วPA กับการประเมินฐานสมรรถนะ ตอนที่ 2

ศน.รัชภูมิ สมสมัย
ศน.รัชภูมิ สมสมัย 3672 views • 2 ปีที่แล้ว
วPA กับการประเมินฐานสมรรถนะ ตอนที่ 2

สมรรถนะผู้เรียนเป็นคุณลักษณะของผู้เรียนที่ประกอบด้วยความรู้ ทักษะกระบวนการ บุคลิกภาพส่วนตัว และแรงจูงใจที่มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกันจนผลักดันให้ผลการปฏิบัติงานสำเร็จบรรลุตามเป้าหมาย หรือเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด สามารถเขียนเป็นสมการเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจดังนี้ K + A + P + M & Successful = Competency

จาก OLE Model ถ้าหากครูเราสามารถสอนผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐาน / ตัวชี้วัด (KAP) แล้ว เรามีสมมติฐานที่ว่า ผู้เรียนจะเกิดสมรรถนะเหมือนที่เขียนไว้ในสมการ โดยมีขั้นตอนการเรียนการสอนดังนี้

จาก OLE Model ปกติครูเรามักจะประเมินถึงขั้นตอน Output เท่านั้น ไม่ได้ประเมินไปถึงขั้นตอน Outcome ส่งผลให้กระบวนการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตรปี 2551 ยังไม่ถูกต้องเท่าที่ควร      

แล้วเราจะทำอย่างไรให้ถูกต้อง ถูกต้องอย่างเดียวยังไม่พอ ถูกต้องแล้วยังสามารถรองรับการประเมินวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว.9 ได้อีกด้วย (ยิงปืนนัดเดียวได้นกมากกว่าสองตัว)

จากขั้นตอน OLE Model ในส่วนของ Evaluation ให้ครูมองการประเมินเป็น 2 ระยะ คือ

1. การประเมิน Output ในส่วนนี้จะเป็นการประเมินระยะแรก คือ การประเมินตามมาตรฐาน / ตัวชี้วัด (KAP) ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ว่าผู้เรียนบรรลุมาตรฐาน / ตัวชี้วัดหรือไม่? อย่างไร?

ข้อควรระวังของการประเมินระยะแรกคือ การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับ K A P ตัวอย่าง เช่น

ตัวชี้วัดที่เป็นความรู้ (K) ควรเลือกใช้เครื่องมือประเภทการทดสอบ

ตัวชี้วัดที่เป็นทัศนคติ (A) ควรเลือกใช้เครื่องมือประเภทการสังเกตพฤติกรรม

ตัวชี้วัดที่เป็นทักษะ (P) ควรเลือกใช้เครื่องมือประเภทการประเมินภาคปฎิบัติ

ประเด็นการเลือกใช้เครื่องมือนี้ ครูต้องวิเคราะห์หา keyword หรือพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกมาในตัวชี้วัดแต่ละตัวให้ได้ว่า ตัวชี้วัดมุ่งหวังให้นักเรียนมีพฤติกรรมปลายทางลักษณะใด เช่น เปรียบเทียบ อภิปราย หรือเรียงลำดับ เพราะ keyword ในส่วนนี้จะช่วยให้ครูเรา focus ได้ชัดเจนลงไปว่า ครูเราจะเลือกใช้เครื่องมือชนิดใดในการประเมินนักเรียนในแต่ละตัวชี้วัด เช่น ตัวชี้วัดมี keyword ว่า อ่านออกเสียง ตรงนี้ครูเราก็ต้องใช้แบบประเมินภาคปฏิบัติ หรือ ตัวชี้วัดมี keyword ว่า จับใจความสำคัญ ตรงนี้ครูเราก็สามารถเลือกใช้แบบทดสอบได้ หรือ ตัวชี้วัดมี keyword ว่า มีมารยาทในการอ่าน ตรงนี้ครูเราก็ต้องใช้แบบสังเกตพฤติกรรม

จุดแตกหัก ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับชั้นเรียนควรเริ่มจากการวิเคราะห์หา keyword ของผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อจะได้เชื่อมโยงไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนการสอน และการออกแบบการวัดผลในชั้นเรียน

หากครูเราเลือกใช้ประเภทของเครื่องมือให้สอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้และธรรมชาติของมาตรฐาน / ตัวชี้วัด ก็พอจะเชื่อได้ในระดับหนึ่งว่า ผลการประเมินมีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของผู้เรียนในแต่ละคน ถ้าพบว่ามาตรฐาน / ตัวชี้วัด ด้านใดด้านหนึ่งไม่ผ่านการประเมิน ครูก็ดำเนินการสอนซ่อมเสริมเพื่อให้ผู้เรียนคนนั้นมีผลการประเมินที่ผ่านเกณฑ์ต่อไป (Assessment For Learning)

สุดท้ายผู้เรียนที่เรารับผิดชอบทุกคนก็ควรมีผลการประเมินตามมาตรฐาน / ตัวชี้วัดในแต่ละระดับชั้น ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผ่านทุกตัว

ย้อนกลับไปที่นิยามและสมการของสมรรถนะของผู้เรียนที่บอกว่า สมรรถนะผู้เรียนเป็นผลจากการหลอมรวมระหว่าง ความรู้ ทักษะกระบวนการ บุคลิกภาพส่วนตัว และแรงจูงใจถ้าผลการประเมินระยะแรก (output) ผ่าน กอปรกับครูเรามีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนด้วยแล้ว เราก็พอจะเชื่อได้ว่านักเรียนเกิดสมรรถนะ แต่จะเกิดมากน้อยเพียงใดนั้นก็ต้องเป็นหน้าที่ของการประเมินระยะที่ 2 

