Better communicate with your students
กิจกรรม Workshop หัวข้อ Better Communicate with Your Students โดยคุณ Florence Dinar Event Director,Experienced Team Manager,Nlp Practitioner,Life Coach,Level 4 Person-Centered Therapy Diploma ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับนักเรียน โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
ประเด็นการเรียนรู้
- การสื่อสารและการศึกษา
- วิธีการที่ทำให้นักเรียนฟังครู
- วิธีการดึงความสนใจและสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียน
- วิธีการทำให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียน
- วิธีการสร้างกฎกติการ่วมกันในชั้นเรียน
การศึกษาคืออะไร
การศึกษาคืออะไร มาจากภาษาละติน EDUC ERE แปลว่า การนำเอาการศึกษาออกมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับครูที่เกี่ยวกับศักยภาพและความสามารถของนักเรียนออกมาเพื่อเรียนรู้และเติบโต สิ่งที่เรียนรู้ / ความรู้จักผลงาน , ทดสอบจากการสอบวิทยากรแนะนำถึงการสร้าง / ครูที่ดี / ผู้เรียนที่ดี
ยกตัวอย่าง (การให้เด็กสามารถได้ขับรถเองได้) เป็นการเรียนรู้ที่เรียบง่าย การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์
การสื่อสารที่ดีคืออะไร
- ต้องมีวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายทุกครั้ง
- สื่อสารด้วยพฤติกรรมเชิงบวก (ความหมายของการสื่อสารไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่คุณทำ และคำตอบที่คุณได้รับ)
การฟังที่ดี ต้องเริ่มจากคุณครูก่อน
- การถามความต้องการของนักเรียน
- การแสดงออกว่าครูกำลังฟังอย่างเข้าใจ เช่น การสบตา การพยักหน้า
- การปล่อยให้มีช่วงเวลาของความเงียบ
- การถามคำถามเพิ่มเติม
- การให้แนวทาง เพื่อให้นักเรียนหาคำตอบได้ด้วยตนเอง
วิธีการทำให้นักเรียนฟังคุณครู
- ควรดึงความสนใจพวกเขาให้ได้
- หาความต้องการของนักเรียนให้เจอ
- คอยติดตามอารมณ์ของนักเรียน
- ให้นักเรียนเป็นผู้เลือกการเรียนรู้ของตนเอง
วิธีการดึงความสนใจและสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียน
- บอกเป้าหมายการเรียนรู้
- ทำให้นักเรียนมั่นใจในตนเอง
- ค้นหานักเรียนที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ
- การเตรียมข้อมูลก่อนเข้าห้องเรียน
- พัฒนาการของผู้เรียนจากจุดเริ่มต้นจนจบชั้นเรียน
- ฟีดแบ็กเชิงบวกให้แก่ผู้เรียน
- เปิดโอกาสให้นักเรียนนำสิ่งที่ไปเรียนไปใช้ในชีวิตจริง
ตัวอย่างการสื่อสารที่ดีกับนักเรียน
*สิ่งที่ไม่ควรพูดกับเด็ก* เช่น
- (เด็ก) หนูไม่เก่งคณิตศาสตร์ ไม่อยากทำแบบฝึกหัด
- ( ครู) ถ้าฝึกฝนหนูจะไม่มีวันทำได้เลย หรือ
- (เด็ก) หนูไม่เก่งคณิตศาสตร์ ไม่อยากทำแบบฝึกหัด
- ( ครู) อย่าบ่น มันง่ายมากเลยนะ
*สิ่งครูควรทำแทน
- การฟังอย่างกระตือรือร้น: พยักหน้า ฟัง 100% และปล่อยให้เด็กได้คิดกับตัวเองเงียบๆ
- ทักษะการตั้งคำถาม:ด้วยการทำซ้ำประโยค เช่น บอกครูเพิ่มเติมได้ไหม เล่าให้ครูฟังหน่อย
- แสดงความเห็นอกเห็นใจ: เช่น ครูเข้าใจหนูนะ ครูรู้ว่ามันไม่ได้ง่าย แต่ว่า ครูเชื่อว่าหนูทำได้
- น้ำเสียง: มั่นใจ
เช่น
(เด็ก) หนูไม่เก่งคณิตศาสตร์ ไม่อยากทำแบบฝึกหัด
( ครู) อะไรที่ทำให้หนูคิดว่าหนูไม่เก่งคณิตศาสตร์ (ถามเพื่อเข้าใจ)
(เด็ก) คะแนนของหนูไม่ดีเลย
( ครู) ครูเข้าใจนะ นั่นอาจเพราะว่าเรายังไม่ได้ทบทวนสิ่งที่เราเรียนรู้มาในบางส่วนใช่ไหม (ถามเพื่อความเข้าใจ) งั้นเรามาเริ่มต้นกันใหม่ไหม หนูมีอะไรให้ครูช่วยยังไงบ้าง (เสนอความช่วยเหลือ)
วิธีการทำให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียน แม้นักเรียนจะขี้อาย
- รับฟังในมุมมองของเด็ก
- ถามนักเรียนถึงเรื่องราวดีๆ ที่เคยเกิดขึ้น หรือความมั่นใจที่พวกเขาเคยมี
- ถามนักเรียนว่า ถ้าเราอยากจะมีความรู้สึกดีๆ แบบนั้นอีก เราจะต้องทำอะไรบ้าง
- ช่วยนักเรียนวางแผนและฝึกฝนตนเอง
วิธีการสร้างกฎกติกาในห้องเรียน
- ถามนักเรียนถึงความสำคัญของกฎกติกา
- ถามนักเรียนว่ากติกาในความคิดของตนเองคืออะไร
- ถามนักเรียนว่าอยากให้ห้องเรียนของเรามีกติกาอะไรร่วมกันบ้าง
- ครูให้ความสำคัญกับนักเรียนทุกคน ทุกกฎที่ทุกคนเขียน
- ครูเปิดพื้นที่ให้แลกเปลี่ยนกฎกติการ่วมกัน
- ครูและนักเรียนหาข้อสรุปร่วมกัน เลือกสิ่งที่ดีที่สุดร่วมกัน รวมถึงกติกาที่ครูกำหนดเองด้วย
- เขียนกฎกติกาที่สรุปได้ไว้ในที่สังเกตได้
- ครูย้ำทวนกติกาเสมอ
หัวข้อกิจกรรมในวันนี้ จะช่วยทำให้คุณครูได้เทคนิคการสื่อสารเชิงบวกกับนักเรียนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในห้องเรียนให้แน่นแฟ้นมากขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ได้เลย
Related Courses
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
วัดและประเมินผลอย่างไร ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้แบบ Active learning เลือกเครื่องมือวัดผลอย่างไรให้หลากหลาย ตรงตามเ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
ต้องใช้ 100 เหรียญ
การประเมินการสอนของตนเอง
การประเมินการสอนของตนเอง เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพการสอน ผลการเรียนรู้ของนักเรียน และโรงเรียน เพราะ ...
การประเมินการสอนของตนเอง
การประเมินการสอนของตนเอง เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพการสอน ผลการเรียนรู้ของนักเรียน และโรงเรียน เพราะ ...
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)