3 ตัวเลือกนโยบาย เพื่อเร่งการฟื้นฟูการเรียนรู้

Starfish Academy
Starfish Academy 1915 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ตัวเลือกนโยบาย เพื่อเร่งการฟื้นฟูการเรียนรู้

องค์กร World Bank, UNICEF, และ UNESCO ได้ทำรายงานฉบับนึง มีชื่อว่า THE STATE OF THE GLOBAL EDUCATION CRISIS: A PATH TO RECOVERY มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูปัญหาทางการศึกษา ในรายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ต่อการเรียนรู้ (IMPACT OF COVID-19 ON LEARNING) ความเหลื่อมล้ำที่กำลังเติบโตขึ้นในด้านของการเรียนรู้ (INEQUALITY IS GROWING IN LEARNING) การตอบสนองของนโยบายที่จะช่วยลดหย่อนผลกระทบของการปิดเรียน (POLICY RESPONSES FOR MITIGATING THE EFFECTS OF SCHOOL CLOSURES) การสร้างระบบฟื้นฟูการศึกษา (CREATING MORE RESILIENT SYSTEM) และบทสรุป สิ่งที่ต้องทำทันทีเพื่อฟื้นฟูการศึกษา (CONCLUSION : ACT NOW TO RECOVER LEARNING)

แต่วันนี้ Starfish Labz ขอยกประเด็นเรื่องการสร้างระบบฟื้นฟูการศึกษา (CREATING MORE RESILIENT SYSTEM) ที่ได้พูดถึง 3 ตัวเลือกนโยบาย เพื่อเร่งการฟื้นฟูการเรียนรู้ มาแปลให้กับชาว Starfish Labz ได้อ่านกัน ซึ่งเป็นการรวบรวม Case Study ตัวอย่างจากประเทศต่าง ๆ มาเป็นกรณีศึกษา ดังนี้ 

ตัวเลือกที่ 1 : การรวมหลักสูตร (Consolidating the Curriculum) 

มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการรวมหลักสูตรและสื่อการสอนให้เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้มากกว่ายึดตามมาตรฐานหลักสูตร (หลักสูตรแกนกลาง) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงการเรียนรู้ ซึ่งการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เปิดโอกาสให้ดำเนินการปฏิรูปหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ การรวมหลักสูตรกำหนดให้ประเทศต่างๆ ต้องจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดลำดับความสำคัญและตัดสินใจว่าควรสอนและเรียนรู้ผ่านสื่อใดในแต่ละชั้น ในทุกวิชา คุณครูควรพิจารณาว่าทักษะ ความรู้ และความสามารถใดเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ก่อน สำหรับการเรียนรู้ในครั้งถัดๆ มา เพื่อให้เด็กแต่ละคนสามารถเรียนรู้สิ่งที่จำเป็นก่อนที่จะได้สัมผัสกับเนื้อหาใหม่ ควรเน้นที่การเรียนรู้หลัก เช่น การรู้หนังสือ การคิดเลข และความสามารถทางสังคมและอารมณ์ 

  • ตัวอย่างที่ 1: หลักสูตรของประเทศแทนซาเนียสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ถูกรวมเข้าด้วยกันในปี 2015 ช่วยลดจำนวนวิชาที่สอนและเพิ่มเวลาในการคำนวณพื้นฐานและการรู้หนังสือ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการปฏิรูปทำให้เกิดผลในเชิงบวกอย่างมากในวิชาคณิตศาสตร์และภาษา 
  • ตัวอย่างที่ 2: กระทรวงศึกษาธิการของประเทศกายอานาได้เปิดตัวหลักสูตรรวมเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนกลับเข้าห้องเรียนได้อีกครั้ง ซึ่งเริ่มในฤดูใบไม้ร่วงปี 2021 และจะคงอยู่นานสูงสุดสี่ปี โดยพิจารณาจากความสำเร็จของนักเรียนในการติดตาม

ตัวเลือกที่ 2 : ขยายเวลาสอน (EXTENDING INSTRUCTIONAL TIME)

