เราเป็นพ่อแม่ที่กดดันลูกเรื่องเรียนอยู่หรือเปล่า
เรื่องการเรียนของลูก กับ ความคาดหวังของพ่อแม่เป็นสองสิ่งที่พบเห็นได้ทุกยุคสมัยปฏิเสธไม่ได้ว่ากระทั่งพ่อแม่ที่ปล่อยวางที่สุด ลึกๆ ก็ยังแอบหวังเรื่องผลการเรียนลูกอยากให้ลูกเก่ง อยากให้ลูกอยู่อันดับต้นๆ ของห้องหรือโรงเรียน
เพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่เชื่อว่า คนที่มีผลการเรียนดี คนที่เก่งกว่า ย่อมมีโอกาสมากกว่า ยิ่งพ่อแม่เชื่อเช่นนี้มากเท่าใด ความคาดหวังที่วางลงบนบ่าของลูกก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าพ่อแม่จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามไม่ผิดที่พ่อแม่ปรารถนาดีต่อลูก แต่ความปรารถนาดีนั้นจะเป็นปัญหาทันทีที่พ่อแม่ผู้ปกครองใช้ความหวังดี เป็นข้ออ้างในการวางความหวังที่ไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงลงบนชีวิตของเด็กๆ
เด็กวัยเรียนต้องเคยเผชิญกับความเครียดช่วงใกล้สอบเป็นปกติแต่ความเครียดจะยิ่งทวีคูณหากพ่อแม่ผู้ปกครองคาดคั้นหรือกดดันมากเกินไป ไม่ว่าจะด้วยการส่งไปเรียนพิเศษจนไม่มีเวลาเป็นของตัวเองหรือคอยกำกับให้อ่านหนังสือ จนไม่มีเวลาพักผ่อนบทความนี้ StarfishLabz ชวนพ่อแม่มาทำความเข้าใจผลร้ายจากการเร่งเรียนรวมถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กๆ ถูกกดดันด้านการเรียนมากเกินไป
แบบไหนที่เรียกว่า “เรียนหนัก”
อ่านหนังสือถึงเที่ยงคืนทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนสอบ แม้จะฟังดูหนักแต่ก็เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ และเกิดขึ้นได้เป็นปกติสำหรับวัยรุ่นวัยเรียนที่มักจะทุ่มเทเวลาอ่านหนังสือช่วงใกล้สอบแต่หากอ่านหนังสือเที่ยงคืนทุกวันก่อนหน้านั้นก็เรียนพิเศษจนค่ำ เสาร์อาทิตย์ก็ไม่ได้พักเพราะต้องติวยาวๆ ไม่ใช่เฉพาะช่วงสอบแต่ตลอดทั้งเทอมหนำซ้ำยังรวมช่วงปิดเทอมด้วยแบบนี้อาจเข้าข่ายเรียนหนักเกินไป
อย่างไรก็ตามคำว่าเรียนหนักของแต่ละคนอาจไม่เท่ากันบางคนอ่านหนังสือ 3 ชั่วโมงก็รู้สึกว่ามากเกินไป ขณะที่บางคนอ่านหนังสือยาวๆ ได้ครึ่งวันเพราะฉะนั้นเราจึงไม่อาจระบุชัดๆ แบบฟันธงได้ว่าเรียนหนักคือกี่ชั่วโมงต่อวันเพราะเรียนหนักสำหรับแต่ละคนอาจไม่เท่ากันวิธีที่พ่อแม่ผู้ปกครองรวมทั้งผู้เรียนใช้สังเกตว่าการเรียนกำลังกลายเป็นสิ่งกดดันในชีวิตหรือไม่ดูได้จากเมื่อใดก็ตามที่การเรียน อ่านหนังสือ เรียนพิเศษ ติวสอบ เริ่มส่งผลกับร่างกายเชิงลบ เช่น ทำให้อ่อนล้า นอนไม่พอ ขาดแรงกระตุ้น ไม่มีความคิดสร้างสรรค์รู้สึกไร้ชีวิตชีวานี่ก็อาจเป็นสัญญาณว่ากำลังเรียนหนัก หรือถูกกดดันเรื่องการเรียนมากเกินไป
ข้อมูลจาก thesavytutor.com ระบุว่านักเรียนไม่ควรทุ่มเทเวลาติวหนังสือ เรียนพิเศษ มากเกินกว่า 50% ของเวลาว่างหมายความว่าหากระหว่างโรงเรียนเลิกจนถึงเวลาเข้านอนมีเวลาว่าง 6 ชั่วโมง การเรียนพิเศษหรือติวหนังสือก็ไม่ควรยาวนานเกินกว่า 3 ชั่วโมงเป็นต้น หรือวันเสาร์-อาทิตย์ หากเรียนพิเศษวันเสาร์แล้ววันอาทิตย์ก็ควรเป็นเวลาที่ได้พักผ่อนคำแนะนำคร่าวๆ นี้พ่อแม่ผู้ปกครองอาจใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการศึกษาเพื่อไม่ให้กดดันลูกจนเกินไป
เกิดอะไรเมื่อเด็กถูกกดดันเรื่องการเรียน
อะไรที่มากเกินไปย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดีการเรียนหนักเกินไปถูกกดดันเรื่องการเรียนมากเกินไปก็เช่นกันต่อไปนี้เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับวัยรุ่นที่ถูกกดดันเรื่องการเรียน
- สงสัยในตนเอง: พ่อแม่ที่คาดหวังคะแนนอันดับหนึ่ง หรืออยากให้ลูกเข้าคณะยอดนิยม มหาวิทยาลัยชื่อดัง หรือพ่อแม่ที่เรียนเก่งมากๆ มักคาดหวังให้ลูกประสบความสำเร็จด้านการศึกษาเหมือนตนเองโดยไม่ได้ตระหนักถึงศักยภาพหรือความต้องการของลูกเมื่อพ่อแม่คาดหวังมากๆ กดดันมากแต่ลูกทำไม่ได้ เด็กๆ ก็จะเกิดความสงสัยในตนเองคิดว่าตนเองไม่ดีพอไม่มีความสามารถนำไปสู่การสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง
