การพัฒนาตนเองสำหรับเด็กๆ 5 เคล็ดลับช่วยลูกสร้าง Resilience
สำหรับเด็กๆแล้ว หนึ่งในทักษะที่มีความสำคัญและจะช่วยเขาไปได้ตลอดจนถึงวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็คือทักษะที่เรียกว่า “Resilience” หรือที่ในบ้านเรามักใช้คำว่า “เป็นทักษะความเข้มแข็ง” หรือ “ทักษะความยืดหยุ่น” นั่นเองค่ะ ทักษะ Resilience ถือเป็นทักษะที่มีความสำคัญและมีคุณประโยชน์มากเพราะถือเป็นทักษะที่ช่วยทั้งเรื่องจิตใจความรู้สึกของเด็กๆและความสามารถของเขาในการล้มและลุกมุ่งมั่นไปที่การแก้ไขปัญหามากกว่าที่จะเป็นการจมอยู่กับอดีตหรือสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้วในบทความนี้ Starfish Labz จะพาคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกคนมาทำความรู้จักทักษะการพัฒนาตนเองอย่าง Resilience และวิธีการง่ายๆที่เราสามารถค่อยๆช่วยฝึกให้ลูกกันค่ะ ทักษะ Resilience คืออะไร? จะเริ่มฝึกให้ลูกๆ อย่างไรได้บ้าง? ตามมาดูกันเลย
ทักษะ Resilience คืออะไร?
Resilience หรือที่ในภาษาไทยเรามักแปลกันอย่างตรงๆ ว่า “ทักษะการยืดหยุ่น” จริงๆแล้วในภาษาอังกฤษภาวะของความยืดหยุ่นนี้ก็คือความสามารถในการฟื้นตัวหรือหากจะให้ขยายความลึกลงอีกนิดก็คือเป็นกระบวนการ ความสามารถ ทักษะ หรือทัศนคติในการปรับตัวและทำให้รับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะมีความท้าทายในชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปสรรค ความยากลำบาก ความท้าทายในการทำงานการถูกกระทบกระเทือนจิตใจ ภัยคุกคาม โศกนาฏกรรมหรือปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาชีวิต ปัญหาความรัก ปัญหาเรื่องงาน หรือปัญหาสุขภาพนั่นเองค่ะ
ด้วยเหตุนี้ Resilience จึงชื่อว่าเป็นทักษะของความยืดหยุ่นเป็นทักษะเหมือนกับลูกบอลนิ่มๆ ที่สามารถเด้งคืนรูปมาได้ในสถานการณ์ต่างๆและเป็นทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งเด็กๆ และผู้ปกครอง เป็นการพัฒนาตนเองร่วมกันและเรียกได้ว่าเป็นทักษะที่จะมีคุณค่าไปตลอดชีวิตของพวกเขาเลยทีเดียวค่ะ
คุณประโยชน์ของ Resilience ต่อเด็กๆ
การมีทักษะและคุณสมบัติ Resilience ช่วยให้เกิดประโยชน์มากมายต่อเด็กๆ เด็กๆที่มีการพัฒนาตนเองเพื่อให้มี Resilience จริงๆแล้วก็คือเด็กๆ ที่มีทักษะในการดูแลตัวเองดูแลสภาพจิตใจรวมถึงร่างกายของเขาในช่วงเวลาต่างๆ ที่เขาอาจเผชิญกับปัญหาหรือความรู้สึกท้าทายต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวันในการเรียนรวมถึงในความสัมพันธ์กับเพื่อนๆหรือคนอื่นๆ นั่นเองค่ะ
การมีทักษะ Resilience ยังช่วยเสริมเรื่องความมั่นใจช่วยเสริมสร้างภาวะ Autonomy หรือความสามารถในการดำเนินชีวิตและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวของเขารวมถึงทักษะอื่นๆ ที่มักมาพร้อมกันอย่างทักษะการปรับตัวความสามารถที่จะยืดหยุ่นเป็นต้นที่สำคัญและมีคุณค่าที่สุดคือ Resilience ช่วยเสริมสร้างสุขภาพความรู้สึกและจิตใจของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดีความสามารถในการฟื้นตัวสามารถช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าความรู้สึกต่างๆ เขารู้สึกไม่สบายใจอยู่เหล่านี้จะไม่คงอยู่ตลอดไปเมื่อรู้สึกแล้วเดี๋ยวก็จะค่อยๆลดลงหรือหายไปช่วยให้พวกเขาใจเย็น อ่อนโยน และใจดีต่อตัวเองมากขึ้นและยังลดโอกาสการกระทำต่างๆ ที่อาจเป็นผลไม่ดีต่อตัวพวกเขาเองด้วย เช่น โอกาสในการทำร้ายตัวเอง, การเก็บความรู้สึกโกรธเคืองหรือขุ่นข้องไว้ในใจจนไปถึงการมีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพใจต่างๆ
คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล (caregivers) จะสามารถช่วยให้เด็กๆ มี Resilience ได้อย่างไร?
