10 นวัตกรรม Highlight จากครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ Season 3
3 องค์กรภาคีเครือข่าย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) นำโดย ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครู เเละสถานศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) นำโดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และ Starfish Education นำโดยดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร จัดกิจกรรม Show & Share Teacher Hero Season 3 ภายใต้โครงการครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ season 3 เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัดในการพัฒนาห้องเรียนให้มีคุณภาพ
ในกิจกรรมนี้ได้มีครูฮีโร่ 30 ท่านมานำเสนอนวัตกรรมในชั้นเรียนของตนเอง ซึ่งแต่ละนวัตกรรมมีความโดดเด่น และหลากหลายไม่แพ้กัน แต่วันนี้ Starfish Labz ขอนำตัวอย่างนวัตกรรมจากคุณครู 10 ท่านมาเบื้องต้น เพื่อเป็นไอเดียและแรงบันดาลใจให้กับคุณครูอีกหลายๆ ท่านที่อยากเริ่มสร้างนวัตกรรมในชั้นเรียนของตนเอง ไปดูกันเลยว่ามีนวัตกรรมอะไรกันบ้าง…
คนที่ 1 : นายพันเลิศ จำนงค์ถ้อย (ครูเคน) โรงเรียนบ้านอีมาดอีทราย ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่า สร้างห้องเรียนให้ Active ผ่านการใช้วิดีโอการสอนที่เป็น Active Learning โดยรูปแบบ KARENG MODEL จุดเด่นของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือ การออกแบบกิจกรรมในวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นป. 4 ที่ตอบโจทย์ทั้ง 8 ตัวชี้วัด เช่น กิจกรรมจำนวนนับไม่เกิน 100,000 และ 0 และกิจกรรม เกมพาทัวร์ประจำหลัก EP.2 ซึ่งจากการที่ครูสร้างนวัตกรรมนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับนักเรียน เช่น นักเรียนเปิดใจกับวิชาที่เรียน และเรียนอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงกับครูในด้านความคิด และวิธีการสอนของตัวเองให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าไปศึกษานวัตกรรมของครูเคนเพิ่มเติมได้ที่ เพจครูหลังเขา แต่รู้ทันเขา https://www.facebook.com/profile.php?id=100086789512888
คนที่ 2 : นางอัจฉรา สักขินา (ครูอ้อม) โรงเรียนชุมชนบ้านหนองปลิง ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่า นวัตกรรม STEM การตกของร่มชูชีพ จุดเด่นของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือ คุณครูนำวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์มาบูรณาการ ออกแบบให้เกิดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดแก้ไขปัญหา เชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่ และเด็กได้ลงมือทำจริง ซึ่งหัวใจที่สำคัญคือ การที่ครูให้ผลสะท้อนป้อนกลับกับนักเรียน ซึ่งจากการที่ครูสร้างนวัตกรรมนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับนักเรียน คือ นักเรียนรอคอยและเปิดใจกับวิชาวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น และคุณครูก็มีความสุขในการสอนมากยิ่งขึ้น ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเปลี่ยนไปสามารถเข้าไปศึกษานวัตกรรมของครูอ้อมเพิ่มเติมได้ที่ https://youtube.com/@user-gb9tf3ew4o