- ไม่มีเวลาทำสิ่งที่ชอบ: ผู้ใหญ่อย่างเราๆ เมื่อทำงานหนักเครียดจากงานยังหาวิธีผ่อนคลายดูหนัง ดูซีรีย์ ไปกินชาบูหม่าล่าแต่สำหรับเด็กๆ ที่ถูกพ่อแม่กำหนดกฎเกณฑ์ให้เรียนหนักตลอดเวลาทำให้พวกเขาไม่มีเวลาผ่อนคลายทำสิ่งที่ชอบ ไม่มีเวลาคุยเล่นกับเพื่อน นำไปสู่ความเครียดกังวลและโรคซึมเศร้าได้
- นิยมความสมบูรณ์แบบ: เด็กๆ ที่ถูกกดดันให้ทำผลการเรียนให้ดี มีแนวโน้มจะเป็น Perfectionist ที่นิยมความสมบูรณ์แบบปัญหาก็คือในโลกนี้ไม่มีอะไรเพอร์เฟคเพราะฉะนั้นคนที่นิยมความสมบูรณ์แบบก็มักจะผิดหวังซ้ำๆ แล้วก็เคี่ยวกรำตัวเองให้อ่านหนังสือหนักขึ้น แต่ก็ยังรู้สึกไม่ดีพอแล้วก็ติดอยู่ในวงจรนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนไม่อาจมีความสุขในชีวิต
- ผลการเรียนตก: การเรียนหนักก็เพื่อต้องการให้ผลการเรียนออกมาดีแต่ในความเป็นจริงการเรียนมากเกินไปส่งผลให้ผู้เรียนขาดสมาธิ สมองอ่อนล้า ประสิทธิภาพในการจดจำและนำข้อมูลกลับมาใช้ลดลง ทำให้ผลการเรียนแย่ลงกว่าเดิม
- ปัญหาด้านความสัมพันธ์และสังคม: มีการศึกษาพบว่าวัยรุ่นที่เรียนหนักมีแนวโน้มจะแยกตัวจากสังคมรวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อนฝูงครอบครัวซึ่งการไม่มีเวลาเข้าสังคมนี้ส่งผลกระทบต่อทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมและการสร้างความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัวในระยะยาวอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมา
ชวนพ่อแม่คาดหวังตามความจริง
พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากให้ลูกเรียนเก่งเพราะผลการเรียนที่ดีก็อาจหมายถึงโอกาสที่ดีกว่าในชีวิต แต่พ่อแม่ต้องไม่ลืมว่าในยุคปัจจุบันการเรียนอาจไม่ใช่ทุกสิ่ง ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทมากมายโอกาสที่เด็กๆ จะประสบความสำเร็จในชีวิตอาจไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่ผลการเรียนเท่านั้นเพราะโลกยุคดิจิทัลเปิดโอกาสให้กับความเป็นไปได้ใหม่ๆ มากมาย ที่บางครั้งเด็กยุคใหม่อาจเข้าใจและรู้เท่าทันมากกว่าพ่อแม่เสียอีกการวางความหวังของเราลงบนบ่าของลูกจึงอาจเป็นการกดทับโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ เหล่านั้นบางครั้งพ่อแม่เองก็มองโลกด้วยแว่นสายตาคู่เดิมที่เราใส่สมัยเป็นนักเรียนในยุคนั้นเด็กที่เรียนเก่งอาจมีโอกาสมากกว่าแต่หากพ่อแม่ลองมองในมุมของลูกมองทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไปก็จะเข้าใจว่าความคาดหวังในนามของความหวังดีของเราอาจเป็นอุปสรรคที่ฉุดรั้งไม่ให้ลูกเติบโตบนเส้นทางของตัวเองเด็กแต่ละคนมีความโดดเด่นแตกต่างกันขณะที่ลูกกำลังตามหาตัวตนหน้าที่ของพ่อแม่อาจไม่ใช่ผู้กำกับแต่เป็นผู้สนับสนุนซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้จากการใช้เวลาร่วมกันรับฟังสิ่งที่ลูกสื่อสารให้คำแนะนำชี้แนวทางที่เหมาะสม และยอมรับตัวตนของลูกเพราะนอกจากผลการเรียนที่ดีแล้ว สิ่งที่จะทำให้เด็กๆ อยู่รอดในสังคมโดยไม่สร้างปัญหาและมีความสุขในชีวิตของตนเอง คือ การที่พวกเขารู้สึกมีคุณค่ามีคนรับฟังและได้รับการยอมรับในเส้นทางที่เลือกเอง
แหล่งอ้างอิง (Sources) :
Related Courses
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...
การดูแลสุขภาพใจเด็กประถมศึกษา
ในคอร์สนี้เป็นการดูแลสุขภาพใจของเด็ก เพราะการมีสุขภาพใจที่ดีนั้นส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ทำให้อารมณ์ดี สามารถจัดการภาวะอาร ...
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