การพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (CBE)
กิจกรรม Innovation Coaching โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
ภายใต้กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (CBE)
กิจกรรมการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (CBE) เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบ และนวัตกรรมการศึกษา การพัฒนานวัตกรรมกับการจัดการเรียนรู้ในอนาคตเป็นอย่างไร และการวางแผนในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมอย่างไร ทั้งนี้ นวัตกรรมคือสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ นำมาใช้งานได้ ซึ่งมีคุณค่ามากกว่าสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลายกลุ่ม หลายภาคส่วน จุดสำคัญของนวัตกรรม คือเป็นไปตามความต้องการ (Desirable) นำไปใช้งานได้จริง (Viable) และทำได้จริง (Feasible) โดยในส่วนของนวัตกรรมสามารถนำมาทดสอบใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปเป็นแบบอย่างและขยายผลได้
การคิดออกแบบเชิงนวัตกรรม และนวัตกรรมการศึกษา ประกอบไปด้วย หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นภาพรวมในการดำเนินการจัดการของโรงเรียนตามบริบท หรือตามสภาพของโรงเรียน
โดยการนำกระบวนการคิดเชิงระบบ STEAM Design Process ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ การตั้งคำถาม การสร้างจินตนาการ การวางแผน การนำไปปฏิบัติ และการสะท้อนผลในการพัฒนานวัตกรรม สำหรับการพัฒนานวัตกรรมของโรงเรียน นวัตกรรมของโรงเรียนคืออะไร ทั้งนี้ อยากให้โรงเรียนช่วยกันมองว่า โรงเรียนได้มีการพัฒนาในด้านใด ซึ่งจากการวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนทางไกล การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้รียน ความเหลื่อมล้ำในการเรียนรู้ สุขภาวะพื้นฐานของผู้เรียน ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
จากกรอบแนวคิดในการพัฒนาเพื่อจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ สพฐ. ดำเนินการในช่วงชั้นที่ 1 มีวัตถุประสงค์เชิงสมรรถนะอะไร มีกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างไร มีสื่อการเรียนการสอนอย่างไร และการวัดประเมินผลอย่างไร โดยการนำกระบวนการ STEAM Design Process เข้ามาในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสู่การจัดกิจกรรมตามกลุ่มสาระวิชา หน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือโครงการพิเศษ รวมไปถึงระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมเป็นไปตามผลที่คาดหวังไว้หรือไม่ ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่โรงเรียนจะต้องทำการวิเคราะห์ และระดมความคิดในการพัฒนานวัตกรรม ออกแบบและวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านผู้เรียนได้อย่างไร
โดยการ Workshop ในครั้งนี้มีใบกิจกรรมให้ครูได้ดำเนินการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมของครูมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ หรือไม่ อย่างไร โดยในส่วนแรกจะเป็นลักษณะของการนำไปใช้ในกิจกรรมของแต่ละรายวิชาในช่วงชั้นใด ผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรมจะเป็นอย่างไร ใช้หลักการหรือทฤษฎีใดมาเป็นข้อกำหนด และวาดแผนภาพต้นแบบนวัตกรรม รวมไปถึงครู นักเรียน และผู้ปกครอง/ชุมชน (ถ้ามี) มีความคาดหวังอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องการหรือไม่ และมีความยากลำบากอย่างไร ทั้งนี้ เน้นที่ครูและนักเรียนเป็นสำคัญ ตลอดจนการสร้างประโยชน์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของนวัตกรรม ส่วนที่สอง ใบงานกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ในอนาคต เป็นการนำนวัตกรรมของครูมาใช้กับการจัดการเรียนรู้ในอนาคตของโรงเรียน ครู และนักเรียน จะมีลักษณะอย่างไร และอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง โดยการใช้นวัตกรรมในฉากทัศน์ (Scenario) ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น
1) โควิดหมดไป เด็กกลับมาเรียนในโรงเรียนเช่นเดิม
2) ยังคงมีโควิดระบาดอยู่ โรงเรียนเปิดได้บ้าง ไม่ได้บ้าง หรือเปิดได้เป็นบางส่วน
3) โควิดระบาดมาในพื้นที่ ไม่มีเด็กคนไหนได้ไปโรงเรียนเลย ทั้งนี้ สามารถนำเอานวัตกรรมมาจัดการเรียนรู้ในอนาคต ใน 3 ฉากทัศน์ได้อย่างไร โดยให้โรงเรียนเลือก 2 ฉากทัศน์ตามความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียน โดยการเขียนคำอธิบายลักษณะการใช้นวัตกรรม จุดเด่นและข้อจำกัด หลังจากการทำฉากทัศน์แล้ว เข้าสู่ขั้นตอนของการวางแผนเพื่อพัฒนาต้นแบบและการนำไปทดลองใช้ โดยโรงเรียนดำเนินการวางแผนกำหนดช่วงเวลาในการนำนวัตกรรมไปใช้และช่วงเวลาในการทดสอบ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาต้นแบบแล้ว นำไปทดลองกับผู้เรียนจากการจัดการเรียนการสอน ทำการทดสอบวัดและประเมินผลก่อน-หลังเรียนว่าผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร และทำการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล (Effect Size) และสรุปผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้ส่งผลอย่างไร ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาสู่ผู้เรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Related Courses
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...
ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...