วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2564 สำนักงาน กคศ. ได้ทำหนังสือแจ้งเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ว.9 หรือเรียกแบบภาษาบ้าน ๆ คือ วPA โดยจะเริ่มใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2564
คำว่า ว.9 นั้นมาจากเลขที่ของหนังสือราชการ ที่ ศธ 0206.3/ว.9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ส่วน PA นั้นย่อมาจาก Performance Agreement แปลได้ว่า ข้อตกลงในการพัฒนางาน
บทความนี้ผมจะมุ่งไปที่หมวดที่ 1 หมวดที่ว่าด้วย “นิยาม” เพราะนิยามคือการกำหนดความหมายให้กับคำต่าง ๆ ที่ปรากฏในหลักเกณฑ์ ว.9
กคศ. ได้นิยามคำศัพท์สำคัญอยู่ทั้งหมด 6 คำ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้เรียน รอบการประเมิน ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ข้อตกลงในการพัฒนางาน และระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิตัล แต่ผมขอมุ่งเน้นไปที่คำสำคัญ 2 คำคือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และ ข้อตกลงในการพัฒนางาน
เพราะผมมั่นใจว่าคำสำคัญ 2 คำนี้ จะเป็นจุดแตกหักสำหรับการวางแผนการทำงานให้ถูกต้อง ให้ชัดเจน (ผมไม่เห็นมีผู้รู้ท่านใดกล่าวถึงในประเด็นนี้) ซึ่งสุดท้ายแล้วจะส่งผลต่อ “ผลการประเมิน” ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนตามเกณฑ์ ว.9 ทำไมผมถึงมั่นใจเช่นนั้น ลองมาอ่านเหตุผลของผมกันครับ
กคศ. ได้กำหนดนิยามของคำว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หมายความว่า ความรู้ ทักษะ เจตคติ ความคิด พฤติกรรม หรือคุณลักษณะตามจุดประสงค์ของหลักสูตร ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือมีพัฒนาการมากขึ้น เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติตามกระบวนการหรือกิจกรรมที่ครูผู้สอนออกแบบและดำเนินการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก “ผลงาน” (Product) หรือ “ผลการปฏิบัติงาน” (Performance) ของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการเรียนรู้
และ ข้อตกลงในการพัฒนางาน หมายความว่า ข้อตกลงที่ข้าราชการครูได้เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อแสดงเจตจำนงค์ว่าภายในรอบการประเมิน (ตามปีงบประมาณ) จะพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรให้สูงขึ้น โดยสะท้อนให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของตำแหน่งและวิทยฐานะที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับเป้าหมายและบริบทสถานศึกษา นโยบายส่วนราชการและกระทรวงศึกษาธิการ โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาได้เห็นชอบให้เป็นข้อตกลงพัฒนางาน
บทความนี้ผมจะอธิบายให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการประเมินฐานสมรรถนะกับผลลัพธ์การเรียนรู้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หมายความว่า ความรู้ ทักษะ เจตคติ ความคิด พฤติกรรม หรือคุณลักษณะตามจุดประสงค์ของหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือมีพัฒนาการมากขึ้น เมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติตามกระบวนการหรือกิจกรรมที่ครูผู้สอนออกแบบและดำเนินการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก “ผลงาน” (Product) หรือ “ผลการปฏิบัติงาน” (Performance) ของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการเรียนรู้
ผมในฐานะที่มีความสนใจศาสตร์การวัดและประเมินผลการศึกษา และได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้เพิ่มเติมในศาสตร์ด้านนี้มาพอสมควร ผมเห็นคำสำคัญที่สอดคล้องกับศาสตร์การวัดและประเมินผลการศึกษาอยู่ 3 คำ คือ
- ความรู้ ทักษะ เจตคติ ความคิด พฤติกรรม หรือคุณลักษณะ สิ่งนี้คือ สมรรถนะ รบกวนครูได้อ่านบทความเก่า ๆ ของผมประกอบด้วยครับ แล้วครูจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น
- มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือมีพัฒนาการมากขึ้น
- มุ่งเน้นไปที่ “ผลงาน” (Product) หรือ “ผลการปฏิบัติงาน” (Performance)
สรุปสั้น ๆ คือ ภายหลังที่ครูออกแบบการเรียนรู้แล้ว สมรรถนะของผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนา แต่สมรรถนะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ครูเราไม่สามารถตอบได้ เราจึงต้องหาตัวแทนของสมรรถนะ นั่นก็คือ “ผลงาน” (Product) หรือ “ผลการปฏิบัติงาน” (Performance) ชัดเลยครับว่า ความหมายที่ซ่อนอยู่ของคำสำคัญคำแรกคือ การประเมินฐานสมรรถนะของผู้เรียน
คำถาม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสมรรถนะของผู้เรียนได้รับการพัฒนา?
คำตอบ เราต้องทำการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะนั่นเอง
ศน.รัชภูมิ สมสมัย
Related Courses
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...



เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning
เรียนรู้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครูในการประเมิ ...



เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning
สอนวิทยาศาสตร์ อย่างไรให้ทรงพลังตามเกณฑ์ วPA
คุณครูไม่ต้องกังวลใจไป เมื่อมีการประกาศเกณฑ์ในการประเมินวิทยฐานะใหม่ (วPA) มาเตรียมตัวให้พร้อมกับการประเมินวิทยฐานะ ...



ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...



Related Videos


เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน


การเขียน วPA


รีวิวการเขียน วPA Style ครูกั๊ก

