เทคนิคการเชื่อมโยงด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ให้ร้อยรัดกัน
การตอบโจทย์ วPA ให้ได้ผลการประเมินผ่านที่สำคัญที่สุด คือการเชื่อมโยง ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ของผู้เรียน ให้สอดคล้องและร้อยรัดกันอย่างมีมิติ ต้องมีการเชื่อมโยงด้านที่1และด้านที่ 2 เข้าด้วยกันอย่างดี อย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนเกิดผลลัพธ์ที่ดีและสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
ในการประเมิน วPA สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ครูพึงปฏิบัติในการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ ซึ่งจะต้องให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กจริง สามารถบอกได้ว่า สิ่งที่เป็นปัญหาคืออะไร ดำเนินการอย่างไร มีระยะเวลาแค่ไหน และสิ่งที่คาดหวังหรือสิ่งที่จะดำเนินต่อไป ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อนักเรียน และดำเนินการตามแผนปฏิบัติ กรณีที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ สามารถนำปัญหามาเป็นประเด็นท้าทาย เพื่อเสริมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและมีมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเขียนแผนที่ดี มีคุณภาพ สอดคล้องกับตัวชี้วัดทั้ง 8 ตัวชี้วัด จนสามารถที่จะตอบโจทย์ของการประเมิน วPA ได้อย่างมีคุณภาพ ความท้าทายของคุณครูในการประเมินรูปแบบใหม่จะต้องเรียนรู้ในสิ่งใหม่อย่ายึดติดกับรูปแบบเก่า หรือกรอบเดิมๆในการประเมินเพราะในการประเมิน วPA ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากเป็นงานที่ทำอยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญจะเป็นการดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนนั่นเอง
วิธีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาตัวเองเพื่อรับการประเมินของครู ครูต้องจัดกิจกรรมการสอนในเรื่องที่ตัวเองมั่นใจและมีความถนัดในเนื้อหาและรายวิชานั้นๆส่งผลต่อการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ อาจจะเป็นกิจกรรมที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กสัมผัสได้ เช่นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชนเป็นต้น แต่ที่สำคัญครูจะต้องรีโฟกัสใหม่ นั่นคือปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายว่าเราจะไม่ได้ประเมินแบบเดิมจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ อาจจะสอนแบบเดิมแต่จะต้องโฟกัสไปที่นักเรียนเป็นสำคัญ และที่สำคัญกว่านั้นจะต้องโฟกัสไปที่ห้องเรียน ดังนั้นครูจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ชัด มององค์ประกอบให้ขาดและต้องมาตรวจสอบว่า การจัดการเรียนการสอนครูได้เน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลต่อผลลัพธ์ของนักเรียน
การรีเช็กหลังจากการออกแบบการสอนมาอย่างดี ครูต้องมารีเช็กโดยการใช้ PLC ที่เกิดจากแพชชั่นของผู้ร่วมอุดมการณ์ถือได้ว่าสำคัญมาก (วPA ทำให้เกิด) เนื่องจากกระบวนการ PLC เป็นเครื่องมือที่ทั่วโลกใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน สุดท้ายผลลัพธ์ (การสะท้อน) ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรสุดท้ายครูต้องมาสะท้อนว่าผลลัพธ์จะเกิดกับผู้เรียนแค่ไหน เกิดอย่างไร โดยการนำ 4R มาใช้ในการพัฒนา
สิ่งสำคัญที่สุดในการที่จะพัฒนาในด้านที่ 1และด้านที่ 2 ให้สอดคล้องกันโดยการใช้เทคนิคพิเศษในการนำมาเชื่อมโยงให้ร้อยรัดกันนั้นมีกลยุทธ์ที่สำคัญที่ครูต้องคำนึงถึง ดังนี้
1.จุดประสงค์ที่ดีต้องระบุให้ครอบคลุมการวัดผลประเมินผลที่ต้องวัดคือ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ หรือทักษะกระบวนการ (Process) และ ด้านคุณธรรมจริยธรรม (Affective/Attitude) นั่นคือ KPA ดังนั้น การออกแบบกิจกรรม ภาระงาน หรือชิ้นงาน จะต้องให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างชัดเจนสัมพันธ์กับด้านที่ 2 นั่นก็คือผลลัพธ์ของผู้เรียนนั่นเอง
2.ศึกษาเกณฑ์การประเมินให้เข้าใจ จนเข้าใจธรรมชาติของวิชา ศึกษาบริบทของนักเรียน ศึกษาจนเข้าใจว่าเนื้อหาวิชาใดที่ที่ครูจะเลือกนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุผลตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ครูได้ตั้งไว้ จนสามารถออกแบบชิ้นงาน และออกแบบกิจกรรมจนผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ตามที่ครูต้องการ
ดังนั้นหัวใจของการจัดการเรียนรู้คือ จุดประสงค์การเรียนรู้นั่นเอง เพราะจุดประสงค์การเรียนรู้คือ สิ่งที่นำพาผลลัพธ์ที่คาดหวังหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ถ้ามีจุดประสงค์ชัดเจน ก็จะสามารถจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์จนสามารถเกิดผลลัพธ์ตรงตามที่เราตั้งไว้นำไปสู่ปลายทางในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อควรระวังในการจัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
1.ในเรื่องของเวลาในการจัดกิจกรรมที่เราไม่สามารถควบคุมได้ในการดำเนินการ
2.ความเป็นธรรมชาติของความเป็นครูเช่นในเวลาอัดคลิป อาจจะไม่เป็นตัวของตัวเอง อาจจะมีความตื่นเต้น ตื่นเกร็ง ทั้งครูและนักเรียน อาจจะไม่เป็นไปตามธรรมชาติในขณะที่ทำจัดการเรียนรู้
3.การวัดและประเมินผลที่วัด KPA ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างชัดเจน
เห็นได้ว่าสิ่งที่จำเป็นในการช่วยครูให้ประเมินได้ผ่านครูจะต้องสามารถเชื่อมโยง ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ของผู้เรียน ให้สอดคล้องและร้อยรัดกันอย่างดี ครูอาจจะดูมาตรฐาน ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ เนื้อหาที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้เรียน ระดับความยากง่าย และที่สำคัญคือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอนที่ และการวัดประเมินผลที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
📍 สนใจเนื้อหา เพิ่มเติม ศึกษารายละเอียดได้จาก
✅ บูรณาการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : bit.ly/3HlaiEr
✅ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ Integrated Instruction : bit.ly/3ukpnm4
✅ บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : bit.ly/3J1f8Hr
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่
• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz
• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019
• YOUTUBE : Starfish Labz Channel
• INSTAGRAM : www.instagram.com/starfishlabz/
วิดีโอใกล้เคียง
ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
คิดค้นและปรับเปลี่ยน โจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA
สร้างบรรยากาศเชิงบวกในห้องเรียนอย่างไรให้ผ่าน วPA
คอร์สใกล้เคียง
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)