คุยกับนักจิตปรับความคิด พิชิตความเครียด
รู้หรือไม่ ?.... ความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย
เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะสร้างฮอร์โมนความเครียดจากต่อมหมวกไตที่ชื่อว่า “คอร์ติซอล” และเมื่อเกิดเกิดความเครียดมากเกินไป ย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะต่อสมองโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นความสนใจจดจ่อลดลง ความยากลำบากในการตัดสินใจ หลงลืมได้ง่าย หรือความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลของสารสื่อประสาทลดลง ฉะนั้น ความเครียดถือได้ว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติของมนุษย์ที่สามารถมีได้ ทุกคนสามารถมีความเครียดได้ แต่ต้องรู้จักกับวิธีการรับมือที่ถูกต้องได้ด้วยเช่นกัน
ความเครียด (Stress) เป็นภาวะที่ไม่สบายใจหรือความกังวลที่เกิดขึ้น เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ไม่ตรงกับความรู้สึกหรือความคาดหวัง อีกทั้งยังเป็นกลไกตามธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อใช้ตอบสนองต่อสถานการณ์ยากท้าทาย หรืออันตรายเพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเจอได้ ซึ่งความเครียดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ระยะสั้น/ฉับพลัน เป็นความเครียมที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน เช่น ทะเลาะกับเพื่อน หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิด
2) ระยะเรื้อรังสะสม เกิดจากสถานการณ์ที่ทำให้เครียดอยู่ซ้ำๆ จนทำให้เกิดความเครียดสะสม เช่น การเรียนที่มีความกดดันสูง ปัญหาการเงิน เป็นต้น
สัญญาณแบบไหนที่บ่งบอกถึงความเครียด
1) ด้านร่างกาย เช่น หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็วขึ้น ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูงขึ้น
2) ด้านจิตใจ/อารมณ์ เช่น วิตกกังวล เศร้า กดดัน โกรธ ท้อแท้ ไม่มีสมาธิ
3) ด้านพฤติกรรม เช่น นอนไม่หลับ นอนมากไป ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
4) ด้านสังคม เช่น ไม่อยากเข้าสังคม มีปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัว เป็นต้น
สำหรับการจัดการความเครียด (Stress Management) สามารถใช้แนวคิด 4A ดังนี้
1. AVOID การพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือบุคคลที่ทำให้เครียด โดยการรู้จักปฏิเสธ เลี่ยงเผชิญหน้ากับบุคคลที่ทำให้เกิดความเครียด หรือไม่พูดเรื่องที่ความคิดเห็นไม่ตรงกัน
2. ALTER การปรับเปลี่ยนสิ่งที่ทำให้เครียด โดยการปรับเปลี่ยนตัวเอง การจัดสรรเวลา การบอกความรู้สึกด้วยวิธีที่นุ่มนวล
3. ADAPT การปรับตัวให้เข้ากับความเครียด โดยยอมรับและเปลี่ยนทัศนคติหรือความคาดหวังจากเดิม โดยการมองปัญหาในมุมใหม่ มองปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาว และลดมาตรฐานตัวเองลง
4. ACCEPT การยอมรับความเครียด
ทั้งนี้ ในการจัดการความเครียดสามารถทำได้จากการสำรวจตัวเอง โดยการทำแบบประเมินความเครียด (ST5) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นแบบประเมินเหตุการณ์หรือความรู้สึกของผู้ประเมินว่าอยู่ในระดับใด ทั้งนี้อาจใช้กิจกรรมตามความชอบ ความสนใจในการจัดการความเครียดของตนเองได้ หรือการศึกษาจากคลิปวิดีโอผ่านสื่อโซเซียลต่างๆ ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ความเครียดเป็นเรื่องปกติ แต่จะไม่ปกติถ้าเครียดมากจนเกินไป ฉะนั้น เครียดได้ ต้องคลายเป็น รู้จักวิธีการคลายเครียดของตนเอง และใช้วิธีการคลายเครียดให้เหมาะสม ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
คุณชลณัฐ วงค์สถาน
นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำ สพป. ชม.เขต 1
Related Courses
ถึงเวลา Self- Retreat แล้วหรือยัง?
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการมีกำลังใจ กำลังกาย และสภาพจิตใจโดยรวมดีขึ้น และไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็จะคิดบวกได้เสมอ มีความเครี ...
แนะนำหลักสูตร well being
คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...
เจลล้างมือมีความจำเป็นอย่างไร
การเรียนรู้ 7 ขั้นตอนล้างมือด้วยสบู่เมื่อเด็กๆอยู่ที่บ้าน ความจำเป็นที่ต้องใช้เจลล้างมือ ขั้นตอนการผลิตเจลล้างมือแบบง่ายๆ และประ ...
ออกกำลังกายอย่างไรดีต่อสุขภาพ
การเรียนรู้เรื่องการออกกำลังกายอย่างไรดีต่อสุขภาพจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เริ่มต้นออกกำลังอย่างไรให้ถูกต้อง ประเภทการออกกำลังกา ...