCESS เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งกระบวนการ มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน 

แต่ใน 5 ขั้นตอนนี้จริง ๆ มันแฝงเป็นกระบวนการ Design Thinking ให้เด็กเขาเริ่มเป็น

ผู้คิด แล้วก็เริ่มมาจาก อยากจะแก้ปัญหา หรือว่าสนใจอะไรบางอย่าง เริ่มตั้งแต่กระบวนการถาม กระบวนการจินตนาการ วางแผน ลงมือทำ และมีการคิดสะท้อนออกแบบใหม่ Reflect and Redesign วนลูปไปแบบนี้  Markerspace ทำให้เห็นว่าการเรียนรู้ที่มีความจริง ๆ มันเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กแล้วเกิดขึ้นได้จริงในที่ของเขา 

ที่ไหนบนโลกใบนี้ ก็สร้าง Makerspace ให้เด็ก ๆ ได้

ดร. แพร เล่าเสริมให้ฟังว่า Concept ของ Makerspace ตอนแรก 

ทำกับโรงเรียน ซึ่งเรานำกระบวนการ นำแนวคิด ไปช่วยโรงเรียนในการ Set up Makerspace ที่อยู่ในประเทศไทย  และมองว่าการจัดการเรียนรู้แบบนี้ มันสามารถ 

เกิดขึ้นที่บ้านได้ เพราะว่า จริง ๆ เราไม่ได้ต้องการพื้นที่เยอะ อย่างเด็ก ๆ ที่โรงเรียนบางทีเขาก็มีห้องเล็ก ๆ หรือว่าแค่โต๊ะ อุปกรณ์ก็จะอยู่ในกล่อง อันนี้ก็เป็นนวัตกรรมที่เราทำ  คือ Makerspace มันก็จะสามารถอยู่ในคลาสอุปกรณ์ หรือในช่วงโควิด เราเอากล่องให้เด็กไป โดยใส่อุปกรณ์ทุกอย่าง เขาสามารถที่จะทำได้ แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องมี คือผู้อำนวยความสะดวก ในการเรียนรู้ หรือว่าคุณพ่อคุณแม่ ที่เข้าใจกระบวนการ 

ช่วยไกด์ แต่ใช่ไม่บอกให้ทำนะคะ ช่วยตั้งคำถามกระตุ้นต่าง ๆ ช่วยเตรียมอุปกรณ์ ดูแลในเรื่องของความปลอดภัยต่าง ๆ สำหรับเด็กเล็ก 

สรุปแล้ว Makerspace ทำได้ทั้งในโรงเรียนไทย โรงเรียนต่างจังหวัด โรงเรียน

บนดอย แล้วก็ทำได้ในบ้าน ไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านใหญ่ หรือว่ามีเงินเยอะ เป็นบ้าน

เล็ก ๆ เป็นบ้านที่อยู่บนดอย เป็นบ้านในหมู่บ้าน ก็ทำได้หมด 

จริง ๆ หัวใจของ Makerspace ต้องบอกเลยว่า ไม่ใช่แค่เรื่องสถานที่ แต่เป็นเรื่องกระบวนการ แต่ถ้าบางคนไป Makerspace ที่อื่น เอ๊ะ ทำไมไม่มี STEAM DESIGN PROCESS เพราะว่ามันไม่ใช่กระบวนการของทุก Makerspace แต่ว่ามันเป็นกระบวนการที่เราคิดค้นขึ้นมา มันเป็นกระบวนการเรียนรู้ นอกจาก Makerspace ที่เราไป

เสิร์ชรูปใน Google ก็จะเห็นบรรยากาศเด็กฝรั่ง มีของเยอะมาก แต่ตอนนี้เราจะเริ่ม

เห็นว่า มันมีบริบทไทย ๆ ที่ทำได้จริง ทำได้ในโรงเรียนไทย โรงเรียนต่างจังหวัด โรงเรียนบนดอย แล้วก็ทำได้ในบ้าน ไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านใหญ่ หรือว่ามีเงินเยอะ เป็นบ้าน

