5 เทคนิค ชวนครูตั้งเป้า พัฒนาตนเองให้สำเร็จในปี 2022
เมื่อพูดถึงทักษะแห่งอนาคตที่ทุกคนจำเป็นต้องมี สำหรับการใช้ชีวิตและการทำงาน ซึ่งทักษะเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้และลงมือทำ เพราะบางทีสิ่งที่เราเรียนรู้ในวันนี้ก็กลับกลายเป็นเรื่องเก่า แต่ที่สำคัญเรามีความสามารถพิเศษ ก็คือการเรียนรู้เพื่อปรับตัว พร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพได้ด้วยตนเอง “การเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากความสนใจและความขยัน”
เนื่องจากปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้ว่ามีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นบนโลกเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดการแข่งขัน จากการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะนำไปใช้ในชีวิต และการทำงานในอนาคตได้อย่างราบรื่นและมีความสุข รวมไปถึงการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะมีทักษะอะไรที่ทุกคนควรเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าสู่โลกแห่งอนาคตข้างหน้านี้ อาจจะเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ที่คนต้องทำงานร่วมกับเทคโนโลยี และบางส่วนมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทน แต่สิ่งที่เทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนได้นั้นคือ คนที่มีทักษะการคิดสร้างสรรค์ หาวิธีการแก้ปัญหาเป็น ใส่ใจนวัตกรรมและสิ่งใหม่ๆ การสื่อสารที่ดี มีวิจารณญาณ และมีการร่วมมือ ด้วยความเต็มใจ
การรับมือความซับซ้อนในการใช้ชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมแห่งโลกอนาคต ส่วนหนึ่งเราถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน การศึกษา การพัฒนาทักษะชีวิตและวิชาชีพทุกๆ แขนง ซึ่งความรู้เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ทุกคนเห็นด้วยไหมคะ “ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา และรอให้เราศึกษาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด” ส่วน “ทักษะจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากที่เราได้ศึกษาเรียนรู้อย่างเข้าใจ” ซึ่งทักษะที่ได้นั้นจะติดตัวเราไปตลอด และจะถูกนำมาใช้ในเวลาที่เหมาะสม วันนี้เราจะมาแชร์เทคนิคที่จะช่วยให้คุณประสบผลสำเร็จในปี 2022 โดยเราหยิบยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้
1. เริ่มต้น “เช็คความพร้อม” ด้วยการฝึกสมาธิ
เป็นการเริ่มต้นในวันทำงาน ซึ่งการมีสมาธิจะช่วยให้เราเกิดกระบวนการคิดแบบยืดหยุ่นมากขึ้น เมื่อเราจะเริ่มเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ต้องลองถามตัวเองด้วยคำถาม 2 ข้อนี้ คือ เป้าหมายของเราเป็นไปได้หรือไม่? แล้วเรามีเวลาและพลังงานให้กับโปรเจ็คพัฒนาตัวเองมากแค่ไหน?
2. เลือกทักษะที่ “ใช่”
มาช่วยในเรื่องการพัฒนาการทำงาน ชีวิตความเป็นอยู่ และความผูกพันของพนักงาน ได้แบ่งงาน เพื่อลดภาระการทำงานกับยุคสมัยและอนาคตของตัวเอง การฝึกฝนทักษะใหม่ๆ ถือเป็นการลงทุน ดังนั้นเราควรจะรู้ล่วงหน้าว่าควรจะฝึกทักษะแบบไหนได้ผลดี เราสามารถค้นหาวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเราที่สุด ด้วยการมองย้อนกลับไปในการเรียนรู้ที่ผ่านมา
3. แตกย่อย “เป้าหมาย”
โดยเริ่มจากสิ่งเล็กๆ เราไม่สามารถทำทุกอย่างได้ในทันที ควรเลือกโฟกัสหนึ่งหรือสองทักษะ แล้วมองหาความช่วยเหลือจากคนที่ใช่ สามารถช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ลองมองหาผู้เชี่ยวชาญในทักษะนั้นๆ แล้วลองเข้าหาและพยายามเรียนรู้จากเขา แต่ถ้ายังไม่ได้ลองฝึกแบ่งงานตามเป้าหมาย แล้วจดจ่องานแต่ละชิ้นของเราดู อาจจะได้ทักษะใหม่ๆ เกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว
4. ประเมินผลระหว่างทาง
เพื่อขยับทักษะใหม่สู่ความเชี่ยวชาญ ควรมีการประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างทางด้วยวิธีการแนะนำ การพูดคุยกับผู้อื่น แบ่งปันเป้าหมายของเรากับคนที่สามารถให้การสนับสนุนเราได้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ให้ความรู้หรือคนที่ให้กำลังใจ
การพูดคุยเกี่ยวกับพัฒนาการของตัวเราเองอาจจะได้รับคำแนะนำดีๆ กลับมา ในช่วงเวลาที่เราสามารถทำงานไปด้วยและพัฒนาทักษะใหม่ๆ ติดต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการหยุดพักเพื่อประเมินผลระหว่างทางแค่ไม่กี่นาที เพื่อเติมพลังเล็กน้อยจะช่วยให้โฟกัสและพลังงานของเราได้ ก่อนการเริ่มฝึกทักษะเพื่อการทำงานต่อไปอีกครั้ง
5. พัฒนาตนเองด้วยการลองเป็น “คนสอน”
ฟังแล้วเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่อยากจะบอกว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่รวดเร็วที่สุดในการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะใหม่ๆ คือการสอนผู้อื่น แบ่งปันสิ่งที่รู้กับเพื่อนร่วมงานของเราหรือหัวหน้าของเรา การเรียนรู้จะมีเป้าหมายและนำไปใช้ได้จริง และยังจะช่วยสร้างทักษะสำคัญในด้านการพัฒนาร่วมกับการทำงานมากขึ้น
เรามาเริ่มพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตและวิชาชีพไปพร้อมๆ กัน เพื่อเตรียมรับมือกับโลกอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยการรู้จักยืดหยุ่น รู้จักปรับตัว ริเริ่มสิ่งใหม่ พร้อมพัฒนาอาชีพ และหมั่นหาความรู้รอบด้าน อย่าหยุดนิ่งในการพัฒนาตนเองกันนะคะ
ข้อมูลอ้างอิง
5 Ways to Boost Your Resilience at Work.Harvard Business Review.
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกายระดับชั้น ม.ต้น
วัยรุ่น หากมีร่างกายที่สมส่วนย่อมทำให้มีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะส่งผลร่างกายแข็งแร ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6
เด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้จักพัฒนาตนเอง สนใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น เริ่มให้ความสนใจเพศตร ...
สอนคณิตศาสตร์ อย่างไรให้ทรงพลังตามเกณฑ์ วPA
ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติ ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภา ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...