Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
“แก่นของวิชาชีพครู คือ การเรียนรู้"
เราจำเป็นต้องไปให้ถึงระดับความคิด ความเชื่อ (Mentality) นั่นคือเปลี่ยนวิธีคิด วิธีสอน วิธีปฏิบัติ ที่คุ้นชินเดิมๆ ระบบวิทยฐานะใหม่ๆ ไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแค่หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน แต่ต้องการเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ของ ผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูด้วย”
จากการยื่นขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว9/2564 ความเข้าใจในหลักเกณฑ์เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากรูปแบบการประเมินได้มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ (ระบบ PA) ผลงานที่ครูจะใช้เพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
ด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการ และในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับเทคนิคเคล็ดลับต่างๆ เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินในด้านที่ 1 ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนการเรียนรู้ คลิปวิดีทัศน์การสอน และคลิปที่แสดงถึงปัญหาที่มาหรือแรงบันดาลใจ ทั้ง 3 ส่วนประกอบกันเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ ว9/2564
สำหรับเทคนิคการทำแผนการจัดการเรียนรู้ และคลิปวิดีทัศน์
1) การกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผู้เรียน หรือชีวิตประจำวันของเด็กได้ ตามมาตรฐาน 8 ตัวชี้วัด
2) การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนตามระดับวิทยฐานะที่คาดหวัง
3) การจัดทำคลิปวิดีทัศน์การสอนเพื่อส่งเป็นผลงานด้านที่ 1 ที่ใช้ประกอบการประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ไม่จำเป็นต้องตรงประเด็นท้าทายที่ระบุไว้ใน PA โดยจุดเน้นของคลิปคือ 8 ตัวชี้วัดที่สะท้อน Performance ในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน แต่สามารถทำให้เป็นเรื่องเดียวกันเพื่อบูรณาการได้ แบ่งออกเป็น
1) ไฟล์วิดีทัศน์บันทึกการสอน ความยาวไม่เกิน 60 นาที ตามบริบทโรงเรียน
2) ไฟล์วิดีทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสนอ ความยาวไม่เกิน 10 นาที
ทั้งนี้ องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ ว9/2564 ได้แก่ สาระสำคัญ จุดประสงค์ตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ กิจกรรม (ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นฝึกปฏิบัติและนำเสนอ ขั้นสรุป) สื่อประกอบ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การบันทึกหลังสอน ผลงาน/ผลลัพธ์ของผู้เรียน และแบบประเมินต่าง ๆ
สำหรับการประเมิน แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
1) ผลงานหรือผลการปฏิบัติจากการจัดการเรียนรู้ของครู
2) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้องถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills)
3) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities)
4) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้องถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross-Function Skills) โดยเทคนิคสำคัญในการประเมิน คือการพิจารณาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมีความสอดคล้องในด้านใด ซึ่งผลลัพธ์ที่จะนำเสนออาจเป็นชิ้นงานหรือผลการปฏิบัติก็ได้
เห็นได้ว่า ในการทำ PA นั้นไม่ใช่เรื่องที่ยาก เพียงแค่ครูเริ่มเปิดใจ เตรียมความพร้อม เข้าใจธรรมชาติของเด็กเป็นหลัก เลือกเนื้อหาหรือเรื่องที่เด็กสนใจ จัดทำแผนการเรียนรู้ และจัดทำสื่อ เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ และสามารถต่อยอดสู่การนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้อีกด้วย ทั้งนี้ สามารถรับชม รับฟังเทคนิค เคล็ดลับดี ๆ อีกมากมายเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/i9FHUgbk9W/ หรือ www.StarfishLabz.com
บทความใกล้เคียง
10 นวัตกรรม Highlight จากครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ Season 3
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...