"การประเมินวิทยฐานะแบบใหม่"
เมื่อพูดถึงการประเมินแบบใหม่ ในการเริ่มต้นของ PA เริ่มประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 และเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 ตุลาคม 2564 หลายๆ ท่าน เริ่มสับสน เริ่มคลำทิศทางกันไปต่าง ๆ นานา มีเหล่าผู้นำหลายๆ ท่านที่พยายามบอกว่าระบบนี้ดีอย่างไร? แต่ก็ยังไม่เข้าใจถึงแก่นของ PA
ในช่วงที่ PA เริ่มใช้ วันนั้นหลายท่านที่มีความรู้พอแนะนำโรงเรียนต่างๆ ได้ คงไม่มีเวลาพักเลย หนึ่งในนั้นก็คือ ครูสายบัว ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ได้มีโอกาสให้ความรู้ให้กับหลาย ๆ โรงเรียนทั่วประเทศ ทั้งรูปแบบออนไลน์ (Online) และออนไซต์ (Onsites) ไม่มีวันพัก อบรมแม้กระทั่งช่วงค่ำ เพื่อให้หลายๆ โรงเรียนจับต้นชนปลายของ PA ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามบริบทของโรงเรียนหลายครั้ง หลายๆโรงเรียนต่างมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ในการนำ PA ไปสู่การปฏิบัติความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่าง มาตรา 55 การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ และ มาตรา 54 การประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ทำให้คุณครูผู้ปฏิบัติมีความกังวลใจในระบบการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่มาตรา 55 เป็นการขับเคลื่อน PA ภายในสถานศึกษา เพื่อกำหนดเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ พัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามบริบทของโรงเรียนในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้นคุณครูที่เริ่มจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) เขียน PA1 โดยใช้แบบฟอร์ม PA1 ตามวิทยฐานะปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เมื่อเสนอ PA ต่อผู้อำนวยการโรงเรียนแล้วทุกท่านใช้ PA เป็นเครื่องมือนำทางไปสู่ความสำเร็จ ไปสู่การพัฒนาผลลัพธ์ของผู้เรียน โดยการปฏิบัติงานตามหน้างานปัจจุบันของตนเอง มาตรา 55 เป็นการส่งเสริมให้คุณครูเข้าใจหน้างานและหันกลับมาใส่ใจหน้างานมากขึ้น การขับเคลื่อนตามมาตรา 55 คุณครูทุก ๆ ท่าน ทุก ๆ วิทยฐานะ ดำเนินงานตามหนIางานปกติ ไม่ได้เกี่ยงว่าคุณครูท่านนี้จะเลื่อนวิทยฐานะ หรือคงวิทยฐานะ หากทำงานอย่างเป็นระบบและเข้าใจถึงแก่นของ PA คุณครูจะมีความสุขในการทำงาน ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนนั่นเอง เมื่อดำเนินการขับเคลื่อน PA จนสิ้นสุดปีงบประมาณคุณครูทุกท่านจะถูกประเมิน PA เพื่อสรุปผลการประเมิน PA3 นำเข้าสู่ระบบ DPA เป็นการดำเนินงานสิ้นสุดในแต่ละปีงบประมาณ ผลการประเมิน PA ที่เข้าสู่ระบบ DPA จะใช้เป็นคุณสมบัติหนึ่งของผู้ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะนั่นเอง
ส่วน มาตรา 54 เป็นการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ เป็นผลพลอยได้จากการดำเนินงานตามมาตรา 55 เป็นผลจากการปฏิบัติงานตามหน้างานของคุณครูที่ใส่ใจในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และอยากมี
ความก้าวหน้าในวิชาชีพ มาตรา 54 สำหรับคุณครูที่มีคุณสมบัติครบเป็นไปตามเกณฑ์ ว9/2564 จะสามารถยื่นคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะได้ โดยสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 54 คือ ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรูIของผู้เรียน และด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการจะเห็นได้ว่า คุณครูที่ยื่นผลงานด้านที่ 1 และด้านที่ 2 คือคุณครูที่จะขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการ และครูชำนาญการพิเศษ ส่วนคุณครูที่ยื่นทั้ง ด้านที่ 1 ด้านที่ 2 และด้านที่ 3 คือ ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ ในการรายละเอียดนี้ครูสายบัวขอเล่าด้านที่ 