10 วิธีคลายเครียดง่ายๆ ที่คุณครูต้องพกไว้ช่วงเปิดเทอม
เมื่อความเครียดของครู มีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียน
ครู นับเป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องเผชิญกับความเครียดค่อนข้างมาก เพราะต้องทำงานร่วมกับนักเรียน ซึ่งมีทั้งพฤติกรรมที่แตกต่างกันและทักษะการเรียนรู้ที่ไม่เท่ากัน ทำให้ครูผู้สอนต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจ ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่ ซึ่งความทุ่มเทนี้ อาจส่งผลทำให้ครูผู้สอนนั้นมีความเครียดในการทำงานได้
คงไม่มีคุณครูท่านไหนที่จะบอกคนอื่นได้ตลอดเวลาว่า เราไม่เครียดเลย เรากำลัง Happy เรา Ok แต่ในความเป็นจริงแล้ว คุณครูอาจจะกำลังเครียดแต่แค่เก็บไว้ภายในลึกๆ แล้วรอเวลาที่ความรู้สึกนั้นจะพุ่งทะลุกำแพงออกมาแค่นั้นเอง แล้วคุณครูจะจัดการหรือบริหารความเครียดได้อย่างไร เราก็มีเคล็ดลับดีๆมาฝากคุณครูกันค่ะลองมาดู 10 วิธีคลายเครียดง่ายๆที่คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ได้นะคะ
1. ถ้าเป็นความเครียดที่เกิดจากการดำเนินชีวิต ให้พยายามหาสาเหตุของปัญหา และจัดการแก้ไขต้นตอของปัญหา
2. ปรับปรุงวิถีชิวิตของตัวเองให้เหมาะสมกับการทำงาน ซึ่งจะทำให้ดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยความราบรื่น ไม่เกิดความเครียด หรือความกดดันในการทำงาน
3. คุณครูอาจไม่จำเป็นต้องเล่าถึงปัญหาที่เราต้องเผชิญ ให้คนอื่นฟังทุกเรื่องก็ได้ แต่ปัญหาบางอย่าง เราสามารถแชร์กับเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้ เพื่อขอคำแนะนำ และคำปรึกษาที่ดี
4. บางครั้งถ้านักเรียนไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่ครูตั้งไว้ คุณครูควรลดความคาดหวังด้านการเรียนในตัวนักเรียนลงบ้าง เพราะนักเรียนแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้ที่ต่างกัน
5.โรงเรียนควรจัดพื้นที่ให้คุณครูได้ผ่อนคลายความตึงเครียด และควรจัดตารางสอนไม่ให้ถี่จนเกินไป
6. ควรฝึกผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การฝึกหายใจให้ถูกวิธี การฝึกสมาธิ และการออกกำลังกาย เพื่อปรับอารมณ์ให้พร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนในคาบต่อไป
7. คุณครูต้องรู้จักปล่อยวาง และลดราวาศอกในเรื่องบางเรื่อง ที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุม และพยายามไม่เก็บสิ่งเหล่านั้นมาคิด
8. เมื่อรู้สึกเครียดกับพฤติกรรมของนักเรียน ควรหยุดและถอยออกมาสงบสติอารมณ์ก่อน แล้วค่อยกลับไปพูดคุยกับนักเรียนใหม่
9. การดื่มน้ำก็สามารถช่วยลดระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นความเครียดได้ คุณครูจึงควรดื่มน้ำเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร เพื่อเพื่อให้สมองชุ่มชื้นและขจัดความเครียด
10. พกยาดม ยาอม ยาหม่อง หรือยาหอมไว้ใช้เวลาที่ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกาย จนทำให้เกิดอาการ ปวดหัว หรือ วิงเวียน ซึ่งจะช่วยให้อาการทุเลาลงและช่วยบำบัดอารมณ์ความรู้สึกให้ดีขึ้นได้
ความเครียดนั้นนับว่าเป็นมิตรแท้และศัตรูตัวฉกาจสำหรับทุกคน ถ้าความเครียดมีมากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของเราได้เช่นกัน ดังนั้นคุณครูจึงต้องควบคุมความเครียดของตัวเองให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าจะปล่อยให้ความเครียดมาเป็นอุปสรรคที่คอยแต่ละทำร้ายตัวคุณครูนะคะ เมื่อครูมีสุขภาพจิตที่ดี ย่อมส่งผลดีให้กับนักเรียนของเรานั่นเองค่ะ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก :
www.trueplookpanya.com/blog/content/85895/-blog-teaartedu-teaart-
Related Courses
การดูแลสุขภาวะครู
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีและเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูจึงต้องดูแลตนเองและหาวิธีคลายเครียด เพื่อให้ ...
การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
เด็กๆ มีพฤติกรรมที่หลากหลาย มีทั้งพฤติกรรมทางบวกและลบ ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพาเด็กๆ ให้เข้าใจตนเอง ว่าเ ...
ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่
การสร้างการเรียนรู้สำหรับครูและผู้ปกครองในการพัฒนากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียนและบ้านเพื่อเพิ่มป ...
การออกแบบห้องเรียนฐานสมรรถนะ
นำประสบการณ์การจัดกิจกรรมตามหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่ายมาใช้ในกิจกรรมชุมนุม และการประเมินผลการเรียนรู้ที่ออกแบบตาม ...