Introvert หรือกลัวสังคม พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรเมื่อวัยรุ่นเก็บตัว

Starfish Labz
Starfish Labz 2723 views • 11 เดือนที่แล้ว
Introvert หรือกลัวสังคม พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรเมื่อวัยรุ่นเก็บตัว

อาการเก็บตัวในวัยรุ่น หากจะถือเป็นพฤติกรรมปกติตามวัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะวัยนี้ เป็นช่วงที่เด็กกำลังสร้างตัวตน และแยกออกจากพ่อแม่ ระยะห่างที่กว้างมากขึ้นในวัยนี้จึงอาจถือว่าเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม หากวัยรุ่นดูเหมือนไม่ค่อยมีเพื่อน และใช้เวลาส่วนใหญ่ตามลำพัง พ่อแม่อาจต้องสังเกตพฤติกรรมว่ามาจากสาเหตุใด เพราะโดยทั่วไปแล้ว แม้วัยรุ่นจะค่อยๆ ออกห่างจากพ่อแม่ และต้องการเวลาส่วนตัว แต่พวกเขายังคงให้เวลากับเพื่อนอยู่เช่นเดิม หากลูกวัยรุ่นของคุณดูเหมือนจะเก็บตัวมากกว่าเด็กทั่วไป มีความเป็นไปได้สองทางนั่นคือ

ลูกอาจเป็น Introvert ที่ไม่ชอบเข้าสังคม แต่ไม่ได้มีผลเชิงลบต่อพัฒนาการอารมณ์ จิตใจ หรืออีกกรณีก็คือ ลูกอาจมีอาการ Social Anxiety โรคกลัวสังคม ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ บทความนี้ StarFishLabz ชวนทำความรู้จัก และเข้าใจความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมเก็บตัวแบบ Introvert และโรคกลัวสังคม ว่าต่างกันอย่างไร เพื่อให้พ่อแม่รู้เท่าทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของวัยรุ่น 

Introvert คืออะไร หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า Introvert กันมาบ้าง โดยคำนี้ เป็นคำที่ใช้เรียกบุคลิกภาพของมนุษย์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับ Extrovert โดยคำว่า Introvert-Extrovert นั้นเป็นทฤษฎีที่คาร์ล จุง นักจิตวิทยาชื่อดังชาวสวิส ได้คิดค้นขึ้นมาเพื่ออธิบายบุคลิกภาพ 2 แบบ ที่เห็นได้ชัดของคนเรา นั่นก็คือ บุคลิกภาพแบบ Extrovert คือ ผู้ที่ชอบสังสรรค์ เฮฮา มีมนุษยสัมพันธ์ เข้าสังคมเก่ง กับอีกแบบหนึ่งที่ตรงกันข้ามกันนั่นก็คือ Introvert ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีบุคลิกเงียบเฉย ไม่ชอบเข้าสังคม เก็บตัว นอกจากนี้มีการสำรวจ ความคิด พฤติกรรมของผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ Introvert แล้วพบว่า Introvert ส่วนใหญ่มีลักษณะร่วมกันดังนี้ 

  • มีสมาธิและทำงานได้ดีกว่าเมื่ออยู่คนเดียว
  • พูดน้อย ฟังมากกว่าพูด และไม่ค่อยเริ่มสนทนากับใครก่อน
  • อึดอัดเมื่ออยู่ใกล้หรือต้องพูดคุยกับคนแปลกหน้า
  • ชอบใช้เวลาทำสิ่งที่ตนสนใจเพียงลำพัง
  • Introvert เข้าสังคมได้ ทำงานกับคนจำนวนมากได้ แต่มักรู้สึกเหนื่อยและใช้พลังงานมากกว่าปกติ ทำให้หลังจากเสร็จงาน มักเก็บตัวเพื่อชาร์จพลังให้ตัวเอง
  • ไม่ชอบความขัดแย้ง หรือยุ่งยากด้านความสัมพันธ์ จึงมักไม่ค่อยคุยกับคนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ขี้หงุดหงิด

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ ก็คือ Introvert เป็นบุคลิกภาพ ไม่ใช่โรค หรือความผิดปกติทางจิต แต่เป็นบุคลิกลักษณะนิสัย เหมือนคนที่ชอบเข้าสังคม คนที่ชอบพูดคุย ก็เป็นบุคลิกแบบหนึ่ง ส่วนการไม่ชอบพูด ชอบอยู่คนเดียวก็เป็นบุคลิกภาพรูปแบบหนึ่งเช่นกัน เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ตัวตนของลูกค่อยๆ ชัดเจน พ่อแม่อาจพบว่าจากที่เคยพูดเก่ง ลูกเริ่มเก็บตัว ไม่ค่อยคุย ทำแต่กิจกรรมที่ตนเองสนใจ แต่อย่างน้อยๆ ก็ยังมีกลุ่มเพื่อนสนิท ที่ยังไปมาหาสู่ ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งหากพ่อแม่พบว่าลูกเก็บตัวกว่าเดิม แต่ยังคงคบเพื่อนปกติ กินข้าว ไปเที่ยว ทำกิจกรรมต่างๆ เหมือนเดิม ก็ไม่น่ากังวลอะไร 

