การสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP Kick off ครั้งที่ 2

การสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP Kick off ครั้งที่ 2

ตัวแทนรุ่นที่ 1 ในการแบ่งปันประสบการณ์

ผอ.วราลักษณ์ อุดมลักษณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเวียงหวาย

โรงเรียนบ้านเวียงหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ตั้งอยู่ ต.ม่อนปิน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ บริบทโรงเรียนเป็นโรงเรียนในพื้นที่ชายขอบ พื้นที่บางส่วนติดกับพื้นที่ชายแดนพม่า นักเรียนทั้งหมดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นไทยใหญ่ ดาราอาง ลาหู่ ทั้งนักเรียนและผู้ปกครองไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก เพราะฉะนั้น การจัดการศึกษาของโรงเรียนจึงมีปัญหาหลายประการ ทำให้โรงเรียนตัดสินใจเลือกเข้าร่วมโครงการ และพิจารณาเป้าหมายของโครงการโดยมีทีมโค้ชช่วยแนะนำ ส่งผลให้โรงเรียนได้รูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การบูรณาการซึ่งมีการใช้ในหลายลักษณะ เช่น การบูรณาการเข้ากับกิจกรรมประจำวันของครูตามแผนการเรียนการสอน ประจำวิชา ประจำกลุ่มสาระต่างๆ บูรณาการกับกิจกรรมในโครงการตามแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเท่าที่โรงเรียนจะบูรณาการได้ และการบูรณาการในกิจกรรมนักเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมชุมนุมประจำสัปดาห์ โดยให้เด็กได้เรียนรู้และได้ใช้กิจกรรม STEAM Design Process อย่างจริงจัง 

จากการที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่รุ่นที่ 1 ซึ่งยังมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On-site ผลจากการวัดและประเมินผลพบว่า เด็กได้รับการพัฒนาขึ้นจากกิจกรรม STEAM Design Process เนื่องจากสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และสอดคล้องกับผู้เรียนเนื่องจากนักเรียนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้น โอกาสที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นมีน้อย เพราะฉะนั้น ทักษะในการทำงาน ทักษะชีวิตจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งโรงเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญและจัดกิจกรรมแก่นักเรียน 

จากที่ได้เข้าร่วมโครงการในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนประสบความสำเร็จอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกที่พัฒนา คือ สถานศึกษาและตัวผู้บริหารเอง มีการประเมินตัวเอง มีความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนามากขึ้น และโรงเรียนสามารถนำกระบวนการ PLC เข้ามาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการทำงานของครูและของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายได้ดี ทำให้เกิดผลการพัฒนาเป็นที่น่าพอใจ ด้านของครู คิดว่าครูมีการพัฒนาตนเอง ในด้านของการจัดกระบวนการเรียนการสอน เช่น การออกแบบการจัดแผนการเรียนรู้ มีการบูรณาการกิจกรรม Active Learning มากขึ้น มีการเน้นการวัดประเมินผลตามสภาพจริง และจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้นักเรียนต้องเรียนรู้ที่บ้าน และครูต้องทำงานที่บ้าน 

ดังนั้น กิจกรรมการประเมินผลตามสภาพจริง ทางโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองมากขึ้น ในการสนับสนุนติดตามงานให้กับครู ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วมการประเมินผลให้กับครูในด้านนักเรียน และจากการสอบถามผู้ปกครอง พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะตามที่โรงเรียนตั้งเป้าไว้ คือ มีทักษะ มีพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีทักษะในการทำงานที่บ้าน เพราะว่าในเรื่องทักษะการทำงานบางระดับชั้นที่สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารได้ดี ครูจะมอบหมายให้นักเรียนถ่ายคลิป หรือถ่ายภาพกิจกรรมที่นักเรียนทำที่บ้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตนำส่งครู ตรงนี้ถือว่าเป็นการประเมินผลรูปแบบหนึ่ง พบว่า นักเรียนบรรลุตามเป้าหมายของโรงเรียนพอสมควร ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่โรงเรียนพอใจ นักเรียนมีทักษะชีวิต มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นคนดีของสังคม เป็นที่ยอมรับของชุมชนและในโรงเรียนใกล้เคียง ในส่วนของชุมชน เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่รู้ภาษาไทย ทำให้เกิดความยากลำบากในการสื่อสาร แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด ถือว่าเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส คือ โรงเรียนได้แนวคิดจากมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ ในการนำ Learning Box ให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่บ้าน มีผู้ปกครองช่วยติดตาม ดูแล และโรงเรียนได้ปรับเปลี่ยนจาก Box กลายป็น Bag เพื่อให้ง่ายต่อการส่งมอบ สำหรับวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ และวิธีดำเนินการต่างๆ ได้ใช้แนวคิดของสตาร์ฟิชฯ เป็นหลัก ซึ่งชุมชนถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการขนส่งสู่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และจากการดำเนินการในด้านต่างๆ ของโรงเรียน ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ โรงเรียนมีความเชื่อมั่นว่า ทั้งตัวผู้บริหาร ครู และนักเรียนจะได้รับการดูแล การพัฒนาที่สอดคล้องเหมาะสมอย่างเป็นระบบ

