นวัตกรรม : โรงเรียนแม่คือวิทยา และโรงเรียนวัดสันกลางเหนือ
นวัตกรรมโรงเรียน โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) รุ่นที่ 1 ต่อเนื่องในปี 2564
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (CBE)
การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน เป็นเป้าหมายที่ผู้รับผิดชอบทุกคนให้ความสำคัญ เพื่อลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในโรงเรียน ด้วยความร่วมมือในการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเครื่องมือและนวัตกรรมในโรงเรียนเรียนที่หลากหลาย เพราะ “นวัตกรรม” เป็นการสร้างสรรค์ คิดค้น พัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรืออาจจะเป็นสิ่งใหม่ เพื่อที่จะนำสิ่งนั้นไปใช้ในการปฏิบัติจริง เผยแพร่ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ ในบริบทของแต่ละโรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนต่างๆ จึงได้จัดทำนวัตกรรมในการจัดการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ดังนี้
นวัตกรรม โรงเรียนแม่คือวิทยา
โรงเรียนแม่คือวิทยามีปัญหาหลายด้านที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนคือ ในตัวของนักเรียนขาดความมั่นใจในการทำกิจกรรมต่างๆส่งผลให้ขาดความมั่นใจในตนเอง บางครั้งเมื่อฟังคุณครูสอนก็ไม่สามารถทำความเข้าใจในประเด็นหรือเนื้อหาต่างๆได้ นั่นคือไม่สามารถจับประเด็นสำคัญในวิชาที่เรียนรู้ได้ อีกทั้งคุณครูผู้สอนก็ยังขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างเชี่ยวชาญ เนื่องจากปัญหาของโรงเรียนจากสภาพแวดล้อม ขาดอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ที่มีเสถียรภาพจึงทำให้ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาบทเรียนจึงได้จัดทำนวัตกรรม “ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยกับการใช้ผังมโนทัศน์ (Mind Mapping)” ขึ้นมาโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรมคือ การนำเสนอเนื้อหาความรู้ได้อย่างสร้างสรรค์เป็นทักษะการจับใจความประเด็นสำคัญโดยสื่อสารผ่านผังมโนทัศน์ และยังสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง และสามารถนำเสนอผลงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีมารยาทและจริยธรรมในการสื่อสาร เลือกใช้และผลิตสื่อตามจุดมุ่งหมายได้อย่างเหมาะสม เป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน
กิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน คือ
การเรียนในรายวิชาสังคมศึกษาในหน่วยการเรียนรู้ “รับเอางานสุนทรีย์ศิลป์” สามารถจับประเด็นและใจความสำคัญ นำเอามาเขียนแผนมโนทัศน์ภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัย และสามารถนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงออกถึงสมรรถนะด้านการสื่อสารและจิตพิสัยที่พึงมีการสื่อสารจากการฟัง พูด เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการ Active Learning โดยผู้เรียนสามารถสืบค้น และรวบรวมข้อมูลเพื่อการนำเสนองานเป็นด้วยกระบวนการ STEAM Design Process และการใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้ ออกแบบการนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์
ความสำเร็จหรือผลลัพท์จากการใช้นวัตกรรมของโรงเรียนสามารถแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ
1. ด้านโรงเรียน โรงเรียนมีการระดมความคิด เพื่อคิดค้นนวัตกรรมใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน มีการร่วมกิจกรรม PLC ในการพัฒนาต้นแบบบทเรียนฐานสมรรถนะ ด้วยกระบวนการออกแบบและพัฒนาบทเรียนร่วมกัน
2. ด้านตัวครู ครูทุกคนในโรงเรียนมีการออกแบบ และวางแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน อย่างน้อยคนละ 1 บทเรียนต่อภาคการศึกษา และครูสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาต้นแบบบทเรียนฐานสมรรถนะ ด้วยกระบวนการออกแบบและพัฒนาบทเรียนร่วมกันได้เป็นอย่างดี
3. ด้านนักเรียน นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้และลงมือด้วยการปฏิบัติ และได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ รูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมสามารถนำไปบูรณาการในหน่วยการเรียนรู้ ออกเป็นผลงานต่างๆรวมถึงการทำโครงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมโรงเรียนวัดสันกลางเหนือ
โรงเรียนวัดสันกลางเหนือก็มีปัญหาที่ส่งต่อการเรียนการสอน ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ส่งผลต่อความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียน มีระยะเวลาน้อยในการค้นคว้าในวิชาศิลปะในเรื่องการถมทอง และครูไม่สามารถจะประสานเวลาในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีหลายชั่วโมงสอนตรงกัน รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น นั่งชิดติดกัน ไม่มีการการเว้นระยะห่างในการทำกิจกรรมภายในห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
โรงเรียนจึงได้จัดทำ นวัตกรรม เรื่องการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process ในเรื่องการศึกษาค้นคว้าในวิชาศิลปะในเรื่องการถมทอง โดยมีการแบ่งกลุ่มศึกษา ออกแบบ การสร้างสรรค์ผลงานตามที่ได้กำหนด โดยกระบวนการ STEAM Design Process เป็นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ Design Thinking เริ่มต้นจากปัญหา นำไปสู่การแก้ไขปัญหา ผ่านการคิด ค้นคว้าหาคำตอบ หลังจากนั้นจึงวางแผน อย่างละเอียด มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความคิด ลงมือปฏิบัติ ทดสอบและปรับปรุงแก้ไข โดย STEAM Design Process จะเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กฝึกแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และเด็กได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย
เมื่อนักเรียนได้ใช้นวัตกรรมเรื่องการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process ผลลัพธ์และความสำเร็จของโรงเรียนที่ได้คือ
1. โรงเรียน มีนวัตกรรม เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
2. ครู มีส่วนร่วมในกิจกรรม PLC เพื่อการพัฒนานวัตกรรมฐานสมรรถนะ ด้วยกระบวนการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) และมีแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในรายวิชาของตนเอง
3. นักเรียน ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะสำคัญด้านต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
4. ชุมชน ได้มีส่วนในการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และได้เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่นักเรียนในขณะที่เรียนออนไลน์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียน และชุมชนส่งผลดีต่อการพัฒนาโรงเรียนอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิผลนั่นเอง
Related Courses
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกายระดับชั้น ม.ต้น
วัยรุ่น หากมีร่างกายที่สมส่วนย่อมทำให้มีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะส่งผลร่างกายแข็งแร ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.4-6
เด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จะอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มเรียนรู้จักพัฒนาตนเอง สนใจความรู้สึกตนเองและผู้อื่น เริ่มให้ความสนใจเพศตร ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...