กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 1 การเก็บหลักฐานและจัดการข้อมูล (ครูวิชาการ)
จากการทำงานวิชาการเชื่อว่าครูฝ่ายวิชาการส่วนใหญ่ มักจะเจอคำถามที่เกี่ยวกับรูปแบบในการจัดการเรียนรู้ รวมไปถึงประสิทธิภาพของสื่อการเรียนที่ครูใช้ในการจัดการเรียนรู้ หรือผู้เรียนเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ตามสมรรถนะ/ตัวชีวัดของบทเรียนหรือไม่ อย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่ครูมักจะตอบโดยการใช้ข้อมูลจากแผนการจัดการเรียนรู้และบันทึกหลังการสอน แต่เนื่องด้วยการบันทึกข้อมูลมีรูปแบบที่หลากหลาย ส่งผลให้การประมวลผลข้อมูลเป็นไปได้ยากและไม่สะดวก ดังนั้น จึงต้องมีการจัดเก็บและจัดการข้อมูลให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งบทบาทของครูวิชาการมีส่วนช่วยให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ หรือบันทึกต่างๆ หลังการสอนให้มีรูปแบบ การประมวลผล หรือข้อสรุปที่สามารถทำได้อย่างสะดวก รวดเร็วขึ้น
บทบาทของฝ่ายวิชาการในการพัฒนาการจัดการศึกษา
ฝ่ายวิชาการจะต้องให้ความรู้แก่ครูในการเขียนแผน ในส่วนของแผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นแผนที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อเป็นการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. การพัฒนาครู ผ่านกระบวนการ PLC หรือ Lesson study ภายในโรงเรียน เป็นการช่วยให้ครูสามารถวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ โดยการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามสมรรถนะ/ตัวชีวัดของบทเรียน และยังช่วยให้ครูสามารถวัดและประเมินผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง
2. การวิเคราะห์ผลที่เกิดจากการจัดการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลลัพธ์สอดคล้องหรือตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนหรือไม่ ซึ่งผลสรุปจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำประกันคุณภาพการศึกษาได้
รูปแบบในการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
1) องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1.1 การกำหนด Learning Outcome เป็นการกำหนดสิ่งที่จะวัดให้ชัดเจนและ สอดคล้องด้านทักษะและสมรรถนะที่ 21 ตาม Core Learning Outcome ที่ กสศ. กำหนด ประกอบด้วย ความสามารถเชิงปัญญา และความสามารถเชิงพฤติกรรม
1.2 การเลือก Intervention เป็นการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม เช่น กระบวนการ STEAM Design Process กิจกรรมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ (Makerspace) Learning box การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน (School Innovation Project) ฯลฯ
1.3 การวัดและประเมินผล
2) เครื่องมือช่วยครูในการวัดและประเมินผู้เรียน (School Item bank) เป็นแนวทางในการเลือกเครื่องมือสำหรับการวัดและประเมินที่เหมาะสม ทั้งนี้ ในการประเมินที่ดีควรครอบคลุมทั้ง 3 รูปแบบ คือ การประเมินผลการเรีบนรู้ (AOL) เป็นประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน, การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AFL) เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาระหว่างการจัดการเรียนรู้ และการประเมินเป็นการเรียนรู้ (AAL) ให้ผู้เรียนเป็นผู้ประเมินตนเอง
3) เครื่องมือช่วยครูในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ เช่น การใช้แบบวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล (Effect size) ระดับชั้นเรียน ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนที่มีต่อนักเรียนอย่างไร และการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล
การเก็บหลักฐานการเรียนรู้
แนวทางในการจัดทำอนุทิน/บันทึกหลังการสอนของหน่วยการเรียนรู้ด้วย Google Form แบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนและผลการเรียนรู้ และบันทึกหลังการสอนของครู ที่สำคัญคือ การอัพโหลดเอกสารแผนการจัดการเรียนรู้ และเอกสารการวิเคราะห์ Effect size ด้วย เพื่อง่ายต่อการค้นหาข้อมูล
จะเห็นได้ว่า เครื่องมือช่วยครูในการวัดและประเมินผู้เรียน (School Item bank) และในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่การทำแผน การกำหนด Learning Outcome การเลือก Intervention การวัดประเมินผล การบันทึกหลังการสอน ที่สำคัญคือการประเมินผลทั้ง 3 ด้าน รวมไปการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพล (Effect size) เป็นสิ่งที่ฝ่ายวิชาการต้องให้ความสำคัญ นอกจากจะช่วยในการประกันคุณภาพแล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ (ว.PA) ได้อีกด้วย
Related Courses
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...