เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

418 views • 9 เดือนที่แล้ว

Starfish Talk แบ่งปันไอเดีย สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA ในหัวข้อ “เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ” ในวันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 19.00 - 20.00 น.โดยมีแขกรับเชิญมาร่วมแบ่งปันความรู้ ได้แก่ 

  1. ดร.กมลรัตน์ ฉิมพาลี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนถนนหักพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ 
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำเพชร นาสารีย์ หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์ ม.รามคำแหง

โดยมี คุณครูตะวัน แสงทอง (ครูโทนี่) รองผู้อำนวยการโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้ดำเนินรายการ 

ในบทความนี้ถอดองค์ความรู้ที่สำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางและสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 

การวัดประเมินผลมีความสำคัญอย่างไรต่อผู้เรียน และเพราะอะไรเราต้องออกแบบให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน 

  • คำว่าเหมาะสม ของแต่ละระดับไม่เหมือนกัน เราจะต้องมองว่าเราจะวัดประเมิน “อะไร” ซึ่งจะสอดคล้องกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และจะไม่แยกขาดออกจากกัน เพราะฉะนั้นคุณครูจะต้องย้อนกลับตอนที่วางแผนว่า อยากให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องใด 
  • การสังเกตพฤติกรรมของครูผ่านตา ไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน เพราะฉะนั้นคุณครูต้องทำความเข้าใจการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ในส่วนสุดท้ายว่า นักเรียนของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเขาต้องการช่วยเหลือในด้านใดบ้าง 
  • การวัดประเมินผลมีความสำคัญมากๆ ถ้าเราไม่มีการออกแบบไว้ เราอาจจะประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นไปตามความรู้สึก แต่ถ้าเรามีหลักการทำให้เรามีหลักฐานว่าเรามีอะไร และทำให้เรารู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 
  • หลักฐานเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้นักเรียนรู้ว่า ทุกคนเรียนรู้ได้ หากครูออกแบบการเรียนการรู้ที่ดี 

รูปแบบการวัดและประเมินผลมีอะไรบ้าง 

  • การวัด/ เกณฑ์/การประเมิน มีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น การวัด คือ การนำเครื่องมืออะไรมาวัด เพื่อให้เห็นตำแหน่ง หรือค่าตัวเลขต่างๆ เช่น เราเอาสายวัดมาวัดเอว วัดได้ 38 แต่เกณฑ์ในใจของเราที่อยากได้ 28 ส่วนการประเมินคือพฤติกรรม หรืออาการของเราที่ประเมินตัวเองว่า ฉันกำลังจะอ้วนแล้วนะ จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 คำนี้ มีความหมายที่แตกต่างกันแต่ใกล้เคียงกันมาก 
  • สรุป คือ วัดออกมาเป็นค่า เป็นตัวเลข แล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์ แล้วจะสรุปข้อมูลแปลงเป็นเชิงคุณภาพ 
  • ส่วนการประเมิน (Assessment) คือกระบวนการรวมรวบเก็บหลักฐาน และนำไปสู่การตีความหมาย และนำไปสรุปเป็นเชิงคุณภาพ หรือตัวเลข ดังนั้นในมุมมองในห้องเรียนเราจะใช้การประเมินในเชิง Assessment มากกว่า Evaluation 
  • รูปแบบการประเมิน คือ รูปแบบเป็นทางการ เช่น การออกข้อสอบเขียน ทดสอบ เป็น choice เป็นเติมคำ เป็นจับคู่ เป็นต้น และไม่เป็นทางการ เช่น การสังเกตจากครู การที่นักเรียนเขียนอะไรบางอย่างไว้ในหนังสือ นั่นคือการเก็บหลักฐาน 
  • เรื่องการออกแบบการวัดและประเมินผล คือการดูการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น กระบวนทัศน์การในวัดผลจะต้องเปลี่ยน เพราะครูจะต้องการหลักฐานการทำงานของคุณครู และมาดูคู่มือเรื่องวิทยฐานะของครู เราจะเห็นว่า สิ่งที่อยากให้เกิดกับคุณครูเป็นเรื่องสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ซึ่งสมรรถนะของครู ก็ต้องมีแผนการจัดการเรียนรู้ และผลลัพธ์ของผู้เรียน นอกจากนี้เรากำลังพูดถึงการเปลี่ยนแปลง เมื่อก่อนวัดแค่ K (knowledge) มันง่ายมากเลย แต่ความจริงเรากำลังดูการเปลี่ยนแปลงของเด็ก เพื่อที่จะส่งเสริมเขา ดังนั้น การวัดและประเมินจึงมีความสำคัญ 
  • ตัวชี้วัดการประเมินเพื่อมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งครู ได้แก่ 8 ตัวชี้วัด ในด้านที่ 1 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรี และ 4 ตัวชี้วัด ในด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ขยายความเรื่องรูปแบบของการวัดและประเมินผล (Testing-Measurement -Evaluation-Assessment) 

