เป็นครูก็เครียดนะ มาลดความเครียดกันเถอะ
ความเครียดเป็นสิ่งที่คนเราทุกคนสามารถพบเจอได้ เพราะความเครียดนั้นเกิดมาจากการที่เรารับรู้ว่า มีเรื่องราวหนึ่งที่เข้ามาในชีวิต แล้วทำให้เรารู้สึกถูกคุกคาม และไม่สามารถจัดการกับเรื่องราวนั้นได้ (Lazarus และ Folkman, 1984) ซึ่งในแต่ละเรื่อง คนเราจะรับรู้ว่าตนเองมีระดับความเครียดที่แตกต่างกันไป เช่น
- หากเรื่องนี้ เรารู้สึกว่าถูกคุกคามนะ แต่เชื่อว่าเราจะจัดการได้ เราจะเครียดน้อย
- หากเรื่องนี้ เรารู้สึกว่าถูกคุกคามนะ และรู้สึกว่า เราแก้ปัญหานี้ไม่ได้ เราจะรู้สึกเครียดมาก
ตอนนี้ เรารู้แล้วว่า ทุกคนมีระดับหรือเรื่องที่เครียดแตกต่างกันไป แล้วทุกคนรู้ไหมว่า “คุณครู” เขาเครียดเรื่องอะไรบ้าง ? จากผลการสำรวจและรายงานของ TALIS พบว่า ความเครียดในหน้าที่การงานของครู แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
- ภาระงาน เช่น จำนวนงานธุรการที่มากเกิน, การมีบทเรียนที่มากเกินไป
- ความเครียดที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น ผลการเรียนของเด็ก, พฤติกรรมของเด็ก/การสร้างวินัยในชั้นเรียน, การประสานงานกับผู้ปกครอง
ซึ่ง 2 เรื่องนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นความเครียดใหญ่สำหรับคุณครู ซึ่งเรายังไม่รวมความเครียดเรื่องอื่นๆ เช่น ชีวิตส่วนตัวของคุณครูอีกนะคะ ดังนั้น วันนี้เราจะมาชวนคุณครูสำรวจความเครียดและจัดการความเครียดของตนเองกันโดย เรามี 3 เทคนิคง่ายๆ ดังนี้ คือ What Why How ค่ะ
What หากเราแปลคำๆ นี้ มันจะแปลว่า “อะไร” ซึ่งเทคนิคที่ 1 ของเราก็คือ การให้คุณครูลองถามหรือพูดคุยกับตนเองค่ะว่า “อะไรทำให้ฉันเครียด” ซึ่งคุณครูสามารถแยกกลุ่มก้อนความเครียดได้หลายหมวดหมู่เลยนะคะ เช่น
ความเครียดจากเรื่องงานคือ........................................................................................
ความเครียดจากเรื่องความสัมพันธ์(เพื่อน/แฟน)คือ........................................................
ความเครียดจากเรื่องการเงินหรือความต้องการขั้นพื้นฐาน คือ........................................
ความเครียดจากครอบครัว คือ..................................................................และอื่นๆ นะคะ
จากนั้น เราจะมาสู่เทคนิคที่ 2 คือ Why หากเราแปลคำๆ นี้ มันจะแปลว่า “ทำไม” ซึ่งเทคนิคนี้ของเราก็คือ ชวน คุณครูมานั่งคิดค่ะว่า “ทำไมเจ้าสิ่งนี้ถึงทำให้ฉันเครียด” ซึ่งในเทคนิคนี้ จะช่วยทำให้เราเห็นปัญหามากขึ้น ว่า “ต้นเหตุของปัญหาคืออะไรค่ะ”
มาสู่ขั้นสุดท้ายของเรา ก็คือ How หากเราแปลคำๆ นี้ มันจะแปลว่า “อย่างไร” ซึ่งเทคนิคนี้ของเราก็คือ ชวนคุณครูคิดค่ะว่า แล้วเราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ลองโยนคำตอบไว้เยอะๆ แล้วเลือกคำตอบที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้นก็มีอยู่ 2 แบบนะคะ คือ
- การจัดการที่อารมณ์ เช่น การระบายอารมณ์ ความเครียด ความทุกข์ใจออกมา โดยการจัดการที่อารมณ์ อาจจะเหมาะกับปัญหาที่มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา หรือเป็นวิธีการที่เราใช้จัดการอารมณ์เพื่อให้เราได้ปลดปล่อย Calm down หรือตระหนักรู้สภาวะของตนเองในเบื้องต้นนะคะ
- การจัดการที่ตัวปัญหา คือ การคิดแก้ปัญหาค่ะว่า ปัญหาเป็นแบบนี้ ฉันจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง ลองคิดสัก 3-5 วิธีในการแก้ไข แล้วเลือกวิธีที่ดีที่สุดนะคะ และแน่นอนว่า เมื่อเราสามารถแก้ไขปัญหาได้ ความเครียดและความทุกข์ใจของเราก็จะลดลงค่ะ
ความเครียดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ก็เป็นเรื่องที่เราสามารถแก้ไขได้เช่นกันค่ะ ดังนั้น เมื่อไรที่คุณครูเครียด เราอยากชวนคุณครู มาลองใช้ เทคนิค What Why How กันนะคะ เพื่อให้เราเข้าใจตนเองมากขึ้นว่า เราเครียด เรื่องอะไร เพราะอะไร และจะรับมือ/จัดการ “ความเครียด” อย่างไรดีค่ะ
อ้างอิง
Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and coping. New York: Springer.
ichi.pro/th/khwamkheriyd-sib-xandab-raek-sahrab-khru-72109431681255
Related Courses
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
การดูแลสุขภาวะครู
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีและเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูจึงต้องดูแลตนเองและหาวิธีคลายเครียด เพื่อให้ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
โลกเปลี่ยนไป ปรับตัวกับภัยธรรมชาติอย่างไรให้อยู่รอด
"โลกเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คิด” ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การเตรียมตัวล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คอร์สนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจกา ...
โลกเปลี่ยนไป ปรับตัวกับภัยธรรมชาติอย่างไรให้อยู่รอด
ต้องใช้ 100 เหรียญ