ทำอย่างไร…เมื่อลูกติดจอ
ลูกติดจอ ก้มหน้าเล่นทั้งวัน ในยุคดิจิตอลแบบนี้คุณพ่อคุณแม่คงกังวลใจอย่างมาก เพราะทั้งการเรียน การเล่น ทุกอย่างล้วนทำได้ผ่านจอสี่เหลี่ยมขนาดกะทัดรัด เช่น ไอแพด
วันนี้ StarfishLabz เชิญคุณพ่อหมอวิน เจ้าของเพจ เลี้ยงลูกตามใจหมอ มาไขปัญหา ในหัวข้อเรื่อง ทำอย่างไรเมื่อลูกติดจอ คุณพ่อหมอวินจะมีวิธีอะไรบ้างนั้น มาร่วมอ่านไปพร้อมกัน
เครื่องมือดิจิตอล กับ เด็กรุ่นใหม่
เด็กที่เกิดตั้งแต่ปี 2553 (Generation Alpha) เขาเกิดมาในช่วงที่ทุกอย่างพร้อมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสื่อ อุปกรณ์ทั้งหลายเข้าถึงได้ง่าย Wi-Fi ก็เร็ว
ดังนั้นการไม่ให้ลูกใช้หน้าจอเลยจึงเลี่ยงค่อนข้างยาก เกิน 90% ของครัวเรือนไทย มีสมาร์ทโฟนใช้ ประกอบกับ ปัจจุบันการเรียนถูกผลักให้เรียนออนไลน์มากขึ้น
หน้าจอกับเด็กมันมีความสำคัญมาก ๆ ในการใช้ เพราะมันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยเฉพาะข้อเสีย หากปล่อยให้ลูกใช้เร็วเกินไป มันส่งผลกระทบในด้านลบอย่างแน่นอน
หรือแม้จะเริ่มปกติ แต่ไม่เหมาะสม มันก็กระทบชีวิตออฟไลน์ของเด็กได้ครับ ทุกคนไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็ก เราก็ต้องการทั้งชีวิตออฟไลน์และออนไลน์ ต้องบาลานซ์ให้มันสมดุลกัน
พัฒนาการที่ช้าลง เมื่อติดหน้าจอ
เด็กที่ใช้เวลากับหน้าจอเป็นเวลานาน จะมีกลุ่มอาการคล้ายออทิสติก และเมื่อหยุดหน้าจอ ปรากฎว่าอาการพวกนี้ดีขึ้น ในเรื่องของภาษา เราพบว่าเด็กที่ใช้หน้าจอเร็วเกินไป โดยเฉพาะเด็กอายุก่อน 3 ขวบ พบว่าพัฒนาการด้านภาษาล่าช้ามากขึ้น
นักวิจัย แพทย์ทั่วโลก เริ่มเห็นว่า ปัจจุบัน มีอัตราของโรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของคนทั่วไปเพิ่มมากขึ้น
อันดับแรก โรคออทิสติก 10-20 ปีที่ผ่านมา อัตราการเกิดหรือความชุกของโรคมันเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว ในอเมริกา ปี 2004 พบว่า เด็กกลุ่มอาการออทิสติก อยู่ที่ 1 ต่อ 166
ในปี 2020 เราพบ 1 ต่อ 56 มันเพิ่มอย่างก้าวกระโดด การใช้หน้าจอที่เร็วกว่าวัย เพิ่มโอกาสเกิดสมาธิสั้นมากขึ้น ลดประสิทธิภาพในการเรียน ความคิดเชิงวิพากษ์ การวิเคราะห์ แยกแยะ ก็ต่ำลงด้วย ทักษะต่าง ๆ ที่ควรได้รับผ่านการเล่น การใช้ชีวิตก็ลดลง
และสิ่งที่ถดถอยไปด้วยก็คือ EF เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งควบคุมทั้งหมด ความเฉลียวฉลาด การควบคุมตัวเอง การกล้าเผชิญหน้ากับปัญหา และการก้าวไปสู่เป้าหมาย ทักษะพวกนี้ของเด็ก ๆ จะต่ำลง และทำให้สุขภาพจิตแย่ลงอีกด้วย
เรียนรู้บนโลกออนไลน์ คุณพ่อคุณแม่ต้องเคียงข้างลูก
เมื่อปล่อยให้เด็กดูสื่อการสอนคนเดียว มีตัวการ์ตูนน่ารัก ๆ ได้ยินภาษาใหม่ ๆ
เสริมสร้างจินตนาการ แต่พวกเขาอาจไม่เข้าใจ เพราะมันคือการสื่อสารทางเดียว มีกลุ่มเด็กที่ดูเฉพาะสื่อพวกนี้ ปรากฎว่าไม่ได้ช่วยอะไรเลย ดังนั้นสื่อ Edutainment ควรมีคุณพ่อคุณแม่ดูไปพร้อมกัน และควรดูในเวลาที่เหมาะสมด้วย
อายุกี่ปี กี่เดือน ลูกควรเลี่ยงหน้าจอ
ตามคำแนะนำของระดับสากล 2 ขวบ ปัจจุบันประเทศไทยก็ยึดตัวเลขที่ 24 เดือนเหมือนกัน ก่อน 2 ขวบ ควรหลีกเลี่ยงหน้าจอทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ทีวี สมาร์ทโฟน ไอแพด