คนที่ 3 : นายอัซฮา บูละ (ครูฮา) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไม้แก่น ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่า METAVERSE กับกระบวนการพัฒนา 8 ตัวชี้วัด เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาโดยใช้เว็บไซต์ spatial.io ในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย จุดเด่นของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือ การจำลองการเรียนรู้ในโลกเสมือนจริงที่มีการโต้ตอบกันและมีภารกิจงานที่ต้องทำ ทำให้ห้องเรียนเป็นเหมือนวิดีโอเกมที่ทำให้นักเรียนรู้สึกกระตือรือร้นที่จะทำงานให้สำเร็จ และสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งจากการที่ครูสร้างนวัตกรรมนี้ ทำให้เกิดการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ มีทักษะด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา ส่งผลให้ครูผู้สอนมีความสุข มีกำลังใจในการคิดค้นนวัตกรรมการเรียนรู้อื่นๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับนักเรียนต่อไปสามารถเข้าไปศึกษานวัตกรรมของครูฮาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/hatu.mohkorpae/videos/674217164199363/?mibextid=Nif5o
คนที่ 4 : นางสาวสุภาดา คำตา (ครูลูกตาล) วิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่า “การออกแบบผังเกษตรทฤษฎีใหม่” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย icograms ง่ายๆ จุดเด่นของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือ ต้องการพัฒนากิจกรรมให้นักเรียนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้เพื่อจัดทำชิ้นงานในเชิงสร้างสรรค์ได้ โดยกิจกรรมจะเป็นรูปแบบ GBL ที่นักเรียนจะได้รับความสนุกสนานร่วมกับการสร้างสรรค์ชิ้นงาน พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบอย่างเป็นระบบ การทำงานเป็นทีม รวมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดเชิงสร้างสรรค์ได้ ซึ่งจากการที่ครูสร้างนวัตกรรมนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับนักเรียนในเรื่องการทำงานเป็นทีม มีการกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น มีการออกแบบวิเคราะห์ รวมถึงมีวางแผนกลั่นกรองร่วมกันภายในกลุ่มก่อนการนำเสนอสะท้อนคิดจากโจทย์ปัญหาที่ให้ และคุณครูได้เรียนรู้ที่จะปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับอายุของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ สามารถเข้าไปศึกษานวัตกรรมของครูลูกตาลเพิ่มเติมได้ที่
Fanpage Facebook ห้องเรียนครูลูกเต่า https://www.facebook.com/tapabnumclass
Website Inskru บทความ : https://inskru.com/profile/6942
คนที่ 5 : นางสาววนิดา คุณสิน (ครูเหมี่ยว) โรงเรียนบุรพรัตน์วิทยาคาร ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่า “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ เกมเป็นฐาน (Game-based learning) และบอร์ดเกมจับคู่กันนะเจ้าเหมียว (Matching Scratcher)” เป็นการฝึกให้นักเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จุดเด่นของนวัตกรรมนี้ที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือ จากเดิมที่นักเรียนอาจเบื่อการท่องศัพท์ที่ใช้เขียนโปรแกรมซ้ำๆ คุณครูจึงได้ลองศึกษาหานวัตกรรมที่เข้าบริบทนักเรียน ซึ่งได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based learning) ซึ่งทำให้นักเรียนเกิดความสนใจและเกิดการจดจำไปอย่างไม่รู้ตัว และสนุกสนานในการเรียน รวมทั้งก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการเขียนโปรแกรมของนักเรียน ซึ่งจากการที่ครูสร้างนวัตกรรมนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับนักเรียน เช่น การกล้าแสดงออก มีทัศนคติที่ดีต่อการเขียนโปรแกรม ได้ฝึกคิด แก้ไขปัญหาผ่านการเล่นบอร์ดเกม และคุณครูก็เกิดความภูมิใจและแรงบันดาลใจที่ได้เห็นนักเรียนสนใจในกิจกรรมการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นสามารถเข้าไปศึกษานวัตกรรมของครูเหมี่ยวเพิ่มเติมได้ที่https://www.facebook.com/gmmeowna