การวิจัยก่อนเกิดโรคระบาดแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนสามารถปรับปรุงผลลัพธ์จากการเรียนรู้ได้ สามาทำได้หลากหลายวิธี เช่น การขยายวันของโรงเรียน การปรับเปลี่ยนปฏิทินการศึกษาเพื่อให้ปีการศึกษายาวขึ้น หรือเสนอให้โรงเรียนเปิดเรียนภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุกคนหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ วิธีการเหล่านี้จะให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงหากนักเรียนเข้าร่วมและให้ความสนใจในระดับที่สูงเช่นกัน ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความเหมาะสมกับบริบท เช่นเดียวกับการพิจารณาสิ่งจูงใจและข้อแลกเปลี่ยนที่จะทำให้ครู นักเรียน และครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด

  • ตัวอย่างที่ 1: ในประเทศเคนยา รัฐบาลได้ประกาศ "crash program" แบบเร่งรัดระยะเวลาสองปี ซึ่งจะเพิ่มให้มีภาคเรียนที่สี่เข้าไปในสามภาคเรียนปกติ โดยลดวันหยุดเรียน 
  • ตัวอย่างที่ 2: ในประเทศเม็กซิโก กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศขยายแผนปฏิทินการศึกษาเพื่อพิจารณาระยะเวลาฟื้นฟู 
  • ตัวอย่างที่ 3: ในประเทศมาดากัสการ์ รัฐบาลได้ขยายโครงการ “catch-up” ภาคฤดูร้อนสองเดือนที่มีอยู่ในปี 2020 สำหรับนักเรียนที่กลับเข้าสู่โรงเรียนอีกครั้งหลังจากออกจากระบบ

ตัวเลือกที่ 3 : การปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนรู้ (IMPROVING THE EFFICIENCY OF LEARNING) 

​​ระบบการศึกษาจำเป็นต้องดำเนินโครงการที่ส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนให้สูงขึ้น มีวิธีที่มีประสิทธิภาพหลายวิธี ได้แก่ 

  • วิธีที่ 1: การสอนแบบกำหนดเป้าหมาย (Targeted Instruction) 

ซึ่งกำหนดให้มีการประเมินระดับการเรียนรู้ของนักเรียนและจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ มากกว่าจัดตามอายุหรือระดับชั้น ครูจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้ของนักเรียน แทนที่จะเริ่มจากจุดเริ่มต้นที่สมมติขึ้นมา หรือเริ่มจากความคาดหวังตามหลักสูตร

ทำอย่างไร? : แนวทาง targeted instruction มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนและระบบการศึกษาได้ ได้แก่ การจัดกลุ่มตามระดับการเรียนรู้ในบางช่วงของวันเรียน การเรียนพิเศษระหว่างปีการศึกษา หรือกิจกรรมของโรงเรียนภาคฤดูร้อน

  • วิธีที่ 2: ออกแบบและใช้วิธีการสอนแบบมีโครงสร้าง (Invest in Structure Pedagogy Programs) 

Structured pedagogy เป็นชุดเครื่องมือที่เน้นการปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ในห้องเรียน การวิจัยพบว่าวิธี structured pedagogy จะให้ผลลัพธ์เชิงบวกที่สม่ำเสมอที่สุด

ทำอย่างไร? : โปรแกรมนี้จะประกอบด้วยคู่มือครูที่จัดเตรียมแผนการสอนในแต่ละวัน การฝึกอบรมและการฝึกสอนสำหรับคุณครูเพื่อเสริมทักษะในการสอนสำหรับบทเรียนนั้น ๆ และสื่อการสอนสำหรับนักเรียนในอัตราส่วน 1:1 โดยปกติจะมีเครื่องมือในการตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ในห้องเรียนเพื่อสนับสนุนโรงเรียนและครูผู้สอน เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ควบคู่และอำนวยความสะดวกให้กับการสอนแบบ structured pedagogy ได้ เช่น การเข้าถึงอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ สถาปัตยกรรมดิจิทัล การเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้ และทักษะด้านดิจิทัล หากโรงเรียนมีความพร้อมในสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ในบริบทที่มีทรัพยากรน้อย สิ่งที่ทำได้ในระยะสั้น ก็คือการพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อพัฒนาครูในการใช้ structured pedagogy 

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Structured Pedagogy www.unicef.org/esa/media/7511/file/ESA-Structured-Pedagogy-2020.pdf

  • วิธีที่ 3: การสอนพิเศษในกลุ่มเล็ก (Offering small-group tutoring Programs)

มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าการสอนพิเศษสามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ แต่ประสิทธิภาพของวิธีการนี้ขึ้นอยู่กับขนาดกลุ่มและความถี่ของการเรียน