เด็กในวัยปฐมวัย ตอนช่วงก่อน 2 ขวบ ควรจะได้วิ่งเล่นเพื่อเรียนรู้ ได้กอดรัดฟัดเหวี่ยงกับคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก
และเด็ก ๆ ควรใช้เวลานี้ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง ดูแลพื้นที่ส่วนตัว จนสามารถไปช่วยงานของส่วนรวมได้ เช่น งานบ้าน เมื่อถึงวัยที่พร้อมแล้ว เขาจึงออกไปเจอสังคมอย่างการไปโรงเรียน
เมื่อคุณพ่อคุณแม่อนุญาตให้ลูก ๆ ใช้หน้าจอ สิ่งสำคัญที่ต้องกำหนดเลยคือเวลา พร้อมตรวจคุณภาพของสื่อทุกครั้ง ช่วง 2-6 ขวบ ใช้เวลาต่ำกว่า 1 ชั่วโมง
ช่วง 6 ขวบเป็นต้นไป ใช้เวลาต่ำกว่า 2 ชั่วโมง และต้องไม่กระทบกิจวัตรประจำวันด้วย
ภาวะติดหน้าจอ กระทบผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน
สิ่งที่มันอยู่ในจอ มันถูกผลิตมาเป็นรายการ เด็กจะสนุกและติดอยู่กับมัน ถ้าเขาใช้เวลากับจอเยอะ ๆ โอกาสที่เขาจะเรียนรู้จากคนข้างนอก ที่เป็นชีวิตจริงมีน้อยมาก เขาจะไม่เรียนรู้ในการเข้าใจคนอื่น กติกา
การทำงานร่วมกับคนอื่น การเข้าสังคม หรือแม้กระทั่งการเข้าใจตัวเอง เพราะว่าชีวิตส่วนใหญ่อยู่แต่หน้าจอ พอเข้ามาอยู่ในโรงเรียน การมานั่งฟังคุณครูพูด มันไม่สนุกเหมือนในจออยู่แล้ว เด็กก็จะไม่อยากฟัง ไม่อยากไปโรงเรียน
ความไม่อยากจะมีเยอะมาก เวลาทำงานกับเพื่อนก็หงุดหงิด ทำไมเพื่อนไม่ฟัง ทุกอย่างไม่สามารถคุมได้เหมือนเกมที่พวกเขาคุมอยู่ผ่านหน้าจอ
ถ้ามีเด็กแบบนี้ในห้องเรียน ควบคุมตัวเองไม่ได้ วิ่งรอบห้อง ทำทุกอย่างที่ไม่อยู่ในกติกา เพราะเขาไม่เคยเรียนรู้เรื่องของการตั้งกติกา คุณครูบางท่านก็จะเข้าใจว่าแบบนี้คือเด็กพิเศษ ในวงการการศึกษา คุณครูก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กเป็นเด็กพิเศษ ต้องให้คุณหมอ ตรวจสอบหลังจาก 6 ชวบไปแล้ว
เข้าใจสื่อพร้อมช่วยเหลือลูก
เวลาเด็กเข้าไปใช้งานสื่อ จะมี 3-4 อย่างหลัก ๆ ที่เขาทำ เข้าไปดู เข้าไปเล่น เข้าไปสื่อสาร และเข้าไปสร้างสรรค์อะไรบางอย่าง เราแบ่งสื่อออกเป็น 1.Passive เด็ก ๆ นั่งดูอย่างเดียวเลย เช่น Youtube โทรทัศน์ การ์ตูน ซีรีส์ เป็นต้น การใช้สื่อ Passive
มักมีคอนเทนต์รุนแรง คอนเทนต์เทา ๆ เกี่ยวกับเพศ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคัดกรองเนื้อหาให้เหมาะสม 2.Interactive กลุ่มการเสิร์ช Web Browser อยากรู้อะไรถามได้หมด รวมไปถึงโซเชียลมีเดียต่าง ๆ Facebook Instagram หรือแชทแพลตฟอร์มอย่าง Line Whatsapp
ข้อควรระวังสำหรับ Interactive พวก Web Browsing ระหว่างที่ลูก ๆ หาข้อมูล อาจไปเจอโฆษณาที่ยิงมาหรือแบนเนอร์ตามเว็บไซต์ ซึ่งมักเกี่ยวกับพนันออนไลน์ และสื่อทางเพศ สำหรับแพลตฟอร์มที่แชทได้
ก็เปิดโอกาสให้เด็กคุยกับคนแปลกหน้าได้ง่ายขึ้น
อย่างสุดท้าย Content Creation การที่เขาสร้างสรรค์บางอย่างสู่โลกออนไลน์ ต้องระวังเรื่องการแต่งกายที่ล่อแหลมของเด็ก ๆ การพูดจาหยาบคาบ เพื่อเรียกยอด Like
จริงอยู่มันเป็นสิทธ์ของเขา แต่ต้องดูความเหมาะสมตามวัยด้วย และดูเรื่องความอันตราย
จะมีอะไรหรือเปล่าในการโพสต์แบบนั้น เพราะร้อยพ่อพันแม่ ผู้คนเห็นคอนเทนต์ ที่ดูหวาบหวิวและเปิดเผยอาจนำภัยมาสู่ตัวเด็กและครอบครัวของแต่ละท่านได้