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ และทีมโค้ชทุกท่านที่ให้การสนับสนุนด้วยดีมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้แก่โรงเรียน ในด้านการพัฒนา การบริหารจัดการ การเรียนการสอน การมีกิจกรรมร่วมกับชุมชน อีกทั้งในการเข้าร่วมโครงการ ทำให้โรงเรียนมีการเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียน คือ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน และบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร โดยมีกิจกรรมและทีมของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชฯ มาเติมเต็มให้การพัฒนาของโรงเรียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ตัวแทนรุ่นที่ 2 ในการแบ่งปันประสบการณ์ 

ผอ.ดวงภัทร สุนิมิตร ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดละมุด (ร.ส.พ.ราษฎร์บำรุง)

โรงเรียนวัดละมุด อยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนจำนวน 145 คน ชุมชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้าง เพราะฉะนั้น บริบทของโรงเรียนจะมีความหลากหลายทางด้านความเป็นอยู่ ดังนั้น ในการเข้าร่วมโครงการ TSQP รุ่นที่ 2 ได้รับการแนะนำจากทีมโค้ชมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ ในการพัฒนาครูให้สามารถพัฒนานักเรียนได้ ช่วงเริ่มแรกที่ได้เข้าร่วมโครงการได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้โรงเรียนต้องทำการปรับการเรียนการสอนตามสถานการณ์ แต่เมื่อเข้าโครงการแล้วสิ่งแรกที่เห็น คือ การกำหนดเป้าหมายและอัตลักษณ์ของโรงเรียนเอง ซึ่งในการที่จะหาเป้าหมายหรืออัตลักษณ์โรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากได้เป้าหมายหรืออัตลักษณ์โรงเรียนที่มาจากการมีส่วนร่วมของทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง จะทำให้เป้าหมายหรืออัตลักษณ์โรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเหมาะกับบริบทของโรงเรียน เพราะฉะนั้น เป้าหมายของโรงเรียน ทุกคนลงความเห็นว่า เด็กควรจะได้รับการพัฒนาด้านการคิด เพราะว่าการคิดวิเคราะห์หรือการคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นการคิดที่เด็กควรจะมีทักษะให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้หรืออยู่ในสังคมได้ ดังนั้น อัตลักษณ์ของโรงเรียน คือ “นักคิดสมองใส” สำหรับในปีนี้ โรงเรียนได้เพิ่มเป้าหมาย “การเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียน” 

จากการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ถึงแม้ว่าโรงเรียนยังไม่ได้เข้าสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ และไม่ได้เป็นโรงเรียนนำร่องพัฒนาหลักสูตรนี้ ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะจัดการเรียนการสอนแบบ On-site ไม่ได้ แต่ว่าโรงเรียนน่าจะมีวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในเชิงรุก เพื่อที่จะให้เด็กๆ มีสมรรถนะได้ การพัฒนาเด็กควรจะเป็นไปในรูปแบบตามสถานการณ์จริง ดังนั้น ประเด็นท้าทายของโรงเรียน คือ การจัดการเรียนการสอนในฐานสมรรถนะ เพื่อให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน เมื่อโรงเรียนได้เป้าหมายจากการมีส่วนร่วมแล้ว ก็จะเริ่มพัฒนาเด็กๆ ผ่านครู