เคล็ดลับในการช่วยเด็กๆ สร้างทักษะ Resilience มีมากมายตั้งแต่การสอนเด็กๆ โดยตรงเกี่ยวกับทักษะนี้สอนให้เขากล้าที่จะลองผิดลองถูกให้โอกาสเขาทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองแต่ในภาพรวมแล้วปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ดูแล (caregivers) และเด็กๆนั่นเองค่ะ
ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างเด็กๆ และผู้ดูแปลช่วยให้เด็กๆ รู้สึกถึงความรัก ความปลอดภัยและเจ้าความรู้สึกรักและความปลอดภัยนี้เองที่จะช่วยให้เด็กๆ มีความมั่นใจในการทำสิ่งต่างๆ สำรวจโลกของตนเองและฟื้นตัวจากสิ่งใดๆ ก็ตามที่พวกเขาประสบนอกเหนือจากความสัมพันธ์ที่ดี แน่นอนว่า คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองยังสามารถสอนสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้กับเด็กๆ โดยตรงเรียนรู้วิธีการและเคล็ดลับต่างๆ ที่สามารถใช้ในแต่ละวันหรือในแต่ละสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างภาวะที่ดีตรงนี้ให้กับเด็กๆ ได้
เริ่มต้นสร้าง Resilience ให้กับลูกรัก 3 เคล็ดลับจาก Starfish Labz
1.เริ่มที่ความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ของเราและลูกเป็นไปในทางบวกไหมมีจุดไหนที่เราสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมได้หรือเปล่าความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเราและลูกคือตัวช่วยสำคัญในการสร้างภาวะ Resilience ของพวกเขาการหมั่นพูดคุย ให้เวลาและให้พื้นที่พวกเขาในการคิดสิ่งต่างๆด้วยตัวเองถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ซึ่งถือเป็นคล้ายๆ กับพื้นดิน (Grounding/Foundation) ที่สำคัญให้กับเด็กๆ ในการมีความสามารถยืดหยุ่น
2. เสริมอย่างต่อเนื่องด้วยเคล็ดลับหรือเทคนิคพิเศษต่างๆ
นอกเหนือจากการพัฒนาความสัมพันธ์แล้วอีกหนึ่งอย่างก็คือการคอยเสริมด้วยวิธีการสอนเล็กๆ น้อยๆ แต่พิเศษต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้ได้เทคนิคหรือเคล็ดลับการดูแลเด็กๆ เช่น การชวนเด็กๆ นึกถึงสิ่งที่ดีที่เกิดขึ้นในวันนี้หรือตลอดวันที่เขาอยากนึกถึงชวนเขาสะท้อนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันหรือหลังจากสิ่งที่เขารู้สึกไม่ดี เป็นต้น
3.ใจเย็นและให้เวลากับเด็กๆ
เด็กๆ ใช้เวลาในการพัฒนาภาวะ Resilience เป็นภาวะที่อาจใช้คำว่าต้องค่อยๆฝึกกันอย่างละเล็กละน้อย ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปการให้เวลากับพวกเขาให้ทักษะเกิดขึ้นไปอย่างธรรมชาติ ไม่กดดัน ไม่กะเกณฑ์ว่าต้องเกิดตอนนี้ทำได้เดี๋ยวนี้หรือเดี๋ยวนั้นจึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการมีภาวะ Resilience อย่างเป็นธรรมชาติต่อเด็กๆ
การฝึกภาวะ Resilience ให้ลูกไม่ใช่เป้าหมายหรือถ้วยรางวัลแต่เป็นคุณสมบัติอันเป็นธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในตลอดช่วงการเติบโตและพัฒนาการของพวกเขาเด็กๆ บางคนอาจจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าสิ่งสำคัญคือการคอยให้กำลังใจและไม่กดดันพวกเขามากเกินไปนั่นเองค่ะ
อ้างอิง:
Related Courses
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...
สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ
การจะเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ลูกๆ ต้องการแค่แบบอย่างที่ดี เพราะพ่อแม่คือต้นแบบในการดำเนินชี ...