เครื่องมือช่วยวัดประเมินผลการเรียนรู้
การเรียนรู้ (Learning Style) ของผู้เรียนย่อมมีความแตกต่างกัน โดยในแต่ละคนอาจเรียนรู้ได้จากรูปแบบเพียงหนึ่งอย่าง หรือหลายอย่างควบคู่กัน ไม่ว่าจะด้วยการดู ฟัง อ่าน เขียน หรือการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จากทฤษฎีพหุปัญญา จะเห็นได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะมีความถนัดที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในส่วนของการออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรม จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนคำนึงถึงการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อเป็นการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียน การวัดองค์ความรู้ของผู้เรียน เป็นเครื่องมือในการช่วยให้ครูทราบถึงแนวทางในการพัฒนา ส่งเสริม หรือปรับปรุง แก้ไขในด้านต่างๆ ของผู้เรียน ตลอดจนเป็นการประเมินเพื่อสะท้อนวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูสามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ตามเป้าหมายหรือไม่
สำหรับรูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มี 3 รูปแบบ คือ 1) การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment of Learning : AOL) เป็นการประเมินเพื่อการตัดสิน เช่น การประเมินปลายภาคเรียน ประเมินระหว่างหน่วยการเรียนรู้ เป็นต้น 2) การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning : AFL) เป็นการประเมินระหว่างเรียนหรือระหว่างกิจกรรม โดยใช้การสังเกต พูดคุย สอบถาม ซึ่งครูจะเป็นผู้ประเมิน และ 3) การประเมินผลเป็นการเรียนรู้ Assessment as Learning : AAL) ส่วนใหญ่จะเป็นที่นักเรียนประเมินตนเอง ซึ่งครูอาจจะมีบทบาทในการเข้ามาให้ความช่วยเหลือ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองได้ ทั้งนี้ ได้มีเครื่องมือที่ช่วยในการวัดและประเมินให้มีความสะดวกและง่ายขึ้น นั่นก็คือ Starfish Class
เครื่องมือช่วยวัดและประเมินผลการเรียนรู้ Starfish Class
การเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียน เด็กแต่ละคนมีความสามารถที่หลากหลายแตกต่างกัน การใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลด้วยวิธีเดียวคงไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ วิธีการวัดและประเมินผลจะอยู่ในรูปแบบใด เพื่อที่จะสามารถประเมินพัฒนาการและความก้าวหน้าของเด็กทุกคนอย่างเป็นรูปธรรม และใช้เวลากับเอกสารน้อยลง ซึ่งในวันนี้ Starfish Education ได้มีเครื่องมือที่จะมาช่วยในการวัดและประเมินผลด้วย Starfish Class Application แพลตฟอร์มออนไลน์รูปแบบใหม่ ที่จะเป็นเครื่องมือในการวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนการสอน ประเมินทักษะสมรรถนะที่หลากหลายของผู้เรียน เหมาะสมต่อความหลากหลายในการใช้งานของวิชาต่างๆ ที่ตอบโจทย์การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในศตวรรษที่ 21 ด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่ง่าย เพียงแค่ลงทะเบียนและสร้างห้องเรียนออนไลน์ เพิ่มรายชื่อนักเรียน เพื่อทักษะการประเมินที่ต้องการ การรายงานความก้าวหน้าของนักเรียน ซึ่งถือได้ว่า เป็นนวัตกรรมการแบบใหม่คือ การพัฒนารูปแบบการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยที่ Application จะมีทักษะที่สำคัญตั้งต้น 9 ทักษะ ซึ่งครูสามารถเลือกประเมินให้สอดคล้องกับเป้าหมายในเนื้อหาการเรียนรู้นั้นๆ ทั้งนี้ ครูยังสามารถเพิ่มทักษะที่ต้องการในด้านอื่นๆ ได้ และในการประเมินครูสามารถกำหนดวันที่ทำการประเมิน เพื่อนำไปใช้รายงานผลการเรียนรู้ของนักเรียน โดยสามารถใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบ Scoring Rubric รวมถึงการเก็บหลักฐานการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบของรูปภาพ วิดีโอ และไฟล์เอกสาร นอกจากนี้ ยังสามารถให้เพื่อครูร่วมประเมินนักเรียนได้ เพื่อช่วยยกระดับการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับการรายงานการประเมินผล สามารถดูรายงานของเด็กได้ทั้งรายบุคคลและรายห้องเรียน อีกทั้งยังสามารถรายงานผลแบบ Digital Portfolio ทั้งในรูปแบบของ Excel และ PDF ได้
แนวทางในการให้น้ำหนักและคะแนนในเครื่องมือเพื่อการประเมินนักเรียนตามพฤติกรรมที่แสดงออก