ซึ่งกิจกรรมหลักของโรงเรียนจะเน้นการ PLC เป็นหลัก ในการหาปัญหา หาสาเหตุ หาวิธีการแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆ กันในทุกๆ สัปดาห์ ตลอดจนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กระบวนการ STEAM Design Process ทั้งนี้ โรงเรียนได้เริ่มใช้กระบวนการในช่วงที่ยังมีการจัดการเรียนการสอนแบบ On-site ประมาณ 2 เดือน โดยได้ทดลองนำกระบวนการ STEAM Design Process มาใช้ร่วมกับกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง เป็นพื้นฐานให้เด็กได้รู้จัก STEAM Design Process และให้ครูรู้ว่าจะจัดกิจกรรมรูปแบบใด ซึ่งโรงเรียนได้มีการนำไปปรับใช้ควบคู่กับการทำ Learning Box ให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการนี้ที่บ้านได้ โดยที่มีผู้ปกครองเป็นโค้ชให้เด็กแทนครู ตรงนี้ถือว่าเป็นการพัฒนาครูผ่านกระบวนการ PLC ของโรงเรียน และผลที่ได้ถึงแม้ว่าเด็กจะไม่ได้มีทักษะที่มากตามที่เราต้องการ แต่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและมีส่วนร่วมกับผู้ปกครอง 

สิ่งหนึ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนหรือตัวผู้ปกครองที่เห็นได้ชัดคือ ผู้ปกครองไม่เคยถามถึงเกรดหรือคะแนนของนักเรียน เนื่องจากผู้ปกครองรู้ได้ว่าเด็กพัฒนาขึ้น เด็กคิดเป็น แก้ปัญหาได้ และผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้หรือว่าอำนวยความสะดวกให้แก่เด็กมากขึ้น เพราะฉะนั้น โรงเรียนถือว่าประสบความสำเร็จในด้านการวัดประเมินผล เนื่องจากเป็นการวัดเพื่อให้เด็กๆ สะท้อนในด้านการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น และเป็นการวัดเพื่อสะท้อนให้ครูใช้ผลลัพธ์เหล่านี้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน และผู้ปกครองจะวัดว่าเด็กสามารถใช้ทักษะในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้ผู้ปกครองมี mind set ที่เปลี่ยนแปลงไป ถือว่าเป็นความสำเร็จของโรงเรียน 

ซึ่งความสำเร็จทั้งหมดมาจากการที่มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชฯ เป็นผู้ให้ประสบการณ์ เพราะถ้าไม่มีมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ โรงเรียนก็จะไม่รู้จักกระบวนการ ครูก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning เพราะฉะนั้น มูลนิธิสตาร์ฟิชฯ ถือเป็นวง PLC หรือผู้เชี่ยวชาญในวง PLC ที่ช่วยให้โรงเรียนเดินไปได้ถูกทาง มีความมั่นใจ และสร้างให้โรงเรียนทำงานเป็นระบบมากขึ้นอีกด้วย

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
7001 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2725 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2745 ผู้เรียน
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
Starfish Academy

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

Starfish Academy
4389 ผู้เรียน

Related Videos

Learning Loss - การภาวะความถดถอยในการเรียนรู้
10:11
Starfish Academy

Learning Loss - การภาวะความถดถอยในการเรียนรู้

Starfish Academy
1419 views • 2 ปีที่แล้ว
Learning Loss - การภาวะความถดถอยในการเรียนรู้
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
10:22
Starfish Academy

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1507 views • 2 ปีที่แล้ว
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
Well Being - การพัฒนาสุขภาวะของผู้เรียน
11:22
Starfish Academy

Well Being - การพัฒนาสุขภาวะของผู้เรียน

Starfish Academy
83 views • 2 ปีที่แล้ว
Well Being - การพัฒนาสุขภาวะของผู้เรียน
Success - การพัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนอย่างเด่นชัด
13:16
Starfish Academy

Success - การพัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนอย่างเด่นชัด

Starfish Academy
236 views • 2 ปีที่แล้ว
Success - การพัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนอย่างเด่นชัด