เล็ก ๆ เป็นบ้านที่อยู่บนดอย เป็นบ้านในหมู่บ้าน ก็ทำได้หมด 

STEAM DESIGN PROCESS สอนเด็ก ๆ ให้เปิดกว้างทางความคิด 

STEAM DESIGN PROCESS เป็นการบูรณาการหลาย ๆ ศาสตร์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และมีศิลปะเข้าไปด้วยเพราะว่าประสบการณ์ของเด็ก ไม่เหมือนผู้ใหญ่ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ ใช้กระบวนการ STEAM DESIGN PROCESS ฝึกให้เด็กเลือกที่จะทำอะไรบางอย่างด้วยตัวเอง ให้อิสระ เช่น ลูกอยากทำเค้กแปลก ซึ่งเรารู้แล้วว่า ทำไม่ได้หรอก เราก็ไม่พูด ให้เขาได้ลองประสบการณ์ด้วยตัวเอง คือจริง ๆ มันแทบจะไม่ได้ใช้ ทรัพยากรเยอะขึ้น และยังเปลี่ยนวิธีการ ที่คุณพ่อคุณแม่ มีปฏิสัมพันธ์กับลูกได้ด้วย 

Makerspace + STEAM DESIGN PROCESS เอกลักษณ์เฉพาะของโรงเรียนบ้านปลาดาว 

Makerspace เราจะไม่ได้มองว่า สิ่งที่ลูกทำออกมา มันดีที่สุด มันสำเร็จแล้ว

แต่เราจะใช้ ขั้นตอนสุดท้ายของ STEAM DESIGN PROCESS คือ Reflect & Redesign เราจะให้ฟีดแบคกับเด็ก ๆ ให้พวกเขาได้ทบทวน ถ้าฉันมีของมากกว่านี้ 

ฉันคิดแบบนี้ มันจะเปลี่ยนไปไหม มันจะดีขึ้นไหม ซึ่งตรงนั้น มันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก 

มันไม่เหมือนกับวิธีการคิดสมัยก่อน เมื่อก่อน เวลาเรามาถึงจุดสุดท้าย ของการเรียนรู้ เราจะถูกตัดสินทันที ถูกผิด ดีไม่ดี ได้กี่คะแนน 5 เต็ม 10 เราก็รู้สึกเฟลแล้ว ก็ 5 คะแนนไปตลอดชีวิต แต่ว่ากระบวนการนี้ มันทำให้เราบอกว่า 5 คะแนนคราวนี้ไง ก็ Redesign คิดใหม่ ลูปใหม่ มันเหมือนเป็นการเรียนรู้ แล้วเด็กเอง ก็จะเป็นเด็กที่ใฝ่หา Feedback 

เพื่อที่จะพัฒนาตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ บางทีเราเติบโตมาไม่ได้ถูกฝึกแบบนี้ พอมีใครมาติชม เราก็จะเริ่มแบบว่า ว่าฉันเหรอ ไม่ชอบ หงุดหงิด แต่เด็กเขาจะไม่เป็น เพราะเขาถูกฝึกมาตั้งแต่เด็ก เขาอยากพัฒนา เขาอยากจะดีกว่านี้ 

ความห่วงใยถึงเหล่าคุณพ่อคุณแม่ จาก ดร. แพร

กำลังใจเป็นเรื่องสำคัญ คิดว่าตอนนี้ ทุกคนต้องการ ยุคนี้ การเป็นคุณพ่อคุณแม่ไม่ง่าย มีทั้งความกังวล และความเครียด มันมีความท้าทาย เกิดขึ้นตลอดเวลา 

เพราะฉะนั้น เรื่องของการที่เราต้องให้กำลังใจ ซึ่งกันและกัน มีความยืดหยุ่น ให้มากนะคะ ส่วนตัวพยายาม ไม่ค่อยยึดติด กับอะไรเกินไป เพราะว่าบางที เรายึดติดอะไร

มาก ๆ พอมันเปลี่ยนปุ๊บ มันก็เหมือนเราแข็งตัว ไม่สามารถที่จะปรับตัวได้ทัน มันไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเรา แล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับลูก ทุกคนต้องพยายามที่จะเรียนรู้ แล้วก็ให้โอกาสซึ่งกันและกัน ในการเรียนรู้ ในการทำงาน ในการอยู่ด้วยกัน เป็นครอบครัว 

