งานเสวนา โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”
เครื่องมือหรือวิธีการปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19
โรงเรียนวัดบ้านไร่ (ประชานุกูล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีครูและบุคลากรจำนวน 13 คน และมีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 235 คน
จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้โรงเรียนได้มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ตามแต่ที่ผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียนได้ สำหรับแนวทางการดำเนินการจัดการเรียนการสอน ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรในการวางแผนแนวทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน โดยการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนในการเรียนจากรูปแบบใดผ่านครูประจำชั้น เนื่องจากว่าผู้ปกครองมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ (พม่า ลาวและมอญ) และจากการสำรวจพบว่า นักเรียนมีความพร้อมในหลากหลายรูปแบบ ทั้ง On Air Online On Demand และ On Hand ทั้งนี้ โรงเรียนได้มีการจัดตารางเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์ และทำการแจ้งผู้ปกครองให้ทราบถึงการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว
สำหรับนักเรียนที่สามารถเรียนออนไลน์ได้ การจัดการเรียนการสอน ไม่เน้นด้านเนื้อหาอย่างเดียวแต่จะต้องทำให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียนด้วย เพื่อที่จะให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียนในชั่วโมงต่อไป โดยมีการจัดรูปแบบที่หลากหลาย แต่การเรียนในรูปแบบ On Air Online On Demand ในระดับชั้นต่างๆ ยังไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากยังมีนักเรียนบางกลุ่มที่ยังไม่เข้าถึงเทคโนโลยีต่างหรือไม่มีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ ซึ่งในช่วงแรกมีการจัดใบงาน ใบกิจกรรม เป็นชุดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมารับที่โรงเรียน หลังจากทำไปสักระยะหนึ่ง พบว่านักเรียนขาดการส่งงานและนักเรียนไม่มีความเข้าใจในใบงานที่ส่งไป เนื่องจากเด็กเล็กจะต้องมีการอธิบาย ควบคุมและดูแลจากผู้ปกครอง เพราะฉะนั้น โรงเรียนจึงนำนวัตกรรมที่เป็นต้นแบบจากบ้านปลาดาว มูลนิธิสตาร์ฟิชฯมาปรับใช้ คือ การนำ Learning Box นำมาปรับใช้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 ในการจัดการเรียนการสอนควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น วิชาภาษาไทยให้นักเรียนแต่งกลอนและบูรณาการโดยการนำอุปกรณ์ที่อยู่ในกล่อง Learning Box ตกแต่งเป็นใบงาน และวิชาวิทยาศาสตร์ที่ให้เด็กได้ลงมือประดิษฐ์ ทดลองด้วยตนเอง เป็นต้น
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 โรงเรียนได้มีการประกาศเปิดเรียนอีกครั้ง เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในภาคเรียนที่ 2/2563 ซึ่งโรงเรียนได้มีการนำนวัตกรรม Learning Box มาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยปรับใช้ในห้องเรียนในรูปแบบการทำกิจกรรมผ่าน Learning Box การลงมือทำเป็นกลุ่มให้นักเรียนได้คิดร่วมกัน ทำงานร่วมกัน และเรียนรู้ด้วยตนเอง และจากการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ส่งผลให้คะแนนรวมการสอบระดับชาติของทุกรายวิชาสูงกว่าระดับประเทศทั้ง 4 รายวิชา ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ทำให้เห็นว่า นวัตกรรม Learning Box สามารถนำมาใช้ได้จริงและเห็นผลอย่างชัดเจน และในปีการศึกษา 2564 โรงเรียนยังคงจัดการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม เนื่องจากสถานการณ์โควิดยังไม่คลี่คลาย และจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นว่า ถึงแม้โรงเรียนจะหยุดลงแต่การเรียนรู้ของผู้เรียนจะหยุดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ครูและบุคลากรทุกคนต้องหาทุกวิถีทางเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพของนักเรียน
นางสาวชนกานต์ แสงงาม ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบ้านไร่ (ประชานุกูล) จ.สมุทรสาคร
ครูมินตรา กะลินตา หัวหน้าวิชาการ (แทน)
บทความใกล้เคียง
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 2 การนำไปใช้กับผู้เรียน (ครูผู้สอน)
กิจกรรม TSQP Kick Off, Leader Workshop และ Teacher Workshop โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
การสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP Kick off ครั้งที่ 2
Related Courses
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...