เพราะบทบาทที่หลากหลาย ทำอย่างไรให้พ่อแม่ปรับตัวได้ทัน
เมื่อเรากลายมาเป็นพ่อแม่ เรามีหลายหน้าที่ หลายบทบาท และหลายความรับผิดชอบ ซึ่งบางครั้งการที่เรามีหลายบทบาทในชีวิตนั้น ก็อาจจะทำให้เราสับสน มีความกดดัน และก่อเป็นความเครียดได้มากขึ้น โดยในช่วงต้นของบทความนี้ เราจะมาชวนทุกคนพูดคุยกันว่า เมื่อเรากลายเป็นพ่อแม่ เรามีบทบาทที่ต้องรับผิดชอบใหญ่ๆ อะไรบ้าง ซึ่งในบทความนี้จะขอแบ่งเป็น 3 บทบาทใหญ่ๆ คือ
- บทบาทแรก ที่เราต้องรับผิดชอบ เมื่อเรามีลูก ก็คือ บทบาทของพ่อแม่ ซึ่งคำว่าพ่อแม่ เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ และต้องทำเกือบตลอดเวลา ในการเลี้ยงดูลูก ปรับพฤติกรรมลูก สอนการบ้าน ชวนลูกแก้ปัญหา หรือดูแลลูกในช่วงเวลาที่ไม่สบาย
- บทบาทที่สอง เป็นบทบาทที่เรามีตั้งแต่เรียนจบ และเป็นบทบาทที่พิสูจน์การเติบโตของเรา คือ บทบาทของคนทำงาน ที่เราทำงานเพื่อรับเงินเดือน ทำงานทุกวัน วันละ 8 ชม. โดยหน้าที่หลักของเราในบทบาทนี้ คือ ทำงานที่ตนเองได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด ซึ่งแน่นอนว่า พอเราโตมากขึ้น ก็จะงานในส่วนของการบริหารทีมดูแลลูกน้องเข้ามาด้วย
- บทบาทที่สาม เป็นบทบาทที่เรามีตั้งแต่เกิด คือ บทบาทของความเป็นลูก สมัยก่อนบทบาทนี้ตอนเด็กๆ เป็นบทบาทที่ดี เพราะได้รับการดูแล แต่เมื่อเรากลายเป็นผู้ใหญ่ พ่อแม่ของเราก็สูงอายุมากขึ้น เราที่เป็นลูกจึงมีหน้าที่ในการดูแลพ่อแม่ของเรามากขึ้น
โดยทั่วไปบทบาทเหล่านี้จะเป็นบทบาทที่เราสามารถดูแล จัดการให้ลงตัวได้ เพียงแต่ถ้าวันใด ที่บทบาทเหล่านี้ มันรบกวนกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 1
“ช่วงนี้ เป็นช่วงที่งานเยอะมาก เพราะกำลังจะปิดงบประจำปี ซึ่งเราต้องเอางานกลับไปที่บ้านช่วงกลางคืน หรือทำงานในวันเสาร์อาทิตย์” สถานการณ์นี้ จะส่งผลกระทบต่อบทบาทพ่อแม่ทันที เพราะ เราจะไม่มีเวลาดูแลลูก ยิ่งถ้าเรามีลูกเล็ก เราจะปวดหัวเป็นพิเศษ เพราะไหนเราจะต้องทำงาน ไหนจะต้องพาเด็กอาบน้ำ เข้านอน หรือเล่นกับเขา
ตัวอย่างที่ 2
“ช่วงนี้โควิด โรงเรียนปิด ลูกๆ ต้องเรียนออนไลน์ ซึ่งเราก็ต้องหาเวลามาสอนลูก พาลูกทำใบงานต่างๆ ที่ครูส่งมาให้ หรือถ้าเป็นเด็กโต เราก็อาจจะต้องคอยดูว่า ลูกเราตั้งใจเรียนไหม ทำไมเรียน 8 โมง แต่ 10 โมงแล้วยังไม่ตื่น เป็นต้น” สถานการณ์นี้ จะส่งผลกระทบต่อบทบาทของคนทำงานทันที เพราะ งานก็ต้องทำ ลูกก็ต้องสอน หรือบางทีกำลังจะประชุมหรือทำงาน ลูกก็มีปัญหา เราก็ต้องสละเวลาทำงาน ไปดูลูก ชีวิตเราก็จะป่วนอยู่ไม่มากก็น้อย
ซึ่งทั้ง 2 ตัวอย่างที่ยกมานั้น เราเรียกปรากฏการณ์เหล่านี้ว่า ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว (Work-Family Conflict) ที่บทบาทใดบทบาทหนึ่ง มารบกวน อีกบทบาท จนทำให้ชีวิตเราเสียสมดุล และอีกส่วนหนึ่งที่บทความนี้ จะมาชวนทุกคนพูดคุยกันคือ แล้ว เราจะดูแลหรือรับมือกับสถานการณ์ ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว (Work-Family Conflict) ได้อย่างไร? เรามีวิธีการแนะนำ 2 วิธีดังนี้ คือ
1. คาดเดาและวางแผน งานบางอย่างเราสามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ว่า ช่วงไหนงานจะเยอะ เช่น ช่วงปิดงบ ปิดโปรเจท ช่วงมี event หรือช่วงไหนที่ที่บ้านน่าจะยุ่ง เช่น ช่วงลูกปิดเทอม เป็นต้น ดังนั้น เพื่อป้องกันความขัดแย้งของบทบาท สิ่งที่เราควรจะทำคือ คาดเดาช่วงเวลา และวางแผนรับมือ เพื่อให้เรื่องราวทุกอย่างนั้นออกมาสมดุล เช่น อีก 2 สัปดาห์ข้างหน้าเรารู้ว่า งานเยอะมาก อาจจะวางแผนและคุยกับลูกให้เข้าใจว่า พ่อ/แม่ อาจจะขอปรับเวลาหน่อยนะ แบบทุกทีเราเล่นกัน 30 นาที ขอลดเป็น 15 นาที แล้วเดี๋ยวพอพ่อแม่ทำงานเสร็จ จะเพิ่มเวลาให้เป็นต้น
2. หาคนช่วย เรื่องบางเรื่องมันคาดเดาไม่ได้ เช่น อยู่ดีๆ ลูกป่วย อยู่ดีๆ โควิดมา อยู่ดีๆ งานมีปัญหา ดังนั้น หากเราเจอปัญหาที่มาแบบกระทันหัน วิธีการที่ดีที่สุดคือ การหาคนช่วย เช่น คุยกับเพื่อนในทีมงาน ว่าแบ่งงานกันอย่างไรดี หรือลองแบ่งเวลาในการดูแลลูกกับคนที่บ้าน เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์ เป็นต้น
เราเชื่อว่า ความขัดแย้งในบทบาทนั้น สามารถบริหารจัดการให้สมดุลได้ ซึ่งบางเรื่องอาจจะเป็นเรื่องที่เราสามารถวางแผนและรับมือเองได้ และบางเรื่องอาจจะต้องหาความช่วยเหลือจากคนอื่น ซึ่งหากเราสามารถบริหารจัดการบทบาทที่ซับซ้อนได้ เราก็จะมีความสุขและมีชีวิตที่ลงตัวมากขึ้น
อ้างอิง
study.com/academy/lesson/work-family-conflict-definition-types-examples.html
Related Courses
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