เป็นกำลังใจให้กับทุกคน ให้ผ่านพ้นไปให้ได้นะคะ

คุณแม่ปู เป็นห่วงหลายบ้าน จัดตารางเรียนพิเศษของลูก ๆ แน่นมาก

อยากชวนคุณพ่อคุณแม่ มองเรื่องความสมดุลในชีวิตด้วย พอเรามองว่า โอ้โหโลกหมุนไวจัง มีสิ่่งท้าทาย ต้องเผชิญเยอะแยะ ลูกจะต้องมีทักษะ ร้อยแปดพันเก้า ความกดดันเกิด หลายครอบครัว มุ่งแต่ลูกต้องเรียนรู้ เด็กอนุบาลบางคน กลับจากโรงเรียน ไปเรียนพิเศษต่อ เด็กวัยเท่านี้ เขาต้องแบกรับอะไรบ้าง จุดสมดุลที่อยากให้มองก็คือ เผื่อพื้นที่สำหรับ การเติบโตตามช่วงวัยเขาบ้าง ให้เขาอยู่ว่าง ๆ บ้าง  จริง ๆ ความว่าง ความเบื่อก็มีประโยชน์ ของมันนะ พอเด็กเบื่อ เขาจะหาอะไรทำ เขาจะคิดริเริ่ม อยากทำโน่นอยากทำนี่ แต่ถ้ามันเหนื่อยล้า เต็มไปด้วยการเรียนเต็มไปหมด ความสร้างสรรค์ มันไม่ไหวแล้ว มันไม่เกิด เว้นสเปซที่เราจะให้เขา แสวงหาตัวตนของเขา ความต้องการของเขา ทำงานอดิเรกบ้าง มองถึงประสบการณ์ชีวิต ไปเดินตลาด ไปเดินชุมชน ขึ้นรถเมล ไม่ต้องมุ่ง ถึงประโยชน์ทางการศึกษา อย่างเดียวก็ได้ ถ้าเกิดว่าเรา จัดสิ่งแวดล้อมในชีวิต จัดปัจจัยต่าง ๆ ให้มันอยู่ในความปกติ เด็กเขาจะมีทางเติบโต ของเขาเอง เพียงแต่ว่า เราไม่ใส่ปัจจัยอะไร ที่มันเป็นแง่ลบ 


📍 ดูเนื้อหาแนวโน้มอาชีพในอนาคต เพิ่มเติมได้จาก

✅ เทรนด์โลกอนาคตและอาชีพที่จะเปลี่ยนไป : bit.ly/3MILbO1

✅ 5 ทักษะแห่งปี 2030 สร้างข้อได้เปรียบให้ลูก ก้าวสู่อาชีพใหม่ในอนาคต : bit.ly/3OseXrb

📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍

✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com

✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com

✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/

✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่

• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz

• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019

• YOUTUBE : Starfish Labz Channel

• INSTAGRAM : www.instagram.com/starfishlabz/

วิดีโอใกล้เคียง

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
1269 views • 2 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
104 views • 2 ปีที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่
30:00
Starfish Academy

เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่

Starfish Academy
253 views • 2 ปีที่แล้ว
เราควรเลี้ยงลูกแบบไหน? แบบเพื่อน vs แบบพ่อแม่
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร
31:53
Starfish Academy

ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

Starfish Academy
898 views • 1 ปีที่แล้ว
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

คอร์สใกล้เคียง

ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1841 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เด็กรุ่นใหม่ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และต้องมีทักษะอะไรบ้างเพื่อรองรับกับอ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เจาะลึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
Starfish Academy

เจาะลึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

Starfish Academy
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1877 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

รวมมิตร เทคนิค เด็ดๆ การทำ Visual Note

คอร์สเรียนนี้ จะเป็นการรวบรวมเทคนิค ในการออกแบบ Visual Note เพื่อการจัดรูปแบบเนื้อหา ให้ได้ประเด็น มีใจความที่อ่านง่ ...

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์
รวมมิตร เทคนิค เด็ดๆ การทำ Visual Note
แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

รวมมิตร เทคนิค เด็ดๆ การทำ Visual Note

แพร เวธนี คงปลื้มจิตต์

ต้องใช้ 100 เหรียญ