  • Testing การทดสอบ : เครื่องมือ + การตอบสนอง
  • Measurement การวัด : เครื่องมือ + การให้ค่าที่เป็นตัวเลข
  • Assessment การประเมินค่า : Assist ช่วยให้ข้อมูลในการตัดสิน “sitting beside” to sit beside the learner) การวัดและการแปลผล (ส่วนการประเมินผลจะมีหรือไม่มี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์) โมเดลความคิด + ค่าสังเกต + การแปลความหายข้อมูล *ครูต้องมีกระบวนการคิดและการคาดการณ์พฤติกรรมนักเรียน 
  • Evaluation : การประเมินผล Evaluation = Value การตัดสิน/การให้คุณค่า

*นอกจากเครื่องมือแล้ว การมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนก็เป็นปัจจัยสำคัญในการประเมิน 

จุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนรู้ 

เริ่มตั้งแต่ Learn about (เรียนรู้อะไรบ้าง) ซึ่งเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี การทดลอง การให้เหตุผล การสร้างเครื่องมือ ไปยัง Learn to do (นำความรู้ไปใช้) ซึ่งเกี่ยวกับทักษะต่างๆ เช่น การลงข้อสรุป การตัดสินใจ การแก้ไขข้อขัดแย้ง การตีความ วิเคราะห์ผลการทดลอง การสร้างแผนผัง แผนที่ และการแก้ปัญหา 

การประเมิน 3 มิติ

  • ครูประเมินผู้เรียน
  • ผู้เรียนประเมินตัวเอง ไม่ใช่เป็นการประเมินเพื่อให้ได้คะแนนตามเกณฑ์ที่ครูวางไว้ แต่ผู้เรียนประเมินเพื่อเอาข้อมูลมาดูพัฒนาและสร้างจูงใจ
  • เพื่อนประเมินผู้เรียน (เพื่อนประเมินเพื่อน) 

* ครูจะต้องมีการปะเมินที่แยกออกจากกัน ว่าเราไม่ได้ประเมินเพื่อที่จะเอาผลคะแนนมาตัดสินเด็ก

วิธีการออกแบบการเรียนรู้ไปจนถึงการออกแบบการวัดและประเมินผล 

  • หลักการคิดไปข้างหน้า โดยยึดจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก (P/S/A) เช่น เราจะว่าคนทั่วไปเอามารู้ว่าเราจะสามารถนำดอกไม้ริมทางมาตรวจสอบสารเคมีเพื่อให้เราไม่เป็นอันตรายได้ไหม 
  • ครูฉีกบทเรียนจากหนังสือ เราจะต้องสืบเสาะค้นหาต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับชีวิตนักเรียน
  • หลักการคิดย้อนกลับหลัง โดยครูถามตัวเองว่า ฉันอยากสอนอะไร / ฉันชอบอะไร ในวิชาเลือกต่างๆ 
  • ออกแบบจาก A / S / K คือ K ครูอยากให้เขาคิดอะไร / S คือ ครูอยากให้เขาทำอะไรได้ / A คือ ครูอยากให้เขาเกิดเจตนคติอะไร 
  • ครูตั้งใจเลือกสถานการณ์ คาดการณ์คำตอบเพื่อเขียนโครงสร้างการประเมิน เชื้อเชิญให้นักเรียนแสดงออก (พฤติกรรม/ทักษะ/เจตคติ/สมรรถนะ) นักเรียนเข้าใจหรือมีส่วนร่วมในเกณฑ์การประเมินเพื่อรวบรวมข้อมูลที่สำคัญให้นักเรียนได้ 
  • ครูตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้ชัดเจน เช่น จุดประสงค์เชิงสมรรถนะ 1. บรรยายโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ หลอดเลือด และเลือด 2. อธิบายการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือกโดยใช้แบบจำลอง 3. ออกแบบการทดลองและทดลองในการเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจขณะปกติและหลังการทำกิจกรรม 4. ตระหนักถึงความสำคัญของระบบหมุนเวียนเลือดโดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบหมุนเวียนเลือด
  • ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับการสะท้อนกลับจากครู จากการที่ครูสังเกต ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด (ภาวะช่วงเวลาฉุกเฉิน) ณ เจอเหตุการณ์นั้นครูควรเขียนสะท้อนหลังแผนในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้การสะท้อนกลับนักเรียนทันทีแบบที่ไม่รู้ตัว หรือโดยไม่ได้วางแผนมาก่อน 

