สอนอย่างไรให้ได้ 3 ผ่าน
วิธีการสร้างโรงเรียนตามเกณฑ์ สมรรถนะ ว.PA ในการจัดการเรียนรู้อย่างไรให้ได้ 3 ผ่านจากคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลงจากการนำผลการประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลงไปใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและการใช้ดำรงไว้ซึ่งความรู้ตามวิทยฐานะ มีวิธีการพิชิตใจคณะกรรมการจนได้ 3 ผ่านได้อย่างมีคุณภาพ นั่นคือ
1.ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning คือ การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า จนสามารถทำงานร่วมกัน โดยเน้นให้ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติจริง
2.การศึกษาตัวชี้วัดให้เข้าใจ ตัวชี้วัดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนเงินเดือน การคงวิทยฐานะหรือการให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ เพราะตัวชี้วัดเป็นสิ่งที่ครูได้เขียนขึ้นมาโดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการ เพราะคณะกรรมการจะทำการประเมินตรงตัวชี้วัดนั้นว่าผู้เรียนเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
3.กระบวนการต่างๆที่ได้เขียนแผน แผนที่เขียนออกมาต้องชัดเจนมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัด เมื่อมีแผนที่สมบูรณ์ก็จะสามารถบันทึกคลิปให้ตรงกับแผนการสอน และมีการบันทึกหลังแผนการสอนให้ตรงและสอดคล้องกับตัวชี้วัดต่างๆ รวมถึงการใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน ต้องมีความหลากหลายเพื่อสอนให้นักเรียนได้ปฏิบัติจนเกิดภูมิความรู้ในเรื่องที่ครูสอนได้อย่างแท้จริง และมีกิจกรรมที่หลากหลายจนสามารถสะท้อนความคิดเห็นในกิจกรรมนั้นๆที่บันทึกคลิปให้คณะกรรมการประเมิน
4.การนำเสนอจุดเด่นให้คณะกรรมการรู้ว่า จะทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร และทำไมถึงต้องทำเรื่องนี้ การทำเรื่องนี้จะส่งผลอย่างไรกับนักเรียน โดยการนำเสนอสิ่งที่ได้ทำจริงๆมีวิธีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายน่าสนใจ และวัดได้ตรงกับจุดประสงค์และชัดเจน
วิธีการจัดการเรียนรู้ให้ครบทุกตัวชี้วัด โดยการสอดแทรกตัวชี้วัดในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้แบบ Active Learning คือการออกแบบการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL)ที่เน้นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ใน 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.กระตุ้นความสนใจ โดยการใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ
2.ตั้งปัญหาในสิ่งที่สนใจ มีความอยากรู้เรื่องอะไร เมื่อผู้เรียนเกิดความอยากรู้ นั่นจึงเป็นจังหวะที่ดีที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนั้นค้นหาเนื้อหาที่ตนเองต้องการ
3.ค้นคว้าและคิด ปล่อยให้ผู้เรียนนั้นได้ใช้เวลาในการเรียนรู้ได้ค้นคว้า และได้คิดได้อย่างเต็มที่
4.การนำเสนอ เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนั้นจะได้นำเสนอผลงาน ที่ตนเองที่ได้ไปค้นคว้าและคิดออกมา
5.การประเมินผล ขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดที่ผู้เรียนได้ทำมาตลอดเวลาของการเรียนรู้ที่ได้เรียนมานั่นเอง
การจัดการเรียนรู้ให้ครบทุกตัวชี้วัด จุดเริ่มต้นคือการวางโครงในการเขียนแผนการสอนที่จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูผู้สอนสามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตรทั้งในด้านจุดประสงค์ ความคิดรวบยอดเนื้อหาสาระและต้องเขียนให้ครบครอบคลุมทุกตัวชี้วัด เพราะแผนการสอนเหมือนเข็มทิศเป็นเครื่องมือนำทางไปสู่เรื่องอื่นๆต่อไป โดยการใช้รูปแบบนวัตกรรมของ PKS 3L มุ่งพัฒนาโรงเรียน ทั้งระบบ ประกอบด้วย P (Professional) การสร้างความเป็นมืออาชีพ K (Knowledge) การเรียนรู้จากทุกฝ่าย S (Skill) การพัฒนาทักษะวิชาชีพครู และ 3L คือ การเรียนเพื่อรู้ ปฏิบัติ และพัฒนาต่อยอด เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้นั่นเอง
ปัญหาส่วนใหญ่ของครูในการประเมินเกณฑ์การประเมินที่ต้องผ่านทั้ง 2 ด้าน นั่นคือด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนนั้นไม่ค่อยมีปัญหาแต่จะมีปัญหาในด้านที่ 2คือด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อนักเรียน เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ของเด็กมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในการสร้างสรรค์ห้องเรียน Active Learning ที่สำคัญที่สุดจะต้องมีความสัมพันธ์กันสอดรัดและสอดคล้องกันทั้ง 2 ด้าน นั่นคือตั้งจุดประสงค์ไว้อย่างไรจะต้องสอนอย่างนั้นและจะต้องวัดผลตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการอีกด้วย การวัดผลจะต้องศึกษา KPA อย่างชัดเจนนั่นคือต้องมีความเข้าใจ เกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละแบบแผนการเรียนรู้และนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี
เทคนิคแนวทางที่สมเหตุสมผลในด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ที่พิจารณาจากผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนที่ต้องได้คะแนนจากกรรมการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70นั้น เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติตามกระบวนการหรือกิจกรรมที่ครูผู้สอนออกแบบและดำเนินการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากผลงานผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการเรียนรู้นั่นเอง เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดจะต้องเน้นผู้เรียนคือการฝึกปฏิบัติจริง ได้ลงมือทำ ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยไม่จำเป็นต้องไปดูเอกสาร คณะกรรมการประเมินจะเน้นที่ความเชื่อใจ และเข้าไปดู ไปสอบถามนักเรียนและไปดูการพัฒนาผลลัพธ์คือนักเรียนได้อย่างไรได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
เห็นได้ว่าสร้างโรงเรียนตามเกณฑ์ สมรรถนะ ว.PA โดยวิธีการจัดการเรียนรู้อย่างไรให้ได้ 3 ผ่านนั้นเป็นเรื่องไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายเพราะมีรายละเอียดขั้นตอนที่ต้องทำความเข้าใจ จะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการที่คุณครูสามารถพัฒนา “สมรรถนะ”ของผู้เรียน ได้ผลการเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน และตัวชี้วัดเป็นรายบุคคล ที่กำหนดไว้เป็นตัวเลข ร้อยละต่อคะแนนเต็มร้อย ผ่านครบทุกคนหรือไม่ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
📍 สนใจเนื้อหา เพิ่มเติม ศึกษารายละเอียดได้จาก
✅ บูรณาการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : bit.ly/3HlaiEr
✅ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ Integrated Instruction : bit.ly/3ukpnm4
✅ บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : bit.ly/3J1f8Hr
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่
• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz
• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019
• YOUTUBE : Starfish Labz Channel
• INSTAGRAM : www.instagram.com/starfishlabz/
วิดีโอใกล้เคียง
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ
คอร์สใกล้เคียง
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู