กิจกรรม TSQP Kick Off, Leader Workshop และ Teacher Workshop โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
ติดตามเส้นทางการเติบโตของโรงเรียน
จากการติดตามเส้นทางการเติบโตของโรงเรียน ปี 2564 แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับโรงเรียน ระดับห้องเรียน และระดับผู้เรียน โดยในส่วนของระดับโรงเรียนและห้องเรียน เป็นการติดตามพัฒนาการ 9 องค์ประกอบ (การบริหารจัดการ ห้องเรียน ทรัพยากร ฯลฯ) มีผู้อำนวยการ และครูเป็นตัวหลักในการสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านใด และในส่วนระดับห้องเรียนไปจนถึงระดับผู้เรียน เป็นการหา Effect size ของแผนหรือกิจกรรมที่ครูออกแบบ โดยมีครูและโค้ชเป็นตัวหลักที่ทำให้เห็นว่าเส้นทางมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
สำหรับการติดตามพัฒนาการ 9 องค์ประกอบ จะใช้แบบสอบถาม ครู ผู้อำนวยการ, การสัมภาษณ์โดยวิธีการสุ่มโรงเรียน และผลลัพธ์ของการติดตามที่เป็นภาพรวมโรงเรียนในแต่ละประเด็นในรูปแบบของ Dashboard ซึ่งที่ผ่านมา ในช่วง 1-2 ปีแรกได้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง พบว่า ใน 9 องค์ประกอบ มี 1 องค์ประกอบที่มีความสำคัญมาก คือ เรื่องของห้องเรียน เนื่องจาก 1-2 ปีแรก ส่วนมากจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับครู เพื่อให้ครูสามารถเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้เป็น Active Learning มากขึ้น และทำให้นักเรียนพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น แต่อาจจะยังพัฒนาได้ไม่ตรงจุดและชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม โดยโครงการในปีนี้ จะเน้นการติดตามในระดับห้องเรียนให้มีความชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น โดยจะใช้วิธีการเจาะลึกตามรายทักษะ รายคุณลักษณะ เมื่อทำการโฟกัสทักษะหรือสิ่งที่นักเรียนสนใจ ขั้นตอนต่อไปคือ การหา effect size ของแผนหรือกิจกรรมที่ครูออกแบบ โดยการหาความแตกต่างของ 2 กลุ่ม ด้วยค่าเฉลี่ย ซึ่งอาจจะเป็นนักเรียนกลุ่มเดิมหรือนักเรียนคนละกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ นักเรียนกลุ่มเดิมสามารถหาความแตกต่างได้ด้วยการวัดก่อน-หลังการใช้หน่วยการเรียนรู้ หรือนักเรียนกลุ่มเดิมที่ใช้หน่วยการเรียนรู้รูปแบบที่ต่างกัน และทำการวัดว่ารูปแบบไหนที่มีความเหมาะสม ถ้าหากเป็นนักเรียนคนละกลุ่มจะเป็นรูปแบบการเรียนรู้เดียวกัน และทำการวัดห้องที่ 1 และห้องที่ 2 วัดกลุ่มชายและกลุ่มหญิง โดยในทางการศึกษาอาจจะทำการวัดจากแผน บทเรียน หน่วยการเรียนรู้ โมเดล หรือ Invention ต่างๆ ซึ่งจะทำให้รู้ว่า สิ่งที่โฟกัสใช้ได้จริงในห้องเรียน หรือในสถานการณ์นั้นๆ ได้หรือไม่
สำหรับขั้นตอนในการหา Effect size (กรณีวัดก่อน-หลัง)
1) แผนหน่วยการเรียนรู้ ที่ประกอบไปด้วย Learning outcome การเน้นทักษะการเรียนรู้แบบไหน กิจกรรมเป็นอย่างไร เครื่องมือประเมิน รวมไปถึงใครประเมิน และประเมินอะไร
2) ประเมินก่อนการใช้หน่วย ซึ่งอาจจะเป็นทั้งครูและนักเรียนประเมินร่วมกัน ทั้งนี้ แนะนำให้ใช้คะแนนที่มาจากทั้งครูและนักเรียนประเมิน เพื่อให้ผลมีความเที่ยงตรงมากขึ้น
3) การจัดกิจกรรมรายหน่วย หรือรายคาบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนที่ครูได้เตรียมไว้
4) การประเมินหลังหน่วย ซึ่งเป็นการประเมินเดียวกันกับการประเมินก่อนหน่วย
5) วิเคราะห์ effect size โดยการนำผลจากการประเมินมาวิเคราะห์โดยใช้ Template เพื่อที่ครูและโค้ชจะทำการวิเคราะห์แปลผลในการหา next step ของการเรียนรู้ต่อไป ซึ่งในการแปลผลการวิเคราะห์จะทำให้เห็นถึงความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนที่มีต่อนักเรียนอย่างไร
ประโยชน์ของ effect size และการบันทึกข้อมูล
1) การพัฒนาวิชาชีพของครู เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปสู่การพัฒนาบทเรียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สามารถนำผลมาต่อยอดในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้
2) การพัฒนานักเรียน ทำให้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเลือกใช้วิธีการเรียนรู้ในการส่งเสริมศักยภาพที่เหมาะกับเด็ก
ทั้งนี้ เงื่อนไขความสำเร็จของการทำ effect size ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้ template ได้ แต่อยู่ที่เวทีในการพูดคุยแลกเปลี่ยนของเพื่อนครู โค้ช และทีมนักวิจัยที่จะช่วยกันในการพัฒนาประสิทธิภาพบทเรียนให้มีความชัดเจน มีประสิทธิภาพ รวมถึงการส่งเสริมนักเรียนรายบุคคลได้อย่างดีมากยิ่งขึ้น
บทความใกล้เคียง
การสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP Kick off ครั้งที่ 2
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 1 การเก็บหลักฐานและจัดการข้อมูล (ครูวิชาการ)
แนวทางการพัฒนานวัตกรรมของโรงเรียน
Related Courses
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Micro Learning หลักการอ่านภาษาไทย ป.1-3
การเรียนหลักการอ่านภาษาไทย ป.1-3 เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบของ Micro Learning เรื่อง มาตราตัวสะกด คำที่มี ห นำ และก ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...