หยุดรักลูกแบบนี้ ก่อนที่จะลูกจะเสียคนเพราะคุณ
พ่อแม่ทุกคนล้วนรักลูก แต่เชื่อไหมคะว่า ความรักของคุณอาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว มีการเลี้ยงดูลูกแบบผิดๆ มากมายที่เกิดจาก “ความรักลูก” และ”กลัวว่าลูกจะไม่รัก” หากคุณพ่อคุณแแม่กำลังทำสิ่งต่อไปนี้อยู่ ขอให้พิจารณาและไตร่ตรองให้ดี เพราะนั่นแปลว่าคุณพ่อคุณแม่กำลังปลูกฝังนิสัยที่ไม่ดีให้ลูกและแย่ไปกว่านั้นคือ เมื่อลูกโตขึ้น เขาเป็นคนที่ไม่มีใครรัก และไม่สามารถอยู่ร่วมกันคนอื่นในสังคมได้เลย
ดุลูกแบบทีเล่นทีจริง
เมื่อลูกทำผิด แต่คุณเฉยเมยไม่สนใจหรือดุแบบไม่จริงจัง เขาก็ทำอีก ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ทำผิดเรื่อยๆ ซ้ำๆ ไม่สิ้นสุด ที่ร้ายไปกว่านั้นคือลูกไม่รับรู้ด้วยซ้ำว่า สิ่งที่เค้าทำนั้นไม่ดี เช่นเมื่อลูกซนและทำลายข้างของในบ้าน สิ่งที่คุณต้องทำคือดุ เพื่อให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นไม่ดี และต่อด้วยการสั่งสอนลูกให้ทำสิ่งที่ถูกต้องอย่างจริงจังแต่นุ่มนวล พูดคุยกันจนลูกรู้สึกยอมรับได้อย่างจริงใจ มิใช่จำใจยอมรับ
เด็กก็เป็นแบบนี้แหละ
เมื่อลูกแสดงนิสัยที่ไม่ดีออกมา ห้ามคิดเข้าข้างลูกว่าเพราะลูกยังเด็ก “เด็กก็เป็นแบบนี้แหละ “ เด็ดขาด ผิดก็คือผิด และคุณควรสอนให้ลูกปรุงปรุงตัวทันที อย่าปล่อยให้ลูกทำพฤติกรรมมแย่ๆ นั้นต่่อไปเรื่อยๆ เพราะคือว่าเมื่อลูกโตขึ้นพฤติกรรมนั้นๆจะหายไปเองได้
ห้ามว่าลูกฉันนะ
การปกป้องลูกต้องอยูในสถานการณ์ที่สมเหตสมผลเท่านั้น หากเป็นกรณีที่ลูกผิดจริงๆ เช่นลูกไม่ส่งการบ้าน คุณควรปล่อยให้ลูกได้รับการลงโทษจากคุณครู เพื่อให้ลูกปรับพฤติกรรมและเคารพกฏสังคม
ตามใจลูกทุกอย่าง
เวลาลูกกรีดร้องอยากได้ของเล่นในห้าง หรือเวลานั่งรออาหารก็ร้องหาไอแพดขึ้นมาครั้งใด คุณก็หยิบยื่นสิ่งที่ลูกต้องการให้ทันที การทำแบบนี้จะทำให้ลูกกลายเป็นคนไร้ระเบียบ และไม่รู้จักการรอคอย
ทนเห็นลูกลำบากไม่ได้
เด็กหลายคนเห็นแก่ตัว ไร้น้ำใจ ไม่เคยช่วยดูแลของสังคม นั้นอาจเป็นเพราะที่บ้านไม่เคยต้องทำอะไร เพราะมีคุณแม่คอนทำให้หมด เพนาะกฃัวลุดเหนือล กลัวลูกลไบาก ทางที่ดีคุณควรสอนและปล่อยให้ลูกทำงานเองบ้าง ไม่ต้องกลัวลูกลำบากหรือเหนื่อยล้า อาจจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ เช่น การดูแลเสื้อผ้าตัวเอง การทำอาหารง่ายๆ ให่อาหารสัวต์เลี้ยง งานบ้านเล็กๆน้อยในบ้านเพื่อสอนให้ลูกมีความรับผิดชอบ และรู้จักดูแลคนอื่นบ้าง
นอกจากนี้ยังมีเรื่องพึงระวังอีกมากมายในการเลี้ยงลูก คุณพ่อคุณแม่ควรไตร่ตรองข้อมูลและปรับใช้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตเป็นคนดี และเป็นที่รักของทุกคน
Related Courses
Collaborative classroom design
เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...
แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา
การถูกรังแก ล้อเลียน ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวลทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ปัญหาเหล่านี้จ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...