คนที่ 6 : นายมาตรา ยอดจันทร์ (ครูมาตร) โรงเรียนเทศบาล ๓ (วัดท่ามะปราง) ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่า ‘ห้องเรียนฐานสมรรถนะ เรียนปนเล่น’ พัฒนาทักษะการฟังและการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อวิดีทัศน์แบบปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเว็ปไซต์และแอปพลิเคชั่น เรื่อง Test Tubes สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6’ จุดเด่นของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือ การนำแนวคิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experiental Learning) ทั้ง 4 ขั้นมาเชื่อมโยงกับ 8 ตัวชี้วัด โดยขั้นที่ 1 คือ ขั้นสัมผัสประสบการณ์ (Concrete Experience) นักเรียนจะได้เล่นเกม Vocab Wheel แล้วอ่านออกเสียง ขั้นที่ 2 คือ สะท้อน ดู คิดใคร่ครวญ นักเรียนจะได้ฝึกฟังและอ่านออกเสียง พร้อมรับรู้ความหมาย ด้วยวิดีทัศน์ ขั้นที่ 3 คือ ตกผลึก ฝึกใช้ นักเรียนนำความรู้มาใช้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ครูจะคอยช่วยเหลือและให้ฟีดแบ็ก ขั้นที่ 4 คือ ขั้นสรุปการเรียนรู้ นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ได้รับจากกิจกรรม และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจากการสร้างนวัตกรรมนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวนักเรียนในเรื่องการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เกิดสมรรถนะในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาเรียนรู้ภาษาอังกฤษในเรื่องอื่น ๆ อีก และคุณครูเองก็เกิดความภาคภูมิใจที่นวัตกรรมสามารถทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการพัฒนาทักษะด้านภาษาได้ด้วยเช่นกัน สามารถเข้าไปศึกษานวัตกรรมของครูเหมี่ยวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/rumashare สื่อการจัดการเรียนรู้ ตามลิงค์ https://sites.google.com/view/englishlearningspace
คนที่ 7 : นายนจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ) โรงเรียนวัดปรังกาสี ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่านวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) จุดเด่นของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือ การนำองค์ความรู้ของชุมชน มาสู่ห้องเรียน เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ ภาษา ศาสนา ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นต้น นำสิ่งเหล่านี้มาจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนอย่างมีกระบวนการขั้นตอน โดยนักเรียนมีบทบาทเป็นนักสำรวจ นักสอบถาม นักวิเคราะห์ นักเคราะห์ นักเล่าเรื่อง และนำเสนอด้วยวิธีการต่างๆ ที่ตนเองถนัดหรือสนใจ และครูมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยการความรู้ เป็นโค้ชในกิจกรรม ใช้คำถามกระตุ้นการคิดของนักเรียน เพื่อให้เกิดประเด็นเรียนรู้กับนักเรียน ซึ่งครูเจมองว่าการสร้างนวัตกรรมนี้จะช่วยให้นักเรียนชั้นม.1-ม.3 จากที่ไม่เคยรู้จักอัตลักษณ์ในชุมชนตัวเอง จะกลับมาเข้าใจ และรู้จักของดีในชุมชนของตัวเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการสร้างนวัตกรรมนี้ส่งผลให้นักเรียนสามารถระบุจุดแข็งและอัตลักษณ์ของชุมชน มีความใกล้ชิดกับชุมชน รู้สึกเป็นเจ้าของ และที่สำคัญ นักเรียนได้นำองค์ความรู้รวมถึงกระบวนการที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมคู่มือท่องเที่ยวชุมชน ชื่อว่า เที่ยวท่องปร่องกาสิ๊ ซึ่งเป็นการนำเสนอในรูปแบบหนังสือทำมือที่นักเรียนมีความถนัดที่สุด ซึ่งทำให้คุณครูเจรู้สึกประทับใจและภูมิใจ ที่ได้เห็นพัฒนาการของนักเรียน และนักเรียนมีความสุขกับการเรียนประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น สามารถเข้าไปศึกษานวัตกรรมของครูเจเพิ่มเติมได้ที่ เพจ TeacherJay https://www.facebook.com/profile.php?id=100066403604144&mibextid=ZbWKwL
