แบ่งปันไอเดีย สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA คลิปแรงบันดาลใจช่วยให้เห็นระดับมาตรฐานวิทยฐานะของครูได้อย่างไร
จากเกณฑ์การประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ หรือ วPA ที่มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของครูที่สูงขึ้นตามระดับวิทยฐานะที่คาดหวังแล้ว ยังต้องสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพด้วยนั้น จึงได้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการ และในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์การนำเสนอคลิปแรงบันดาลใจ หรือคลิปที่แสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์พิจารณาด้านที่ 1 ของ วPA
สำหรับการอัดคลิปที่แสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้เห็นระดับมาตรฐานวิทยฐานะที่คาดหวังของครู สิ่งสำคัญคือ การนำเสนอข้อมูลในการดึงศักยภาพของครูจากห้องเรียนสู่การขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวังอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายคือผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีแนวทางการอัดคลิปสภาพปัญหาฯ ตามเกณฑ์ วPA (ไม่เกิน 10 นาที) ดังนี้
1) การแนะนำตนเอง ได้แก่ ชื่อ ตำแหน่ง วิทยฐานะ บริบทโรงเรียน รายวิชาที่นำเสนอ
2) นำเสนอสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ที่ต้องการพัฒนาให้กับผู้เรียน
3) นำเสนอวิธีการ กลยุทธ์ เทคนิค สื่อนวัตกรรมในการแก้ปัญหาของครูผู้สอนที่จะช่วยให้เห็นระดับมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน และที่สำคัญต้องสอดคล้องกับแผนและคลิปการสอนที่เสนอ (ตัวชี้วัดด้านที่ 1)
4) นำเสนอผลการแก้ปัญหาหรือผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมชัดเจน
ทั้งนี้ ในการนำเสนอคลิปสภาพปัญหาฯ หรือแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถบอกหรืออธิบายกับกรรมการเพิ่มเติมจากคลิปการสอนได้อีกด้วยเห็นได้ว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนสะท้อนการจัดการเรียนรู้ของครู ความท้าทายของครูสะท้อนการจัดการวางแผนเป้าหมายสู่มาตรฐานวิทยฐานะที่คาดหวังจากการปฏิบัติจริงในห้องเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนอย่างสูงสุด และส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของครูได้ ทั้งนี้ สามารถรับปฟังเพิ่มเติมได้ที่
บทความใกล้เคียง
Related Courses
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)