การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ
ผลลัพธ์ของผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ เรื่องการสอนก็เช่นเดียวกัน เมื่อคุณภาพผู้เรียนเป็นผลที่เกิดจากคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนที่มาจากความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี
การออกแบบการจัดการเรียนรู้จึงเป็นสมรรถภาพที่สำคัญของครูผู้สอน และในครั้งนี้จะเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนไอเดียเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับระดับปฏิบัติการที่คาดหวังตามวิทยฐานะ
เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานตามระดับปฏิบัติงาน วPA สำหรับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ แบ่งตามระดับดังนี้
1) ครูผู้ช่วย ระดับปฏิบัติและเรียนรู้ จัดการเรียนการสอนตามปกติ โดยเริ่มจากขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป ให้บรรลุจุดประสงค์ในการสอน
2) ครู (ปรับประยุกต์) สามารถปรับประยุกต์ความรู้ แนวคิด วิธีการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทและความแตกต่างของผู้เรียน
3) ครูชำนาญการ (แก้ไขปัญหา) รับรู้และสามารถแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนที่พบอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้
4) ครูชำนาญการพิเศษ (ริเริ่ม พัฒนา) สามารถหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิดดีขึ้น และเป็นแบบอย่างที่ดีได้
5) ครูเชี่ยวชาญ (คิดค้น ปรับเปลี่ยน) สามารถคิดค้น ปรับเปลี่ยน สร้างสรรค์สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการยกระดับการทำงาน การจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น และพัฒนาผู้เรียนให้ค้นพบองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นแบบอย่างและให้คำปรึกษาผู้อื่นได้
6) ครูเชี่ยวชาญพิเศษ (สร้างการเปลี่ยนแปลง) สามารถคิดค้น พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เผยแพร่ และขยายผลจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวงวิชาชีพ เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาการศึกษาได้
อย่างไรก็ตาม กระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ สิ่งสำคัญคือ ครูจะต้องเขียนรายละเอียดให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น วิชาที่สอน ชั้นเรียนที่สอน ชั่วโมงสอน วันที่การสอน มาตรฐานสาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัด หน่วยการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา การออกแบบการสอน/กิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดโดยเริ่มจากขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป แผนการจัดการเรียนรู้สื่อการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียน และเชื่อมโยงสู่การพัฒนาศักยภาพทางวิชาชีพของครูตามมาตรฐานวิทยฐานะได้อีกด้วย ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่…..bit.ly/42AdnLe
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู