Summer Flu เมื่ออากาศร้อนจัด ทำให้ป่วย
แม้ไม่ใช่หน้าฝน แต่ช่วงนี้หลายคนก็มีอาการไข้หวัด จามไม่หยุด มีน้ำมูก ปวดหัว บางคนก็อาจมีไข้ร่วมด้วย โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ใช้เวลาช่วงปิดเทอมทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเดินทางไปสังสรรค์กับเพื่อนหรือไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัว สภาพอากาศที่ร้อนจัดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ป่วยไข้ได้ เพราะนอกจากแดดที่แรงจัดแล้ว ยังมีเชื้อโรคและฝุ่นควันในอากาศที่อาจทำให้เด็กๆ เจ็บป่วยได้
บทความนี้ Starfish Labz มีข้อมูลเกี่ยวกับ Summer Flu หรือไข้หวัดในหน้าร้อน เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองเตรียมตัวดูแลบุตรหลานให้ห่างไกลจากอาการเจ็บป่วย
Summer Flu เมื่ออยู่ๆ ความร้อนทำให้ป่วย
หลายคนอาจคิดว่าอาการไข้หวัด เกิดขึ้นเพราะอุณหภูมิที่ต่ำลง หรือพบได้บ่อยในหน้าฝน แต่ความจริงแล้ว ในฤดูร้อนที่อากาศร้อนจัด ก็อาจทำให้เราเป็นไข้หวัดได้เหมือนกัน Summer Flu ไข้หวัดแดดเป็นโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อไข้หวัด ผนวกกับการเผชิญอากาศร้อนจัดหรือเมื่อต้องเผชิญสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน จนร่างกายปรับตัวไม่ทันและสะสมความร้อนไว้ภายใน โดยเฉพาะหน้าร้อนในเมืองไทย ที่อากาศร้อนอบอ้าวมาก อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีจากภาวะโลกร้อน ยิ่งทำให้ผู้ที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อน หรือกลางแดด แม้เพียงระยะเวลาไม่นานก็อาจเป็นไข้หวัดแดด ผนวกกับความร้อนชื้นของอากาศเมืองไทยก็ทำให้เชื้อโรคมีอายุอยู่ได้นานขึ้โดยการเจ็บป่วยจากภาวะอากาศร้อน เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม 4 ข้อด้วยกัน คือ
- อุณหภูมิของอากาศที่ร้อน
- ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่สูงขึ้น
- การอยู่กลางแจ้งหรืออยู่ในที่ที่อาจได้รับรังสีความร้อน
- สภาวะที่มีลมหรือการระบายอากาศน้อย
รู้ได้อย่างไร ว่าอาการนี้ใช่ ไข้หวัดแดด
Summer Flu หรือไข้หวัดแดด มักเกิดขึ้นหลังจากทำกิจกรรมกลางแจ้งหรืออยู่ในสถานที่ร้อนอบอ้าว ตามปัจจัย 4 ประการข้างต้น ซึ่งอาการของไข้หวัดแดดที่พบได้บ่อยคือ
- มีไข้ต่ำๆ ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส
- รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว
- ปวดหัวเป็นระยะๆ บางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรน
- วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด
- อ่อนเพลีย
- ริมฝีปากแห้ง ในปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ
- รู้สึกขมในปาก รสชาติอาหารเปลี่ยนไป บางคนมีอาการเบื่ออาหาร
- บางคนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ตาแห้ง ตาแดง ปวดกระบอกตา
ไข้หวัดทั่วไป ต่างอย่างไรกับ ไข้หวัดแดด
การสังเกตว่าเป็นไข้หวัดแดด หรือไข้หวัดธรรมดาทั่วไปดูได้จากไข้หวัดทั่วไป มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะร่วมด้วยแต่สำหรับไข้หวัดแดด มักไม่ค่อยมีน้ำมูกหรือมีน้ำมูกใสๆ เพียงเล็กน้อย ไข้หวัดแดดจะไม่มีอาการเจ็บคอแต่อาจรู้สึกขมปาก คอแห้งและแสบคอ
ดูแลร่างกายให้ห่างไกลไข้หวัดแดด
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นไข้หวัดแดด คือ เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ นอกจากนี้วัยรุ่น ที่เล่นกีฬา ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือเข้า-ออกระหว่างสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศและอากาศภายนอกที่ร้อนจัดตลอดทั้งวัน ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นไข้หวัดแดดได้เช่นกัน หากอยู่กลางอากาศร้อนนานๆ ควรนั่งพักในที่ร่ม อากาศถ่ายเทเพื่อให้ร่างกายปรับอุณหภูมิสักพัก ก่อนเข้าในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ การดูแลตัวเองในช่วงหน้าร้อนเพื่อให้ห่างไกลจากไข้หวัดแดด คือ หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดโดยตรง ควรพกร่ม หมวก หรือมีผ้าบางๆ ไว้คลุมศีรษะและใบหน้าเมื่ออยู่กลางแดด ควรเลือกสวมเสื้อผ้าสีอ่อนที่อากาศถ่ายเทได้ง่าย ที่สำคัญคือ ควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
แหล่งอ้างอิง (Sources) :
Related Courses
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...
สารพัดวิธีรับมือ และเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ
ความแปรปรวน ของสภาพอากาศโลกและภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่มีความรุนแรงขึ้น จึงมีความจำเ ...
วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล
ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ทั้งโซเชียลมีเดีย การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดการเวลาจึงเป็นทั ...
5 เทคนิคเลคเชอร์ ให้จำได้ ทบทวนบทเรียนแบบง่ายๆ
อยากเกรด A ต้องทำยังไง? คอร์สนี้มีคำตอบกับ 5 เคล็ดลับ! สุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ยาวนาน ทบทวนสนุก สมองปลอดโปร่ง ...