แรงบันดาลใจจากวันที่ไม่ผ่าน วPA สู่ความสำเร็จในวันนี้
ในการดำเนินการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ (PA) ต้องทำออกมาให้ดี ต้องทำด้วยความมุ่งมั่นและความตั้งใจ ทุกสิ่งสามารถทำได้ เพื่อรับแรงบันดาลใจและแนวทางในการเดินทางสู่ความสำเร็จ แต่ก็มีคุณครูหลายๆท่านที่ไม่สำเร็จ หลายคนก็มีข้อสงสัย ว่าทำอย่างไรถึงจะผ่าน ดังนั้นการสร้างแรงบันดาลใจ จากวันที่ไม่สมหวัง ไม่ผ่านการประเมินครั้งแรก จะต้อง สร้างความมั่นใจ สร้างพลังใจในการก้าวต่อไปในการพัฒนาตัวเองให้สำเร็จ
ประสบการณ์ของครูที่ไม่ผ่าน วPA ครั้งแรก อันดับแรกคุณครูจะต้องรีบลุกขึ้นมาสู้อย่างรวดเร็ว นั่นคือการไม่ยอมแพ้ต่อตัวเอง เอาแรงของความผิดหวัง ความผิดพลาดของตนเองมาเป็นกำลังใจในการต่อสู้ต่อไป อยากจะพิสูจน์ว่าตนเองยังจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อยู่หรือไม่ กลายเป็นแรงผลักดันในการกลับมาสู้ใหม่ แต่ก่อนอื่นต้องรีบกลับมาตั้งหลักโดยการกลับไปอ่านคอมเมนต์ของกรรมการประเมินว่าเรามีข้อบกพร่องอะไรบ้างแล้วกลับมาปรับปรุงแก้ไขในการพัฒนาตัวเองและพัฒนานักเรียน ซึ่งหลังจากที่เราไม่ผ่านการประเมินเราต้องกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราพลาดตรงไหน? เมื่อตรวจสอบแล้วตั้งสติจึงได้รู้ว่าข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อรู้สึกผิดหวังหรือท้อแท้ ต้องรีบหากำลังใจมาจากคนที่เรารัก เช่น มาจากครอบครัว เพื่อนร่วมงาน บุคคลรอบข้างที่ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจได้เป็นอย่างดี เมื่อไม่ผ่านการประเมินจะเกิดเป็นแรงกระแทก คุณครูจะต้องสร้าง Mindset ที่ดีในการพัฒนาตนเอง โดยการเปิดใจรับฟังข้อชี้แนะของคณะกรรมการนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองในการกลับมาต่อสู้ใหม่อีกครั้ง
ในการประเมินที่ไม่ผ่านจะได้รับคำแนะนำหรือข้อคอมเมนต์ของคณะกรรมการ คุณครูจะต้องรีบเอามาดูอย่างละเอียดทุกตัวชี้วัดว่ามีข้อบกพร่องจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์ วPA สิ่งที่สำคัญคือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ 8 ตัวชี้วัดและเหมาะสมกับผู้เรียน สื่อการสอนที่หลากหลาย และการวัดประเมินผลที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนนั่นเองยกตัวอย่างประเด็นที่กรรมการคอมเมนต์แยกออกเป็นด้านๆได้ ดังนี้ คือ
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน แยกเป็นข้อๆได้ดังนี้
1.เนื้อหาไม่ตรงตามหลักสูตร
2.การบันทึกหลังสอนไม่แสดงถึงปัญหา ไม่ได้แจ้งว่าบรรลุวัตถุประสงค์
3.การออกแบบที่กิจกรรมที่ผู้เรียนไม่ได้สรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง และ 4.กิจกรรมไม่ตรงตามแผนการจัดการเรียนรู้
ด้านที่2 ด้านผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้คือ
1.ผลการปฏิบัติของผู้เรียนไม่สะท้อนการจัดการเรียนการสอนของครู
2.ผู้เรียนขาดผลงานหรือผลการปฏิบัติที่สะท้อนถึงการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และ
3. ผู้เรียนขาดทักษะเฉพาะทางและทักษะการจัดการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
จุดสำคัญที่มาปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ในรอบที่สองให้ผ่านการประเมิน นอกจาการที่ต้องปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆที่คณะกรรมการได้ให้ข้อคิดเห็นแล้วจะต้องดำเนินการที่จะต้องยึดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจะต้องส่งผลทั้ง 3 องค์ประกอบคือ พุทธิพิสัย ทักษะวิสัย และจิตพิสัย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อนักเรียน และดำเนินการตามแผนปฏิบัติ จนสามารถนำปัญหามาเป็นประเด็นท้าทาย เพื่อเสริมให้ผลสัมฤทธิ์ของเด็กมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นข้อดีของการเป็นครูนั้นมีมากกว่าการเป็นอาชีพเมื่อคุณครูประเมินไม่ผ่านคุณครูจะต้องเข้มแข็งและต้องรีบลุกขึ้นมาใหม่ในการเริ่มต้นอีกครั้งเพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นว่าทำไมเรามีข้อบกพร่องหรือมีปัญหาอะไร เมื่อทราบปัญหาแล้วสิ่งที่สำคัญจะต้องสร้างทัศนคติเชิงบวกที่ถูกต้อง จนกลายเป็นแรงบันดาลใจในการรีบดำเนินการพัฒนาตัวเองพัฒนางานเพื่อให้ผ่านการประเมินนี้ไปให้ได้เพื่อสร้างความมั่นใจกำลังใจให้ตัวเองผ่านเรื่องราว และประสบความสำเร็จได้จนสามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตต่าง ๆ ไปได้เพื่อให้ตนเองได้ใช้ศักยภาพของตนได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตต่อไป
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่ • FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz • FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019 • YOUTUBE : Starfish Labz Channel
วิดีโอใกล้เคียง
เทคนิคการเชื่อมโยงด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ให้ร้อยรัดกัน
คิดค้นและปรับเปลี่ยน โจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA
ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
คอร์สใกล้เคียง
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)