1 ด้านที่ 2 เพื่อความเข้าใจตรงกันว่า ในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ สำหรับท่านใดที่เข้าสู่มาตรา 54 เป็นการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ ดังนั้นการจัดทำผลงานด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ให้สอดคล้องกับวิทยฐานะที่จะขอมีหรือขอเลื่อนนั่นคือ สมมุติว่าถ้าคุณครูจะขอมีหรือขอเลื่อนเป็นครูชำนาญการ -> แผนการจัดการเรียนรูI คลิปการสอน จะต้องสอดคลIองกับครูชำนาญการ ถ้าจะขอมีหรือขอเลื่อนเป็นครูชำนาญการพิเศษ ->-> แผนการจัดการเรียนรู้คลิปการสอน จะต้องสอดคล้องกับครูชำนาญการพิเศษ นั่นเอง หลักการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ PA4 ของวิทยฐานะที่จะขอมีหรือขอเลื่อน และสิ่งสำคัญอย่าลืมศึกษาเกณฑ์การประเมินและการถ่ายทำคลิปการสอนด้วย ว15/2565จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ที่หลาย ๆ ท่านอาจจะสงสัยว่าประเด็นท้าทายที่เกิดจากมาตรา 55 จำเป็นต้องสอดคล้องกับคลิปการสอนในมาตรา 54 ที่ส่งขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะหรือไม่ถ้าหากคุณครูเข้าใจหลักการของมาตรา 55 และ มาตรา 54 และ ในข้อสงสัยเรื่องประเด็นท้าทายไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกัน หรือถ้าคุณครูท่านใดสามารถทำเรื่องเดียวกันได้ก็ไม่ผิดอะไรเมื่อคุณครูเข้าใจหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแบบใหม่นี้แลIว เข้าใจหน้างานของตนเอง เข้าใจการปฏิบัติงานตามมาตรา 55 และ มาตรา 54 แล้ว คุณครูจะไม่กังวลหรือมีข้อคำถามของการปฏิบัติหน้างานที่เป็นหน้างานหลักของครูผู้สอน และมีความสุขในการปฏิบัติงานและวันนี้ได้รับเสียงสะท้อนจากครูหลายๆท่าน ความปิติ ยินดี และความเข้าใจในระบบการประเมินวิทยฐานะแบบใหม่ การประเมินไรIเอกสาร เริ่มมีการตอบรับที่ดีขึ้น คุณครูเริ่มเข้าใจและเรียนรูIกับการประเมินในรูปแบบใหม่นี้ และสิ่งสำคัญคือคุณครูเริ่มหันกลับมาใส่ใจหน้างานของตัวเองมากขึ้น
Back to school
Focus on classroom
Teacher as a key success
School as learning organization
ขอขอบพระคุณท่าน ดร. ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. และคณะทำงาน สำนักงาน ก.ค.ศ. ทุกๆท่านเป็นอย่างสูง สิ่งที่ท่านพูดตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี เริ่มเกิดขึ้นแล้ว และทำให้คุณครูได้เห็นว่า"ระบบวิทยฐานะแบบใหม่นี้อาจยังไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุด แต่เป็นระบบที่ตั้งใจนำ "ศรัทธาแห่งวิชาชีพครูคืนมา" "ระบบวิทยฐานะใหม่ ไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแค่หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน แต่ต้องการเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ของ ผอ.โรงเรียนและครูด้วย" "คุณครูจะได้ไม่เสียค่าผ่าไหม" เป็นถ่อยคำหนึ่งที่ท่าน ดร.ประวิต เอราวรรณ์ บอกไว้ให้กับครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงฯ ขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงที่ผลักดันให้เกิดการประเมินแบบใหม่ในครั้งนี้ และขอให้ระบบมีความเสถียรไม่ปรับปลี่ยนจากปัจจัยภายนอก อยู่คู่กับครูไทยไปนานๆ เมื่อคุณครูมีความสุขส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนนั่นเองพลิกโฉมการเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีสอนสุดท้ายขอแสดงความยินดีกับคุณครูที่อยู่ในสถานะที่ 4 รอคำสั่งอนุมัติทุกๆ ท่านค่ะ
เรื่องเล่าจาก ครูสายบัว พิมพ์มหา ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย สพม.ขอนแก่น
บทความใกล้เคียง
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ
10 นวัตกรรม Highlight จากครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ Season 3
Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)