Social Anxiety เมื่อการเก็บตัว น่ากลัวกว่าที่คิด การเก็บตัวของวัยรุ่น อาจมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะบุคลิกภาพเอง ที่เป็นคน Introvert เก็บตัวเพราะความเครียดจากการเรียน ผิดหวังจากความรัก ซึ่งอาจเป็นแค่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไปจนถึงการเก็บตัวเนื่องจากเป็นโรคกลัวสังคม โรคกลัวสังคมหรือ Social Anxiety เป็นความรู้สึกหวาดกลัวอย่างมากที่เกิดขึ้นในจิตใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม พบเจอคนแปลกหน้าหรือสถานการณ์ใหม่ๆ ผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคมมักรู้สึกว่าตนเองจะถูกมองในเชิงลบ จนรู้สึกประหม่า เสียความมั่นใจ และเพราะความกลัวที่มากมายนี่เอง ทำให้ผู้ที่มีอาการกลัวสังคม จะหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน ไม่พบหน้าใคร และเก็บตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาการที่เห็นได้ชัดของโรคกลัวสังคม ได้แก่

  • กลัวถูกตัดสินจากสังคม และคนที่พบเจอ
  • กังวลว่าตัวเองจะทำเรื่องน่าอับอาย
  • มีความกลัวขั้นรุนแรงเมื่อต้องพบเจอ พูดคุยกับคนที่ไม่รู้จัก
  • กลัวว่าคนอื่นจะมองออกว่าตนเองมีความกังวล
  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ตนเองจะกลายเป็นจุดสนใจ
  • คาดหวังถึงสิ่งเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อต้องเข้าสังคม 

ทั้งนี้อาการกลัวสังคม เป็นภาวะที่พบได้บ่อย 1 ใน 3 ของวัยรุ่น โดยมักพบได้บ่อยระหว่างอายุ 13-18 ปี ทำให้พ่อแม่อาจสับสนระหว่างพฤติกรรมเก็บตัวของวัยรุ่นทั่วไป และการเป็น Introvert จนทำให้อาการกลัวสังคมไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที คนที่เป็นโรคกลัวสังคมมักหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น สิ่งนี้นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ลดลง ไม่มีเพื่อน โดดเดี่ยว แม้จะรู้ตัวว่าความวิตกกังวลของตนเองไม่มีเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถหลุดจากความกลัวและกังวลได้ด้วยตนเอง อาการทางกายภาพอาจค่อยๆ รุนแรงขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เช่น เมื่อต้องเข้าสังคมตามปกติทั่วไปในชีวิตประจำวัน ก็ยังเครียดและกังวลมากจน คลื่นไส้ อาเจียน ตัวสั่น หน้าแดง เหงื่อออกมากกว่าปกติ เป็นต้น

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Introvert และ Social Anxiety ผู้ปกครองอาจใช้ตารางต่อไปนี้ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพ Introvert กับอาการกลัวสังคม ดังนี้ 

หากสงสัยว่าอาการเก็บตัวของลูกอาจมาจากโรคกลัวสังคม ควรพาลูกเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ ซึ่งการรักษามักจะผสมผสานจิตบำบัดและการใช้ยา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความถี่ของอาการ อาจมีการใช้การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT) มุ่งเน้นไปที่การระบุและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความคิดและพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลทางสังคม ค่อยๆ ทำให้วัยรุ่นเผชิญกับความกลัวในลักษณะที่ควบคุมได้ ซึ่งช่วยให้พวกเขาจัดการกับความวิตกกังวลได้ อาจมีการใช้ยาเพื่อเพิ่มการควบคุมอารมณ์หรือรักษาแบบผสมผสานระหว่างการบำบัดและการใช้ยา เพื่อให้วัยรุ่นกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติที่สุด 

แหล่งอ้างอิง (Sources) :

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1225 ผู้เรียน
Analytical Skills/Cognitive Skills
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน

อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
Technology Skills
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1889 ผู้เรียน

Related Videos

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
310 views • 1 ปีที่แล้ว
108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
EP:1 Chef’s Table Eat & EDUCATE How to พ่อแม่ยุคใหม่ ทำงานเก่ง เลี้ยงลูกเป็นเลิศ
30:00
Starfish Labz

EP:1 Chef’s Table Eat & EDUCATE How to พ่อแม่ยุคใหม่ ทำงานเก่ง เลี้ยงลูกเป็นเลิศ

Starfish Labz
3244 views • 1 ปีที่แล้ว
EP:1 Chef’s Table Eat & EDUCATE How to พ่อแม่ยุคใหม่ ทำงานเก่ง เลี้ยงลูกเป็นเลิศ
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
80 views • 2 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
178 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก