time in / time out ยังไงให้ได้ผล
ลูกใครไม่ดื้อบ้างสิแปลก จริงไหมคะ ด้วยความที่เขาเป็นเด็กบางครั้งเด็กๆ มักจะไม่รู้ตัวหรอกว่าทำอะไรไปบ้าง ถูกหรือผิดก็ยังไม่รู้เรื่อง จนบางครั้งก็ดื้อซะจนพ่อแม่อย่างเราๆ ก็พากันปวดหัวเลยก็ว่าได้
ซึ่งแต่ละบ้านก็มีวิธีปราบเจ้าปีศาจตัวจิ๋วกันแตกต่างกันไปแล้วแต่สถานการณ์ วันนี้เราก็เลยมีวิธีการปราบเจ้าตัวเล็กแบบ Time in และ Time out มาฝากคุณพ่อคุณแม่กัน ซึ่งแต่ละวิธีจะเป็นยังไง และควรใช้ตอนไหน ตามไปดูกันเลยค่ะ
เรามาดูความหมายกันก่อนว่า Time in กับ Time out คืออะไร ?
*Time In คือ การแยกเด็กออกจากการได้รับแรงเสริมทางบวก หรือแยกออกจากสถานการณืที่ทำให้เด็กเกิดปัญหาพฤติกรรม เป็นการทำโทษที่ช่วยให้เด็กๆ ใช้ในการสงบสติอารมณ์ของตัวเอง เมื่อเขาสงบสติอารมณ์ของตัวเองได้ เขาก็สามารถกลับไปยังสิ่งที่เขาทำอยู่ก่อนหน้านี้ได้
แต่หากเลือกใช้แบบ Time in สิ่งที่ควรระวังก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่า มันไม่ใช่การให้รางวัลแก่ลูก และอีกข้อหนึ่งก็คือ อารมณ์ของพ่อแม่ในขณะที่ทำ Time in ลูก ต้องมีอารมณ์ที่สงบพอ ที่จะสอนหรือพูดคุยกับลูกได้ ไม่เช่นนั้นลูกจะดื้อและโวยวาย จนทำให้คุณกับลูกคุยกันได้ยากขึ้น ทำให้ปรับอารมณ์กันยากกว่าเดิมเข้าไปอีก
*Time out คือ การที่พ่อแม่ทำโทษลูกโดยการไปอยู่ข้างๆ เขา เพื่อช่วยสงบสติอารมณ์ ซึ่งต่างจาก Time in ที่เป็นการทำโทษแบบแยกเด็กออก โทษวิธีนี้คุณพ่อคุณแม่จะอยู่ข้างๆ เขา ช่วยเขาปลอบใจให้อารมณ์เย็นขึ้นได้ เพื่อให้ลูกรู้ว่ายังมีเรานี่แหละคอยอยู่ข้างเขาตลอดไม่ไปไหน และพร้อมจะช่วยเขาหาทางออกของปัญหาเสมอ
ซึ่งก็มีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า การ Time out ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นการปรับพฤติกรรม เมื่อลูกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เหมาะสม เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง
สำหรับเด็กที่จะใช้ Time out นั้น หากเป็นเด็ก 2-3 ปี ควรเลือกใช้คำสั่งที่สั้นๆ กระชับและเข้าใจง่าย
ส่วนเด็กที่อายุ 4-5 ปีขึ้นไป นอกจากการ Time out แล้ว พ่อแม่ก็ต้องใช้วิธีพูดคุยกับลูกเพื่อให้เขาได้คิดทบทวนในสิ่งที่ทำ และให้เขาฝึกหาวิธีหรือทางเลือกที่ดีกว่าที่เขาสามารถทำได้
แต่ก็มีทริคเล็กๆ น้อยๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่นะคะ นั้นก็คือ การที่พ่อแม่จะ Time out ให้ได้ผลดี ก็ต้องมีการ Time in กับลูกอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งการ Time ine ในที่นี้ก็เป็นการที่พ่อแม่ได้ใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ กับลูก กล่าวชมเชยลูกเมื่อเขาทำในสิ่งนั้นๆ ได้ดี สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกเสมอๆ ไม่ใช่จ้องแต่จะจับผิด มองแต่สิ่งผิดๆ กับลูกนั้นเอง หากเราเอาแต่คำหนิในสิ่งผิดๆ กับลูกอยู่บ่อยครั้ง สั่งให้ลูกไป Time out อย่างเดียว ก็จะยิ่งส่งเสริมให้เขามีพฤติกรรมที่แย่ลงได้ เพราะทำไปพ่อแม่ก็ไม่เข้ามาสนใจ ไม่ Time in กับลูกนั้นเอง
ข้อดีของ Time in และ Time out จะเห็นได้ว่า เป็นการสอนลูกแบบไม่ใช้ความรุนแรง เด็กๆ ก็จะไม่มีการปลูกฝังนิสัยที่รุนแรงติดตัวไปด้วย อีกทั้งยังสอนให้เขาเป็นคนใจเย็น รู้จักควบคุมตัวเองได้ และเขาก็จะรู้เองด้วยว่า พ่อแม่เนี่ยแหละจะอยู่เคียงข้างเขาเสมอ ไม่ว่าจะเกิดเรื่องอะไรก็ตาม ที่สำคัญเลยพ่อแม่ต้องมีสติก่อนทุกครั้งเลยนะคะ ก่อนที่จะสอนลูก และต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ ด้วย
Related Courses
Collaborative classroom design
เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...
แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา
การถูกรังแก ล้อเลียน ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวลทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ปัญหาเหล่านี้จ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...