สำหรับหลักสูตรฐานสมรรถนะโรงเรียนบ้านปลาดาว ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ การสื่อสาร การจัดการตนเอง การรวมพลังทำงานเป็นทีม การคิดขั้นสูง และพลเมืองที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ โรงเรียนได้นำไปบูรณากับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่างๆ ในรูปแบบของการเรียนรู้ด้านต่างๆ เช่น นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการ วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การประเมินอิงสมรรถนะ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ ฯลฯ โดยจะนำมาประยุกต์ร่วมกับทักษะศตวรรษที่ 21 ทั้ง 9 ทักษะ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ การสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง ด้านความสัมพันธ์ และการรู้จักสังคม
การกำหนดระดับคะแนนตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) แบ่งเป็น 6 ระดับ ได้แก่ จำ เข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์ จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) – K ได้แก่ การจดจำได้ การเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การคิดวิเคราะห์ และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) – P ได้แก่ การรับรู้ การเลียนแบบ การปฏิบัติได้เอง การเกิดความชำนาญ และการต่อยอด
3. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) – A ได้แก่ การรับทราบ การมีส่วนร่วม การเกิดค่านิยม การเกิดศรัทธา และการสร้างนิสัย
ขั้นตอนการใช้ Starfish Class ผ่านเว็บเบราว์เซอร์
1. เข้าสู่ระบบ www.starfishclass.com คลิก Log in (กรณีเป็นสมาชิก Starfish Class) หรือเข้าสู่ระบบผ่าน Facebook หรือสร้างบัญชีผู้ใช้งานใหม่
2. คลิกปุ่ม “สร้างห้องเรียนใหม่” เพื่อทำการสร้างห้องเรียน โดยการกรอกรายละเอียดข้อมูลชื่อห้องเรียน ระดับชั้นเรียน รูปภาพ ฯลฯ หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม “สร้างนักเรียน” โดยสามารถเพิ่มได้ทีละหนึ่งคน การคัดลอกนักเรียนจากห้องเรียนอื่นๆ ได้ หรือการนำเข้ารายชื่อนักเรียนจากไฟล์ Excel จะได้รหัสห้องเรียน เพื่อทำการแชร์ไปยังเพื่อนครูที่มาร่วมประเมินห้องเรียน
3. การประเมินนักเรียน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การประเมินแบบเดี่ยวและกลุ่ม กรณีการประเมินแบบเดี่ยว คลิก “นักเรียนคนใดคนหนึ่ง” เลือก “สมรรถนะที่ต้องการให้คะแนน” เลือก “วันที่และชุดการประเมินแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ ชุดประเมินหลังจากการทำกิจกรรม ชุดการประเมินสมรรถนะ และชุดการประเมิน STEAM Design Process” ซึ่งคะแนนจะเป็นลักษณะรูบิค 1-5 และมีกล่องข้อความบันทึกความคิดเห็น ครูสามารถบันทึกข้อความได้ ทั้งนี้สามารถเพิ่มรูปถ่าย และไฟล์เอกสารได้ สำหรับกรณีบันทึกเป็นรายกลุ่ม โดยคลิก “เลือก” และคลิก “เลือกทั้งหมด” หรือจะทำการเลือกนักเรียนคนใดคนหนึ่งก็ได้ คลิกปุ่ม “สมรรถนะที่ต้องการให้คะแนน” ทำการยืนยัน หลังจากทำการประเมินแล้ว ครูสามารถมองเห็นภาพรวมในการประเมินของนักเรียนได้
4. การรายงาน เป็นรายงานภาพรวมการประเมินทั้งห้องเรียนและรายบุคคล ลักษณะ Spider Graph ของทักษะและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถรายงานเป็นรูปของไฟล์เอกสาร Excel หรือ PDF ได้ ทั้งนี้ สามารถแชร์ข้อมูลไปยัง Application อื่นๆ ได้
5. การเชิญครู นักเรียน ผู้ปกครองเข้าร่วมประเมิน ไปที่เมนู “จัดการนักเรียน” เลือกนักเรียนคนใดคนหนึ่ง คลิก “จัดการ” เลือก “จัดการนักเรียน” จะได้รหัสนักเรียน และทำการส่งรหัสให้กับนักเรียน ทั้งนี้ นักเรียนจะต้องมี Account ของ Starfish Class ด้วย หลังจากนักเรียนได้รหัสนักเรียนแล้ว ให้นักเรียนไปที่เมนู “ร่วมเป็นผู้ประเมิน” กรอกรหัสนักเรียน กด “ยืนยัน” เข้าร่วม
สรุปได้ว่า Starfish Class เป็นเครื่องมือช่วยวัดประเมินทักษะ สมรรถนะ ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการเก็บข้อมูลต่างๆ ของนักเรียน ตลอดจนสามารถบริหารจัดการห้องเรียนได้ เพื่อที่ครูจะได้ใช้เวลากับเอกสารน้อยลง และใช้เวลากับนักเรียนมากขึ้น ที่สำคัญเพื่อนครู นักเรียน ผู้ปกครองสามารถร่วมประเมินตนเองได้ ทั้งนี้ สามารถ Download Application ได้ทั้ง IOS , Android และในเว็บเบราว์เซอร์ได้ที่ www.starfishclass.com
Related Courses
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...