การออกแบบ(การวัดและประเมินผล)เพื่อพัฒนาผู้เรียน
การออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทางตัวชี้วัดปลายทางเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยมีเป้าหมาย คือ การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลของครูเกิดความยืดหยุ่น คล่องตัวและผู้เรียนได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาจนบรรลุคุณภาพตามตัวชี้วัดที่กำหนด
ตัวชี้วัดระหว่างทาง เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเน้นการประเมินในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลักให้เป็นไปตามจุดประสงค์นำทางที่คุณครูต้องดำเนินการดังนี้
1. วิเคราะห์ตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้
2.การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
3.การออกแบบกิจกรรม (กิจกรรม สื่อ และเครื่องมือ)
4.การจัดกิจกรรมที่ต้องใช้สื่อและเครื่องมือ
5.การวัดและประเมินผลรายตัวชี้วัด และผลการเรียนรู้
6.บันทึกผล วิเคราะห์ผล จัดทำข้อมูล
7.การนำไปพัฒนาปรับปรุงรูปแบบหรือวิธีการ
ดังนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ครอบคลุม KPAC ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจทักษะทางความคิดและการปฏิบัติงานที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน K P A C (K = Knowledge ,P = Process, A = AttributesและC = Competencies) ซึ่งการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนักเรียนจะต้องมีความสามารถในการคิดความสามารถในการแก้ปัญหาและที่สำคัญที่สุดคือความสามารถในการสื่อสารซึ่งทั้งหมดจะกลายเป็นสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (Competencies of learners) นั่นคือ คุณลักษณะที่เด็กทุกคนมีและใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อผลักดันให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุตามเป้าหมายนั่นเอง
ขั้นการออกแบบกิจกรรม มี 5 ขั้นตอนดังนี้
1.ขั้นสร้างความสนใจ (10นาที) เช่น ให้นักเรียนดูภาพจากสื่อแล้วให้ตอบคำถามจากความรู้เดิมของนักเรียนเพื่อเชื่อมโยงจากหาค่า EMF ในการตอบคำถามจากสถานการณ์
2.ขั้นการสำรวจและค้นหา (40นาที) นักเรียนออกแบบการทดลองสำหรับใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ แล้วทำการทดลองและบันทึกกิจกรรมรวมถึงการอภิปรายร่วมกันลงความคิดเห็น สุดท้ายมีการนำเสนอผลการแก้ปัญหาเพื่อนำเสนอในชั้นเรียน
3.ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (10นาที) มีตัวแทนกลุ่มนำเสนอการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์มีการวิพากษ์การแก้ปัญหาของเพื่อนแต่ละกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ครูอาจจะมีการเพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ให้ข้อเสนอแนะและเทคนิคการคิดเพิ่มเติมกับนักเรียนสุดท้ายนักเรียนและคุณครูช่วยกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมนี้
4.ขั้นขยายความรู้ (20นาที) ให้นักเรียนเสนอแนวคิดในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบและสรุปเป็นความรู้เพิ่มเติมจากผลการเรียนรู้
5.ขั้นประเมินผล (20นาที)
- ให้นักเรียนบันทึกผลหลังการเรียนเป็นองค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรม
- นักเรียนทำบททดสอบหลังการเรียนเพื่อวัดการพัฒนาด้านความรู้ความเข้าใจ
- คุณครูเฉลยและให้คะแนนจากเกณฑ์การให้คะแนน
- การชื่นชมผลงาน การทำกิจกรรมจนบรรลุเป้าหมายตามแผนที่ได้วางไว้
ตัวชี้วัดปลายทาง เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นที่การประเมินผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินการปฏิบัติ การประเมินชิ้นงาน แฟ้มสะสมงาน แบบทดสอบ เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ในการวัดและประเมินที่ได้ผลเป็นคะแนนและเพื่อดูพัฒนาการหรือใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนนั่นเอง
ดังนั้นการที่คุณครูจะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คุณครูจะต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนและเพื่อนคุณครูด้วยกันเองเพื่อให้การออกแบบการวัดและประเมินผลนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์มากที่สุดและที่สำคัญที่สุดไม่ใช่แค่ความรู้ที่เด็กๆได้จากกิจกรรมแต่เด็กๆต้องสามารถนำความรู้ที่มีมาใช้ในชีวิตจริงได้และสามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในฐานะเป็นพลเมืองของโลกต่อไป
Related Courses
การประเมินการสอนของตนเอง
การประเมินการสอนของตนเอง เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพการสอน ผลการเรียนรู้ของนักเรียน และโรงเรียน เพราะ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
วัดและประเมินผลอย่างไร ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้แบบ Active learning เลือกเครื่องมือวัดผลอย่างไรให้หลากหลาย ตรงตามเ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
การประเมินการสอนของตนเอง
การประเมินการสอนของตนเอง เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพการสอน ผลการเรียนรู้ของนักเรียน และโรงเรียน เพราะ ...