ทำอย่างไร?: การสอนพิเศษจะมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีนักเรียนหนึ่งถึงสี่คนต่อผู้สอนหนึ่งคน ซึ่งสามารถเป็นครู ผู้ช่วยครู หรืออาสาสมัครได้ การสอนพิเศษอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาเรียนหรือหลังเลิกเรียน ตัวต่อตัวหรือออนไลน์ ขึ้นอยู่กับบริบทที่เหมาะสม การสอนพิเศษจะเป็นความท้าทายในการดำเนินการตามขนาดในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางจำนวนมาก แต่การทดลองอาจให้ผลตอบแทนสูง

  • วิธีที่ 4 : โอกาสในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Offering self-guide learning programs) 

เช่นเดียวกับการสอนแบบตรงเป้าหมาย โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองช่วยให้นักเรียนก้าวหน้าขึ้นทีละน้อยเพื่อมุ่งสู่การเรียนรู้ทักษะพื้นฐาน สามารถใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีคำแนะนำเฉพาะจากคุณครู 

ทำอย่างไร? กิจกรรมสามารถใช้ดินสอและกระดาษ หรือในสถานที่ที่เทคโนโลยีเข้าถึงและเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือที่บ้าน อาจเกิดขึ้นได้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้คอมพิวเตอร์ กิจกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ แต่จำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยและวิธีการขยายผลกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพไปในบริบทที่มีรายได้น้อย

  • ตัวอย่างที่1 : การใช้ Structured pedagogy คู่มือครูพร้อมแผนการสอนนั้นได้มีข้อพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพสูงในประเทศเคนยา
  • ตัวอย่างที่ 2: การใช้ Targeted instruction ได้ถูกนำไปใช้ในปริมาณที่มากขึ้นในประเทศโกตดิวัว
  • ตัวอย่างที่ 3: ในประเทศอังกฤษ กำลังดำเนินโครงการเรียนพิเศษสำหรับเด็กทุกคน และมีตัวเลือกสำหรับการเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างง่าย ๆ ผ่านระยะไกลในประเทศบอตสวานาและประเทศบังกลาเทศ ซึ่งก็มีประสิทธิภาพ 
  • ตัวอย่างที่ 4: การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำไปใช้ในวงกว้างในประเทศอุรุกวัย และโครงการที่ใช้ดินสอและกระดาษเห็นผลลัพธ์ที่ดีในประเทศบังกลาเทศ โครงการการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แท็บเล็ตในประเทศมาลาวียังแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจในระยะนำร่อง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้ง 3 ตัวเลือกนโยบายเพื่อเร่งการฟื้นฟูการเรียนรู้จะต้องอยู่ภายใต้การสร้างความมั่นใจให้กับคุณครูว่า คุณครูได้รับการสนับสนุนอย่างดีเยี่ยม (Ensuring Teachers are well-supported) นโยบายถึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ หากพูดถึงการฟื้นฟูการศึกษาในประเทศไทย มีกรณีศึกษาของโรงเรียนบ้านปลาดาว จังหวัดเชียงใหม่ นำโดยดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education ได้พูดถึงประเด็น Learning Loss และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านปลาดาว (bit.ly/3DqbeFE) และได้นำเสนอ 5 มาตรการฟื้นฟูความรู้ที่ถดถอย (bit.ly/3qxs5me) โดยมีโรงเรียนบ้านปลาดาวนำไปปฏิบัติเพื่อเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่น ๆ 

ทั้งนี้หากโรงเรียนอื่น ๆ สนใจเรื่อง Learning Loss และอยากรู้ว่า 5 มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยที่โรงเรียนได้ทำนั้นเป็นอย่างไร สามารถเข้าไปเรียนในคอร์ส(bit.ly/3HVe5sD) ได้เลยค่ะ 

แหล่งอ้างอิง (Sources):

The World Bank, UNESCO and UNICEF (2021). The State of the Global Education Crisis: A Path to Recovery. Washington D.C., Paris, New York: The World Bank, UNESCO, and UNICEF.

www.unicef.org/reports/state-global-education-crisis

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1029 ผู้เรียน
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
Starfish Academy

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy

Related Videos

มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)
05:26
ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร

มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร
4018 views • 3 ปีที่แล้ว
มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7686 views • 3 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
84 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
04:50
Starfish Academy

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)

Starfish Academy
10712 views • 2 ปีที่แล้ว
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)