คนที่ 8 : นางสาวกฤษณา สถิตย์เกิด (ครูหญิง) โรงเรียนบ้านเขาพริกอนุสรณ์ ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่า การพัฒนาเทคนิคการสอน SIX WRITING STEPS เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ วิชาภาษาอังกฤษ จุดเด่นของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี 6 ขั้น ดังนี้ Step 1 : สำรวจกลไกงานเขียน (Mechanism) ผู้เรียนสำรวจประสบการณ์เกี่ยวกับ งานเขียนโดยการฝึกเขียนตามข้อความต้นแบบ (Handwriting) Step 2 : สร้างกรอบความคิด (Concept) ผู้เรียนศึกษาภาพที่ใช้เป็นสื่อและระดมสมอง พร้อมทั้งแสดงความคิดที่หลากหลาย ตามหัวข้อดังนี้ Who, What, Where และ When และนำงานเขียนมาต่อยอดในรูปแบบของแผนผังความคิด (Mind mapping) ได้แก่ Noun, Verb, Adjective และ Preposition นำไปสู่งานเขียนใน Step 3 ต่อไป Step 3 : ต่อติดคำเพิ่ม (Words) ผู้เรียนทบทวนความรู้ และประสบการณ์จากงานเขียน Step 4 : เติมเต็มประโยค (Sentences) ผู้สอนอธิบายความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างหลักไวยากรณ์ในงานเขียนครั้งนี้และให้รูปแบบงานเขียน และทบทวนงานเขียนร่วมกับผู้สอน Step 5 : เชื่อมต่อประสาน (Linking) ผู้สอนอธิบายความรู้เกี่ยวกับคำเชื่อม (Conjunction) ที่จะนำมาใช้กับงานเขียนครั้งนี้ Step 6 : สร้างงานสะท้อน (Reflect) ผู้เรียนตั้งชื่อเรื่องโดยทบทวนความรู้ Step 1 - 5 และนำเสนอผลงานตนเอง ซึ่งจากการสร้างนวัตกรรมนี้ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่สูงขึ้น และคุณครูเกิดความรู้สึกภูมิใจที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้สามารถเข้าศึกษานวัตกรรมของครูหญิงเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=gTl-kErCung&t=16s
คนที่ 9 : นางสาววินัฎฐา นันตะสุข (แอปเปิ้ล) โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่า “การค้นหาตนเองสู่การออกแบบถนนชีวิต” จุดเด่นของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถวิเคราะห์ตนเอง รู้จักและค้นพบตนเอง สามารถนำไปประกอบการวางแผนชีวิตด้านการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กิจกรรมแนะแนวจึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้ข้อมูล ให้คำแนะนำ รวมถึงการให้คำปรึกษาเพื่อให้นักเรียนได้กลับมาทบทวนตนเอง ซึ่งหากการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนสามารถทำให้นักเรียนได้ทบทวนตนเอง ได้สำรวจตนเอง ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ครูแอปเปิ้ลมีความเชื่อว่านักเรียนจะสามารถค้นพบตนเอง สามารถวางแผนชีวิตในด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคมได้ คุณครูจึงออกแบบกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนไปถึงเป้าหมาย เช่น กิจกรรมการค้นหาตนเอง และกิจกรรมการออกแบบถนนชีวิต เป็นต้น ซึ่งจากการสร้างนวัตกรรมนี้ ส่งผลให้นักเรียนรู้จักออกแบบเส้นทางชีวิตของตัวเอง รู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น และคุณครูก็เกิดความรู้ภูมิใจที่ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักตนเอง ได้เข้าไปในโลกของนักเรียน และเรียนรู้ร่วมกับนักเรียน สามารถเข้าศึกษานวัตกรรมของครูแอปเปิ้ลเพิ่มเติมได้ที่Page Facebookห้องแนะแนว by Kru Apple
https://www.facebook.com/profile.php?id=100064389955876&mibextid=LQQJ4d
และห้องสื่อครูแนะแนว https://www.facebook.com/profile.php?id=100076241893169
Youtube ชื่อว่า ห้องแนะแนว by Kru Apple https://www.youtube.com/@bykruapple1496
