การสอนให้ Active ตาม 8 องค์ประกอบ
จากการนำ 8 องค์ประกอบ สอดแทรกในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามที่ทาง กคศ. กำหนดใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดของครู เพื่อขอมี/เลื่อนวิทยฐานะในสายการสอน หรือ ว9 นั้น เป็นการส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองในด้านของความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความรู้สายวิชาชีพที่ชำนาญ ทักษะในการสอน หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องที่สอน และเจตคติ จนเกิดเป็นสมรรถนะและใช้ความสามารถของสมรรถนะในการแสดงออกมาในห้องเรียน (Performance) ที่ส่งผลต่อผู้เรียน อีกทั้ง ก.ค.ศ. ต้องการให้วิทยฐานะของครูมีความน่าเชื่อถือและเชี่ยวชาญตามระดับวิทยฐานะ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ก.ค.ศ. ที่ต้องการปรับมุมมองและพัฒนาวิชาชีพครูกลับสู่ห้องเรียน (Focus on classroom) จากการจัดการเรียนรู้ 8 ตัวชี้วัด เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าถึงสิ่งที่เรียน เข้าใจบทเรียนจากเนื้อหามโนทัศน์ที่ถูกต้อง ตรงตามจุดประสงค์และตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนดไว้
สำหรับรูปแบบการสอน Active Learning ได้มีการเริ่มสอนมานานเพียงแต่ว่าวิธีการสอนของแต่ละคนจะมีวิธีการของตนเอง ทาง ก.ค.ศ. จึงได้นำกระบวนการเหล่านี้มาใช้ในการประเมินวิทยฐานะของครู เพื่อเป็นแนวทางถ้าครูอยากพัฒนาตนเองให้มีวิทยฐานะสูงขึ้นควรจะทำแบบใด ในรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อที่ครูจะได้รู้ตนเองในการออกแบบกระบวนการสอนที่จะตอบโจทย์และเป็น Active Learning ที่แท้จริง และสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาตนเองและวิทยฐานะในอนาคต ทั้งนี้ การออกแบบการเรียนรู้แบบ Active ตาม 8 องค์ประกอบ เริ่มจากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี โดยครูต้องเริ่มจากการนำประสบการณ์ของครู ความเข้าใจในเรื่องของ Active Learning, Passive Learning และ Action Learning มาสร้างแผนแบบ Active Learning แล้วนำ 8 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน
2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้
6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้
7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม
8) ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง และองค์ประกอบย่อยมาจัดแผนการเรียนรู้
ซึ่งในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning, Passive Learning และ Action Learning มีความเหมือนหรือต่างกันดังนี้ Active Learning เป็นการเน้นให้นักเรียนฝึกการคิดวิเคราะห์ หรือแนวคิดต่างๆ การระดมความคิด การที่นักเรียนได้ใช้ทักษะการคิดเป็นหลักในการนำเสนอความคิดต่างๆ Passive Learning เป็นการเรียนบรรยายผ่านครู และ Action Learning เป็นการที่ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน การทดลอง การประดิษฐ์ การทำกิจกรรม บทบาทสมมติ ซึ่งเกิดจากการกระทำ โดยแผนของครูจะต้องมีทั้ง 3 ส่วนนี้ เนื่องจากมีตัวชี้วัดว่าครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของสหวิชาของครู กล่าวคือ Active Learning ประกอบด้วย Passive Learning และ Action Learning ฉะนั้น หากครูต้องการขอประเมินในการขอเลื่อนหรือขอมีวิทยฐานะ สิ่งที่ครูจะต้องจัดเตรียมประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ คลิปวิดีทัศน์การสอน และคลิปที่แสดงถึงปัญหา ที่มา และแรงบันดาลใจ ประกอบการประเมิน
สำหรับองค์ประกอบที่สำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ ว9/2564 ประกอบด้วย จุดประสงค์ต้องชัดเจน สาระการเรียนรู้ กิจกรรม(ขั้นนำ/ขั้นสอน/โค้ช/ขั้นสรุป) สื่อประกอบ การวัดและประเมินผล การบันทึกหลังสอน ผลงาน/ผลลัพธ์ของผู้เรียน(ปรากฎในด้านที่ 2) แบบประเมินต่างๆ ทั้งนี้ สิ่งที่จะช่วยให้เห็นตัวชี้วัดมากขึ้น เช่น การใช้คำพูดและคำถามที่ตอบโจทย์ตัวชี้วัด การใช้คำถามปลายเปิด การใช้คำถามตรวจสอบความเข้าใจ การตั้งคำถามที่นักเรียนพอจะตอบได้ เป็นต้น สำหรับคุณลักษณะเสริมของครูจะต้อง มีความยืดหยุ่น ผ่อนคลายแต่ทรงพลัง เช่น เข้าใจ เข้าถึงและช่วยเหลือเมื่อนักเรียนตอบผิด ใส่ใจนักเรียนทุกคนในห้อง ใช้น้ำเสียงและสีหน้าท่าทางอย่างเหมาะสม แม่นยำในเนื้อหา เป็นต้น เพื่อเป็นการพัฒนาการสอน และเข้ากับบริบทของเด็กได้มากขึ้น
ยกตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้มีการวิเคราะห์และเก็บคะแนนแต่ละตัวชี้วัด โดยการบันทึกแต่ละตัวชี้วัดหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นผลการจัดการเรียนรู้ ปัญหา/อุปสรรค แนวทางแก้ไข และผลการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน ภาพรวมของแผนประกอบด้วย ขั้นการจัดการเรียนรู้ (ขั้นกระตุ้นเตรียมความพร้อมและนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นโค้ช ขั้นฝึกปฏิบัติ) ขั้นนำเสนอ ขั้นอภิปรายและสรุป เวลาที่ใช้ บทบาทของครู/นักเรียน และกระบวนการจัดการเรียนรู้
สำหรับผลลัพธ์จากการจัดการเรียนการสอนแบบ Active ตาม 8 องค์ประกอบที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ มีความสามารถในการดำเนินการต่างๆ และนำความรู้ไปใช้แก้ไขปัญหาในอนาคตได้
ดังนั้น การจัดการเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์ ครูจะต้องมีการตรวจสอบความรู้เดิม เข้าถึงนักเรียนที่ยังไม่พร้อม และให้การช่วยเหลือ ครูจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกคิด ฝึกทำงานกลุ่ม ใช้ทักษะที่ตรงกับวิชาเอกที่ครูสอน และทักษะอื่นๆ แบบบูรณาการ ให้นักเรียนได้สะท้อนคิด ให้นักเรียนได้นำเสนอ ครูมีการสังเกตระหว่างสอนและนำสิ่งเหล่านั้นสะท้อนกลับในภาพรวม ครูจะต้องให้นักเรียนประเมินตนเองหรือเพื่อนประเมินเพื่อน รวมถึงการมอบหมายงานให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม และใช้คำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
ครูตะวัน แสงทอง โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ครูอัษฎาวุธ สุขสวัสดิ์
ครูชนาธิป โหตรภวานนท์ โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม
บทความใกล้เคียง
Active Teacher ตอน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ขยายขอบเขตการเรียนรู้อย่างไม่จำกัดด้วย Starfish Labz
PLC Happy Hour การออกแบบบรรยากาศ และรูปแบบในการจัดการเรียนรู้
Active Teacher ตอน การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ เมื่อครูเปิดโอกาสให้เด็กเป็น Active Learner
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...