ลูกนอนไม่เป็นเวลา แม่ๆ มีวิธีการจัดการอย่างไร

Starfish Academy
Starfish Academy 4025 views • 5 ปีที่แล้ว
ลูกนอนไม่เป็นเวลา แม่ๆ มีวิธีการจัดการอย่างไร

ลูกนอนไม่เป็นเวลา แม่ๆ มีวิธีการจัดการอย่างไร

สำหรับเด็กๆ แล้วการนอนถือเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งเป็นเด็กทารกแล้วควรจะใช้เวลานอนมากถึง 16 ชั่วโมงต่อวันเลยนะคะ แต่ก็ด้วยอะไรหลายๆ อย่างที่ทำให้เด็กๆ บางคนนั้นหลับยาก อาจจะเกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนไป เช่น ถึงเวลานอนแต่พ่อแม่ยังทำงานหรือดูทีวีไม่ยอมนอน ทำให้ลูกรู้สึกสับสน ไม่เข้าใจว่ากลางคืนทุกคนต้องเข้านอน หรือบางครั้งถ้าเป็นวัยเตาะแตะ เขาอาจจะยังติดเล่นอยู่ ทำให้ถึงเวลานอนแล้วยังไม่อยากนอน

 

แล้วจะทำยังไงให้ลูกนอนได้อย่างเป็นเวลาล่ะ วันนี้เราเลยมีแนวทางการจัดการเด็กๆ ให้นอนอย่างเป็นเวลามาฝากกัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

 

วิธีที่ 1 : สร้างกิจวัตรประจำวันในการนอนอย่างสม่ำเสมอ

การสร้างกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ เช่นการนอน เปรียบเสมือนาฬิกาชีวิตของลูกเลยนะคะ ทำให้เขารู้ว่าเวลานี้ควรทำอะไรก่อนและหลัง เช่น ก่อนจะนอนหากเราบอกลูกให้แปรงฟันก่อนนอน เขาก็จะรู้แล้วว่าหากแปรงฟันเสร็จเขาก็ควรที่นอน ทำแบบนี้บ่อยๆ จะทำให้เขาเคยชินจนกลายเป็นนิสัยและนอนหลับง่ายแบบคุณแม่ไม่ต้องกังวลเลยค่ะ

 

วิธีที่ 2 : จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การนอน

การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนหลับ นั้นก็คือ ในห้องนอนของลูกควรที่เป็นห้องที่เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวนในการนอนหลับ มีอากาศที่ถ่ายเทเย็นสบาย และที่สำคัญควรที่จะไม่มีทีวีหรือสิ่งบันเทิงในห้องนอน เพื่อให้เขารู้ว่าห้องนี้คือห้องนอน ควรต้องนอนเท่านั้น นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องห้ามอุ้มลูกเดินจนหลับคาอกนะคะ เพราะทำแบบนี้เขาจะติดเป็นนิสัยว่าต้องให้เราอุ้มก่อนถึงจะหลับได้ หากเราวางลูกขึ้นมารับรองได้เลยว่า ร้องไห้งอแงแน่นอน แถมยังทำให้คุณพ่อคุณแม่ปวดหลังเสียสุขภาพอีกด้วยนะคะ ให้เขาหลับบนที่นอนหรือเบาะจะดีกว่าค่ะ

 

วิธีที่ 3 : อย่าต่อเวลาในการเล่นให้ลูก

พ่อแม่บางคนมักจะไม่ค่อยได้ดูเวลาลูกว่าเวลาไหนควรทำอะไร บางคนปล่อยลูกเล่นจนลืมวันลืมคืน บวกกับยิ่งเป็นเด็กก็ยิ่งทำให้เขาติดเล่นเป็นเรื่องธรรมดา พอถึงเวลานอนคราวนี้แหละลูกก็จะไม่ยอมนอนแล้วค่ะ พอเราบอกให้นอนก็ร้องไห้งอแง จนบางครี้งเราก็ใจอ่อนต่อเวลาให้เขา ทำให้ลูกติดเล่นเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นควรตั้งเวลาและกฎกติกาให้เขาจะดีกว่านะคะ เขาจะได้ติดเป็นนิสัยค่ะ

 