คนที่ 10 : นางสาวปรัชนียา มาวัชระ (ครูแตงโม) โรงเรียนวัดสวนส้ม (สุขประชานุกูล) ได้สร้างนวัตกรรมที่มีชื่อว่า “Unplugged coding Ver. Kindergarten บทเรียนโค้ดดิ้งของเด็กปฐมวัย (สำหรับห้องเรียนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์)” เป็นการประยุกต์ตัวชี้วัด ทักษะพื้นฐาน และกิจกรรมของโค้ดดิ้งให้เข้ากับบทเรียนและช่วงวัยของน้องอนุบาล โดยเน้นกระบวนการคิดและทำงานแบบกลุ่มเป็นสำคัญ รูปแบบกิจกรรมถูกปรับให้สามารถใช้ได้ในทุกห้องเรียน อุปกรณ์ที่ใช้เน้นเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดหาได้ง่ายและมีอยู่แล้วภายในห้องเรียนอนุบาล เช่น สีน้ำ ดินน้ำมัน จุดเด่นของนวัตกรรรมที่ตอบโจทย์ 8 ตัวชี้วัด คือ เน้นให้ผู้เรียนมีความคิดรวบยอด คิดเป็นเหตุเป็นผลและคิดแก้ปัญหานั้น หาเหตุผลของการกระทำได้ จึงเกิดเป็นแนวคิดในการนำกระบวนการโค้ดดิ้งมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของระดับชั้นปฐมวัย ซึ่งจากการสร้างนวัตกรรมนี้ทำให้นักเรียนสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จในเวลาที่จำกัด มีการค้นหาวิธีการต่างๆ ที่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาจากโจทย์ที่กำหนดได้ และเมื่อคุณครูเปลี่ยนวิธีการสอนเป็นกระบวนการโค้ดดิ้ง ครูได้สังเกตวิธีการแก้ปัญหาของเด็กกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดและค่อนข้างเซอร์ไพร์สกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จนนำกิจกรรมโค้ดดิ้งไปพัฒนาต่อยอดกับบทเรียนถัดๆไปสามารถเข้าศึกษานวัตกรรมของครูแอปเปิ้ลเพิ่มเติมได้ที่ เพจ ห้องเรียนโค้ดดิ้งครูโม.โอ้โฮเฮะ https://www.facebook.com/KruMoClassroom
นอกจากนี้ ครูฮีโร่ 10 ท่านยังได้ให้ไอเดียในการสร้างนวัตกรรมในการชั้นเรียน สำหรับเพื่อนครูที่อยากจะเริ่มต้นสร้างนวัตกรรมในชั้นเรียน Starfish Lab นำมาสรุปออกมาเป็น 10 ข้อ ได้ดังนี้
- เปิดใจว่าการสร้างนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องยาก
- รวมกลุ่มครูที่มีปัญหา/ความต้องการเดียวกัน เช่น ครูกลุ่มสาระเดียวกัน ครูที่สอนในระดับชั้นเดียวกันมาค้นหา วิเคราะห์ และเลือกปัญหาที่ต้องการจะแก้
- สำรวจผู้เรียนด้วย ช่วงอายุ เทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ รวมทั้งเนื้อหาการเรียน ให้มีความเหมาะสมกัน และเหมาะสมต่อบริบทและความพร้อมของสถานศึกษา
- ศึกษาหาข้อมูลประเภทของนวัตกรรมแบบต่าง ๆ
- ลงมือทำทันที!!
- ตลอดกระบวนการ ให้สร้างพื้นที่ปลอดภัย และสนามพลังบวก ใช้จิตวิทยาเชิงบวก เพื่อสร้าง พัฒนา หรือรักษาความสัมพันธ์ที่ดี (เชื่อมใจสู่ใจ เห็นอกเห็นใจกัน) ระหว่างตัวครูและเด็ก ๆ
- รับฟัง feedback จากผู้เรียนและผู้อื่น เช่น เพื่อนครู หรือศึกษานิเทศก์ เพื่อนำมาแก้ไขและพัฒนาต่อไป
- มีการทดสอบ ปรับปรุงนวัตกรรมและรูปแบบกิจกรรมตลอดกระบวนการ
- ครูต้องหาโอกาสในพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
- การวัดผลและประเมินผลนวัตกรรม อาจจะเก็บคะแนนวิเคราะห์ผลการทดสอบ แสดงสถิติเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียน หรือวัดการเรียนการสอนกับนักเรียนว่ามีประสทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นอย่างไร โดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการวัดและประเมินด้วย
หากคุณครูยังไม่จุใจกับ 10 นวัตกรรมนี้ สามารถเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมกับอีก 20 นวัตกรรม ของครูอีก 20 ท่าน ได้ที่ https://fb.watch/ib0rOB1OKZ/?mibextid=re2LRg
บทความใกล้เคียง
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
5 คอร์สออนไลน์ยอดฮิต เรียนฟรี แสนคุ้มค่า จาก Starfish Labz
แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