เทคนิคการตั้งคำถาม (ยกตัวอย่างหัวข้อ หอมแดง) 

ระดับ 1: นักเรียนจำแนก…ได้อย่างไร / นักเรียนจำอะไรได้บ้าง / ใครทำการศึกษาเรื่องอะไร / ที่ไหน / เมื่อไหร่ / ทำอย่างไร / ผลเป็นอย่างไร 

ระดับ 2 : จงอธิบายความหมายคำว่า…./ จงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง…กับ…

ระดับ 3 : เราจะพัฒนา…ไปเป็น…ได้อย่างไร / เราจะเปลี่ยน..เป็น…ได้อย่างไร / หอมแดงแห้งนี้ จะนำไปใช้อย่างไร

ระดับ 4 : คุณลักษณพิเศษ ที่พูดกันติดปากว่า “...” ข้อความดังกล่าวนักเรียนคิดว่าเป็นการบ่งชี้ลักษณะสำคัญจำเพาะอะไร

ระดับ 5 : นักเรียนใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตัดสินใจ เลือกทำผลิตภัณฑ์แปรรูป 

เครื่องมือในการวัดและประเมินผล

  • การใช้ภาพ การวาดภาพเพื่ออธิบายความหมายและทบทวนความรู้เดิม
  • การใช้สัญญาลักษณ์ และทำให้เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ 
  • แผนภาพทางความคิด

ข้อความส่งกำลังใจ 

  • การประเมินและการเลือกใช้เครื่องมือที่ดี จะเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้ครูรู้ว่านักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ดังนั้น จะต้องกลับไปที่การตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้  
  • การวัดและประเมินผลไม่ใช่สิ่งน่ากลัว เราจะต้องรู้ว่า 1. เราประเมินใคร 2. ใครเป็นคนประเมิน 3.ไม่ต้องฟุ่มเฟือยกับการประเมินผล 
  • การตั้งเกณฑ์ประเมินผลตามเกณฑ์ เช่น อ่อน เก่ง เก่งมาก 

Q & A อยากขอคำแนะนำในการประเมินนักเรียนรายบุคคลสำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ ครู 1 คน สอนนักเรียนจำนวนมาก 

ตอบ พยายามจับกลุ่มเด็กเป็น 3 คน ได้แก่ กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือ กลุ่มที่ช่วยตัวเองได้ กลุ่มที่เก่ง และพยายามแบ่งกลุ่มย่อยๆ เหมือนกับการแบ่งกลุ่มปัญหา เด็กให้เล็กลงไปอีก เราจะพบว่าปัญหาจะลดน้อยลง

วิดีโอใกล้เคียง

PA Live Talk ศึกษานิเทศก์ ทำ PA อย่างไร
01:12:42

PA Live Talk ศึกษานิเทศก์ ทำ PA อย่างไร

440 views • 7 เดือนที่แล้ว
PA Live Talk ศึกษานิเทศก์ ทำ PA อย่างไร
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
01:01:51

PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด

368 views • 2 เดือนที่แล้ว
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ
01:32:22
Starfish Academy

Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ

Starfish Academy
87 views • 6 วันที่แล้ว
Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ
Starfish Talk วPA    เส้นทางที่ท้าทาย แรงบันดาลใจสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA
01:11:06

Starfish Talk วPA เส้นทางที่ท้าทาย แรงบันดาลใจสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA

107 views • 1 เดือนที่แล้ว
Starfish Talk วPA เส้นทางที่ท้าทาย แรงบันดาลใจสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

คอร์สใกล้เคียง

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3770 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
1048 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7049 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5861 ผู้เรียน