ทางออก ช่วยลูกติดเกม
ในเชิงเทคนิค น่าจะต้องใช้เวลากับเขาเยอะขึ้น ให้เวลาคือให้เวลาที่เป็นของเขา ให้เขาเป็น Center ให้เขาตัดสินใจ หรือมีส่วนร่วมในการช่วยให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น ให้พลัง ให้ความเคารพตัวเอง
ให้เขามีค่า เมื่อลูก ๆ ติดหน้าจอมากเกินไป ไม่บาลานซ์ระหว่างออฟไลน์กับออนไลน์
ควรตั้งกติกา กำหนดสถานที่ใช้งาน กำหนดเวลาการใช้ แต่ถ้าเขาเริ่มคุมตัวเองไม่ได้ กระทบต่อตนเองและปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อย่างนี้ต้องรักษา เข้ากระบวนการ ทำ Digital Detox กับจิตแพทย์ อาจต้องมีการใช้ยา จิตบำบัด หรือแอดมิทเพื่อดีท็อกซ์ในโรงพยาบาล
กำลังใจจากคุณพ่อหมอวิน
การเป็นพ่อแม่ ไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่นะครับ
ด้วยสภาวะสังคมก็ไม่ได้เอื้ออำนวย งานก็หนัก การเดินทางอีก หลาย ๆ อย่าง ถอดความเหนื่อยล้าทั้งหลายออกไป กลับถึงบ้านถ้าไม่ไหว ดื่มน้ำเย็น ๆ สักแก้ว
พอเราสบายใจเราจะเห็นสิ่งดี ๆ ของลูก และชมเขาสักหน่อย ปรับวิธีการพูดกับลูก ไม่พลุ่นพลานและโกรธง่าย เมื่อเราพูดดีลูกก็อยากคุยด้วย ทุกอย่างมันจะดีขึ้น แล้วมันจะวนกลับมาที่เราเอง เราจะเลี้ยงลูกได้ง่ายขึ้น ลูกจะน่ารักขึ้น แบบไม่น่าเชื่อ
กำลังใจจากครูโย expert ด้านการศึกษา ของ Starfish
เข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่ยุคปัจจุบัน ทำงานมาเยอะมากและเหนื่อยมาก ถ้าไม่รู้จะพูดอะไรกับลูก ยิ้มเข้าไว้ เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ใจเย็น แล้วก็ใช้วิธีออกแบบสิ่งที่เขาชอบ ให้เขาทำ ถ้าเราไม่รู้ว่าลูกชอบอะไร ก็ให้เขาได้เล่นทั้งลูกบอล กีฬา ดนตรี หรือฝึกขีดเขียนและวาดด้วยสี แล้วสังเกตว่าเขาให้เวลากับอะไรมากที่สุด
ลองถามเขาว่าวันนี้หนูอยากได้อะไร พรุ่งนี้จะทำอะไร คุณพ่อคุณแม่จะเตรียมไว้ให้ แล้วเขาก็จะได้ทำในสิ่งที่เขาสนใจ เขาจะใช้เวลาแปปเดียวค่ะ 3 ชั่วโมง อยู่กับสิ่งที่เขาชอบ โดยที่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่เหนื่อยมาก ไม่ต้องระวังว่าจะมีสื่อที่ไม่ดีเข้ามาไหม
หางานที่เขาชอบให้เขาสามารถ ทำมันได้ด้วยตัวเอง แล้วก็เอามาคุยกับเรา
แต่ต้องไม่ลืมให้ความสำคัญระหว่างทางที่ลูกทำงานแต่ละชิ้น เช่น ไปถึงไหนแล้วลูก อยากให้ช่วยอะไรไหม วันนี้ที่ทำมาแล้วมันดีไหม ลูกถูกใจไหม ถ้าอยากแก้ redesign ไหมมา reflect กัน มันจะทำให้ลูกรู้สึกว่า งานที่เขาทำมีค่ามาก พ่อแม่ให้ความสนใจค่ะ
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่
• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz
• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019
• YOUTUBE : Starfish Labz Channel
• INSTAGRAM : www.instagram.com/starfishlabz/
วิดีโอใกล้เคียง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
คอร์สใกล้เคียง
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
สิ่งเล็กๆที่สร้างลูกคุณ
การจะเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยากเสมอไป ลูกๆ ต้องการแค่แบบอย่างที่ดี เพราะพ่อแม่คือต้นแบบในการดำเนินชี ...
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...