วิธีที่ 4 : หากิจกรรมก่อนนอนให้ลูกเลือก

กิจกรรมในที่นี้ไม่ใช่กิจกรรมที่ทำให้ลูกรู้สึกตื่นเต้นนะคะ ต้องเป็นกิจกรรมที่เบาสมอง คุณพ่อคุณแม่อาจจะเสนอแนวทางหรือกิจกรรมให้เขาเมื่อถึงเวลานอน เช่น ใกล้ถึงเวลาเข้านอนแล้ว หนูอยากทำอะไรก่อนนอนเอ่ย อ่านนิทานสักเล่มดีไหม หรือฟังเพลงเบาๆ ดีไหม หรืออาจจะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ลูกรู้ว่าใกล้จะถึงเวลานอนแล้วอย่างเช่น ไปแปรงฟันให้สะอาดกับแม่ดีไหม แล้วเราจะได้นอนกัน เป็นต้น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นกิจกรรมที่ทำให้เขาคึกตอนดึก ไม่อย่างงั้นละก็หนูๆ ที่บ้านไม่นอนไม่รู้ด้วยน้าาา

 

วิธีที่ 5 : สร้างวินัย คำไหนคำนั้น

ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามการสร้างวินัยตั้งแต่เด็กจะทำให้ลูกรู้สึกว่า เขาไม่ได้โดนบังคับ แต่เป็นกิจวัตรที่เขาทำอยู่แล้วเสมอ เช่นเดียวกับการนอน คุณพ่อคุณแม่ต้องเด็ดขาด คำไหนคำนั้นห้ามใจอ่อนเด็ดขาด ถึงเวลานอนก็ต้องนอน ถึงเวลาเล่นก็ต้องเล่น ยิ่งเป็นเด็กๆ วัยเตาะแตะแล้ว เขาก็จะยิ่งหาสารพัดข้อที่จะมาอ้างเวลาให้กับเราเสมอ เช่น แม่ต้องให้หนูดูการ์ตูนก่อนหนูถึงจะไปนอน เป็นต้น หากเรายังปล่อยเขาไม่สร้างวินัย และปล่อยให้เขาถ่วงเวลา เด็กๆ อาจจะนอนไม่เป็นเวลาได้นั้นเอง

 

วิธีที่ 6 : หากลูกนอนเป็นเวลาได้ ควรชื่นชมเขาทุกครั้ง

เพราะการให้กำลังใจจะทำให้เขาทำและปฏิบัติในสิ่งนั้นต่อไปเรื่อยๆ หากวันไหนลูกหลับเร็วขึ้น แถมตื่นเช้ามาอย่างสดใสไม่งอแง คุณพ่อคุณแม่อาจจะชื่นชมเขาว่า “เมื่อคืนหนูนอนเร็วมาก แถมตื่นมาไม่งอแงเลย เก่งมากเลยค่ะ” แบบนี้ก็จะทำให้เขามีกำลังใจและอยากนอนไวๆ เพื่อจะได้ให้คุณแม่ชื่นชมเขาอีก

 

วิธีที่ 7 : ไม่กระตุ้นหรือเล่นกับลูกมากเกินไป

เพราะคุณพ่อคุณแม่บางคนอาจจะทำงานทุกวัน บางคนแทบจะไม่ค่อยได้เจอลูกเลย เจอกันอีกทีก็เย็นซะแล้ว พอกลับมาถึงบ้านก็พยายามเล่นกับลูกให้มากที่สุด ซึ่งยิ่งใกล้เป็นเวลานอนของลูกหากเราเล่นจนลูกตื่นเต้นมากๆ อาจจะมีผลต่อการนอนหลับของเขาได้เลยนะคะ เพราะฉะนั้นควรหากิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนนอนจะดีกว่าค่ะ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1448 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
4.7 (4 ratings)
2282 ผู้เรียน
ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก และสังคม
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา

การถูกรังแก ล้อเลียน ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวลทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ปัญหาเหล่านี้จ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา
Starfish Academy

แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา

Starfish Academy
5 (1 ratings)
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

Collaborative classroom design

เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Collaborative classroom design
Starfish Academy

Collaborative classroom design

Starfish Academy
5 (1 ratings)

Related Videos

ทำอย่างไร…เมื่อลูกติดจอ
24:59
Starfish Academy

ทำอย่างไร…เมื่อลูกติดจอ

Starfish Academy
932 views • 2 ปีที่แล้ว
ทำอย่างไร…เมื่อลูกติดจอ
Collaboration Teamwork & Leadership
04:04
Starfish Academy

Collaboration Teamwork & Leadership

Starfish Academy
2113 views • 4 ปีที่แล้ว
Collaboration Teamwork & Leadership
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
418 views • 3 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)
04:30
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
57 views • 4 ปีที่แล้ว
โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)