2. การประเมิน Outcome คือ การประเมินสมรรถนะของผู้เรียน ซึ่งสมรรถนะนั้นถือว่าเป็นผลที่ได้จากการหลอมรวมระหว่าง ความรู้ ทักษะกระบวนการ บุคลิกภาพส่วนตัว และแรงจูงใจ

การประเมินสมรรถนะจึงไม่สามารถแยกการประเมินเป็นด้าน ๆ เหมือนระยะแรกได้ แต่ต้องเป็น การประเมินแบบองค์รวมทั้งเรื่องความรู้ ทักษะกระบวนการ บุคลิกภาพส่วนตัว และแรงจูงใจ ซึ่งเราเชื่อว่าการประเมินสมรรถนะนั้นต้องประเมินโดยผ่านสถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงาน

ความเชื่อเรื่องการประเมินสมรรถนะ มีส่วนที่สอดคล้องกับความหมายส่วนหนึ่งในนิยามคำว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนคือ ...ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก “ผลงาน” (Product) หรือ “ผลการปฏิบัติงาน” (Performance) ของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการเรียนรู้

ประมาณว่า เมื่อผู้เรียนได้รับโจทย์ที่เป็นสถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงานแล้ว นักเรียนต้องมีแรงจูงใจในการแก้ปัญหาโจทย์นั้นให้ประสบผลสำเร็จให้ได้ โดยอาศัยการบูรณาการทั้งเรื่องความรู้ ทักษะกระบวนการ และบุคลิกภาพส่วนตัวของผู้เรียนประกอบเข้าด้วยกัน (K + A + P + M & Successful)

สถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงานจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน

แต่การเลือกสถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงาน มาให้ผู้เรียนได้ทำนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอคือ สถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงาน นั้นต้องสอดคล้องกับเนื้อหาของกลุ่มสาระ ต้องสอดคล้องกับตัวชี้วัดของสมรรถนะที่ครูเราใช้ประเมิน และต้องสอดคล้องกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกในการประเมินที่ ท้าทาย มากกว่า ท้อแท้ เช่น หากต้องการประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการสื่อสาร ครูเราอาจจะเลือกการประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการสื่อสาร โดยไปกำหนดเป็นสถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงาน ไว้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้น ป.4 (ก็ได้)

เพราะฉะนั้น สถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงาน อาจจะเป็น “ให้นักเรียนเขียนสรุปเพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจจากการอ่านนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า” (เพราะแค่ ป.4) หรือ หากต้องการประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ครูเราอาจจะเลือกการประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยไปกำหนดเป็นสถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงาน ไว้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ กอท. ระดับชั้น ม.1 (ก็ได้)

เพราะฉะนั้น สถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงาน อาจจะเป็น “ให้นักเรียนนำเสนอจำนวนคนที่ติดเชื้อ Covid 19 ในจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงเดือนกันยายน 2564 โดยเลือกใช้วิธีการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์และมีคุณธรรม” (เพราะแค่ ม.1) เป็นต้น

แนวทางสำหรับการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนมี 3 แนวทาง คือ

1. ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประเมินทั้ง 5 สมรรถนะ (โรงเรียนพร้อมมาก)

2. พิจารณาว่าสมรรถนะด้านนี้ ควรไปกำหนดเป็นสถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดดี? (คล้ายตัวอย่าง)

3. ทำเครื่องมือประเมินสมรรถนะกลาง ๆ ขึ้นมา เพื่อใช้ประเมินร่วมกันทั้งโรงเรียน

ไม่มีแนวทางไหนเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ขึ้นกับบริบทของโรงเรียนเป็นสำคัญ แต่สิ่งที่ควรคำนึงเสมอคือ ร่องรอย / หลักฐานที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน (ที่มาของคะแนน)

ร่องรอย / หลักฐานก็คือสถานการณ์ / ภาระงาน / ชิ้นงาน ที่สอดคล้องกับสมรรถนะที่ครูเราใช้ประเมินนั่นเอง

ผมขออนุญาตปิดท้ายบทความด้วยบทสรุปง่าย ๆ ของคำว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนี้

1. ภายหลังที่ครูออกแบบการเรียนรู้แล้ว สมรรถนะของผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนา แต่สมรรถนะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ครูเราไม่สามารถตอบได้ เราจึงต้องหาตัวแทนของสมรรถนะ นั่นก็คือ “ผลงาน” (Product) หรือ “ผลการปฏิบัติงาน” (Performance)

คำถาม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสมรรถนะของผู้เรียนได้รับการพัฒนา?       

คำตอบ เราต้องทำการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ

2.  เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ ว.9 จะพบว่า สิ่งที่จะพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้ ก็คือ ข้อตกลงในการพัฒนางาน 

ผมสรุปเป็นสมการสั้น ๆ ได้ว่า ตัวแปรต้น คือ ข้อตกลงในการพัฒนางาน ส่วนตัวแปรตาม คือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โปรดติดตามมุมมองของผมในบทความฉบับหน้าครับ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
10544 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

การทดสอบเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากน้อยแค่ไหน และการสอบนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม
Starfish Academy

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
1037 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7002 ผู้เรียน

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
794 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
การเขียน วPA
05:24
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การเขียน วPA

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1267 views • 3 ปีที่แล้ว
การเขียน วPA
ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา
06:20
Starfish Academy

ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา

Starfish Academy
773 views • 2 ปีที่แล้ว
ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
78 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]